เมื่อความน่าเชื่อถือและความเชื่อใจ รวมถึงความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคใหม่ใช้เป็นตัวชี้วัดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หรือเลือกใช้บริการ เครื่องหมายรับรองมาตรฐานต่างๆ จึงเข้ามามีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
ก่อนหน้านี้ เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. นั้น ครอบคลุมสินค้าขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็ก และสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่เมื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) รวมถึงวิสาหกิจชุมชน เริ่มปรับตัวและพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมความสามารถทางการแข่งขันในโลกการค้า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงได้ออก “มอก.เอส” หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส ขึ้นมา เพื่อช่วยให้คนตัวเล็กได้มีเครื่องหมายการันตีและรับรองมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการ และเพิ่มความมั่นใจต่อผู้ซื้อ ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการดังกล่าวมีมาตรฐานที่ดี มีคุณภาพ และมีความปลอดภัย
ทั้งนี้ มอก.เอส จะเป็นการกำหนดมาตรฐานการผลิตในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงบริการด้านต่างๆ (มาตรฐาน มอก.เอส) เช่น มอก.เอส 1-2561 ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนสำหรับโรมแรมและที่พักสาธารณะ, มอก.เอส 6-2561 เสื้อกีฬา, มอก.เอส 13-2562 สบู่ก้อนผสมสมุนไพร, มอก.เอส 24-2561 การบริการซ่อมบำรุงและล้างเครื่องปรับอากาศ, มอก.เอส 25-2561 การบริการนวดและสปา และ มอก.เอส 79-2562 การบริการร้านกาแฟ เป็นต้น
และเพื่อช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับสินค้าและบริการที่มีอยู่ในมือ ผู้ประกอบการ SME สามารถขอใช้เครื่องหมายรับรอง มอก.เอส ได้ โดย …
ผู้ประกอบการยื่นคำขอใบรับรองผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) สำหรับผลิตภัณฑ์ หรือ ใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเอส สำหรับบริการ ณ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมเอกสารหลักฐานแสดงตน เช่น
นอกเหนือจากเอกสารหลักฐานแสดงตนแล้ว ผู้ยื่นคำขอ ยังต้องแสดงเอกสารเพิ่มเติม (ถ้ามี) ได้แก่ เอกสารหลักฐานแสดงผลความเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
(ข.1) รายงานผลการประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานที่ทำผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ผลการประเมินระบบควบคุมคุณภาพ เป็นไปตามข้อกำหนดจนถึงวันที่ยื่นคำขอ
(ข.2) ใบรับรองระบบบริหารงานคุณภาพตาม มอก. 9001 หรือ ISO 9001 หรือใบรับรองตามมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองระบบควบคุมคุณภาพ จากหน่วยงานที่สำนักงานยอมรับและยังไม่สิ้นอายุ
(ข.3) ใบรับรอง HACCP จากหน่วยงานที่สำนักงานยอมรับ และยังไม่สิ้นอายุ
(ข.4) ใบรับรอง GMP จากหน่วยงานที่สำนักงานยอมรับ และยังไม่สิ้นอายุ
ทั้งนี้ ในกรณีผู้ยื่นคำขอ ไม่มีเอกสารตามหัวข้อ “เอกสารเพิ่มเติม (ถ้ามี)” สมอ. จะทำการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจสอบ และ/หรือ ตรวจประเมินระบบคุณภาพของโรงงาน
หมายเหตุ เอกสารเพิ่มเติม ที่ต้องทำการยื่นขึ้นอยู่กับประเภทใบรับรองที่ยื่นขอ (ดูรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองเพิ่มเติม ผลิตภัณฑ์ / บริการ)
เมื่อได้รับคำขอ เจ้าหน้าที่จะทำการประเมินผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ และระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานผลิตว่าผ่านตามเกณฑ์การพิจารณาหรือไม่ โดยจะดำเนินการ ดังนี้
เพียงเท่านี้ก็ช่วยเสริมความมั่นใจให้ทั้งผู้ประกอบการและลูกค้าได้แล้ว ว่าถ้าเห็นเครื่องหมาย มอก.เอส ที่ไหน รับรองได้ว่า สินค้าหรือบริการนั้นดี ปลอดภัย และได้มาตรฐานแน่นอน!
ที่มา : www.tasme.or.th
Prosoft อยากให้นักธุรกิจยุคใหม่ได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการ อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจเติบโตและปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่การแข่งขันสูง
ในบทความนี้ Prosoft จึงได้รวบรวบโปรแกรมสำเร็จรูป ที่นักธุรกิจยุคใหม่ห้ามพลาด จะมีซอฟต์แวร์อะไรบ้าง ตามมาอ่านกันได้เลยค่ะ
HR เคยเบื่อไหม... ที่ต้องกังวลกับการคำนวณเงินเดือนของพนักงานที่ต้องผิดพลาดซ้ำๆ บ่อยๆ หรือการต้องปวดหัวกับการจัดการข้อมูลขาดลามาสายของพนักงานในแต่ละเดือน ทำให้การจัดการงานฝ่ายบุคคลไม่มีประสิทธิภาพ และขาดความรอบคอบ จากที่กล่าวมาข้างต้น HR และองค์กร จึงจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ซึ่งนั่นก็คือโปรแกรมเงินเดือน หรือ โปรแกรม payroll ในวันนี้เราจึงขอแนะนำโปรแกรมเงินเดือน HRMI กับ 5 เหตุผลดีๆ ที่องค์กรยุคใหม่ต้องชอบ เพราะโปรแกรมเงินเดือน HRMI ตัวช่วยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ที่ให้มากกว่า "โปรแกรมเงินเดือน"