วิเคราะห์งบการเงินเป็น เพิ่มค่าตัวให้นักบัญชีได้ยังไง

วิเคราะห์งบการเงินเป็น เพิ่มค่าตัวให้นักบัญชีได้ยังไง


นักบัญชีสามารถอ่านงบการเงินได้ทุกคน เพราะว่าทั้งตอนเรียน และตอนทำงานเราต้องอยู่กับงบการเงินทุกวัน แต่การวิเคราะห์งบการเงินเรามักไม่ให้ความสนใจ เพราะคิดว่าเป็นงานของผู้จัดการหรือฝ่ายบริหาร แต่จริงๆ แล้วถ้าเราทำได้ นี่เป็นอีกโอกาสที่ทำให้เราเติบโตในสายอาชีพนี้ แล้วลองมาดูค่ะว่า การวิเคราะห์งบเป็นจะช่วยให้เราเพิ่มค่าตัวได้อย่างไรใน 4 หัวข้อนี้ค่ะ

1. ช่วยรายงาน

การวิเคราะห์งบการเงินช่วยรายงานผลการดำเนินงานของธุรกิจได้ว่ามีความสามารถในการทำกำไรยังไงบ้าง ซึ่งอัตราส่วนที่ได้จากการวิเคราะห์งบจะใช้เปรียบเทียบกับคู่แข่งธุรกิจได้สบายๆ   ตัวอย่างอัตราส่วนที่นิยมใช้ เช่น
ความสามารถในการทำกำไร  อัตรากำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น / ยอดขาย x 100 (%) ผลที่ออกมายิ่งมีค่าสูงยิ่งดี
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย x 100 (%) ผลที่ออกมายิ่งมีค่าสูงยิ่งดี

2. ช่วยแจ้งเตือน

อัตราส่วนที่เราคำนวณจากการวิเคราะห์งบ ช่วยบ่งบอกสัญญาณอันตรายอย่างเช่นการขาดสภาพคล่องได้ก่อนที่จะเจ๊งโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น

อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
มีค่า > 1 เท่ากับ สภาพคล่องดี
มีค่า < 1 เท่ากับ ขาดสภาพคล่อง

และถ้าเป็นแบบนี้นักบัญชีต้องรีบแจ้งเจ้าของธุรกิจทันทีเลย

3. ช่วยพยากรณ์
การวิเคราะห์งบดีๆ เผลอๆ อาจช่วยพยากรณ์ธุรกิจหรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบยอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่าย กำไร เช่น กำไรปีนี้ ลดลง จากปีที่แล้ว จาก 2 ล้านบาท เป็น 1 ล้านบาท เนื่องจากมีต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับยอดขายที่เท่าเดิม ปกติหากเรามข้อมูลย้อนหลังก็ควรเก็บข้อมูลการวิเคราะห์ทุกปี เพื่อนำไปพยากรณ์ทิศทางและบริหาร ถ้าหากครึ่งปีแรก มีค่าใช้จ่ายใดสูงไป ก็สามารถรัดเข็มขัดค่าใช้จ่ายนั้น ในครึ่งปีหลังได้ หรือ รายได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายในปีนี้ ก็ต้องปรับกลยุทธ์การตลาดใหม่ เพื่อกระตุ้นยอดขายในปีหน้า หรืออาจจะกลับไปใช้กลยุทธ์การตลาดแบบเดิมเหมือนในปีที่ทำรายได้ได้สูงๆ

4. ช่วยวางแผน

ช่วยวางแผนภาษี แนวโน้มที่จะเสียภาษี เช่น

  • มีกำไรขั้นต้นไหม Gross Profit = รายได้ – ต้นทุนขาย ถ้ากำไรขั้นต้นติดลบ ก็เป็นสัญญานว่าเราอาจถูกสรรพากรแพ่งเล็งแน่นอน
  • หรือนำกำไรสุทธิมาลองคูณกับอัตราภาษี เพื่อวางแผนการจ่ายชำระค่าภาษีอากรได้ วางแผนว่าต้องสำรองเงินเพื่อจ่ายภาษีเท่าไหร่ และนอกจากนี้ทั้งปีที่เหลืออยู่ เรายังสามารถวางแผนใช้จ่ายให้เข้าเงื่อนไขลดหย่อนเพิ่มเติมของกรมสรรพากรได้อีกด้วย เช่น ถ้าทำทำบุญ บริจาคหรือให้สิ่งของประจำปีอยู่แล้ว ก็แค่ไปเรียนรู้ต่อว่าจะทำอย่างไรที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้แล้วทำให้จ่ายค่าภาษีประจำปีลดลง

เพื่อนๆ คงเห็นความสำคัญของการวิเคราะห์งบการเงินที่จะส่งผลดีต่อตัวเราเองไปแล้วนะคะ ว่านักบัญชีอย่างเราถ้าเพิ่มการวิเคราะห์งบการเงินไปเป็นความสามารถติดตัว เราก็จะสามารถเป็นนักบัญชีที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารและลูกค้าค่ะ เพียงแค่ลองอัพสกิลเรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เพิ่มเติมเพียงเท่านี้ก็มีโอกาสเพิ่มค่าตัวได้ไม่น้อยเลยทีเดียว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!



ที่มา : blog.cpdacademy.co

 761
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของงบการเงินก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ
เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์