ปิดงบการเงินอย่างมืออาชีพ เรื่องที่นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจควรรู้

ปิดงบการเงินอย่างมืออาชีพ เรื่องที่นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจควรรู้

การปิดงบการเงินคืออะไร สำคัญอย่างไรต่อธรุกิจ

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของ "งบการเงิน" ก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร

งบการเงิน (Financial statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ วันสิ้นงวดบัญชี สำหรับธุรกิจทั่วไปมักจะปิดงบการเงินปีละหนึ่งครั้ง แต่สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจะปิดงบการเงินทุก 3 เดือน ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์จะประกอบไปด้วย 5 ส่วนนี้คือ

  1. งบแสดงฐานะทางการเงินหรืองบดุล (Balance Sheet)
  2. งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
  3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owner’s equity)
  4. งบกระแสเงินสด ( Cash Flow statement)
  5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Note to Financial Statement)

การปิดงบการเงิน หมายถึง กระบวนการที่บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ใช้เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและสถานะการเงินขององค์กรในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น โดยหลังจากที่กิจการทำงบการเงินแล้ว จะต้องมีการปิดงบการเงิน เมื่อสิ้นรอบบัญชี เพื่อส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด เป็นการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลการเงิน เช่น รายได้ รายจ่าย สินทรัพย์ หนี้สิน และภาวะการเงินอื่นๆ ขององค์กร

โดยผู้ที่มีหน้าที่ปิดงบการเงินคือนักบัญชีหรือสำนักงานบัญชี เพราะต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องของการทำบัญชี ให้สามารถจัดส่งงบการเงินตามกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงโทษปรับหากไม่ทำการส่งงบการเงิน

6 ขั้นตอน ในการปิดงบการเงิน รู้ไว้ไม่ควรพลาด

การปิดงบการเงินมีหลายขั้นตอน ซึ่งรวมถึงการบันทึกข้อมูลการเงินทั้งหมดลงในระบบบัญชี การตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง การสร้างรายงานทางการเงิน เช่น งบทดลอง งบการเงินสรุป รายงานการเงินอื่นๆ และการเตรียมเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถแบ่งออกได้ 6 ขั้นตอน คือ


1. รวบรวมเอกสารข้อมูลการเงินทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรายการบัญชีต่างๆ ทั้งบิลขายและบิลซื้อ โดยจัดเรียงให้เป็นหมวดหมู่ เรียงตามบิลของบริษัท ตามลำดับเลขที่เอกสาร เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ และง่ายต่อการสรุปยอดบัญชี
2. กรณีที่กิจการเป็นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT จะต้องมีรายงานภาษีซื้อ-ขายให้ครบถ้วน โดยต้องนำเอกสารใบกำกับภาษีซื้อ-ขายแนบมาพร้อมกับรายงานภาษีซื้อ-ขาย เพื่อยื่นเอกสารตามที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน
3. ตรวจสอบรายการเดินบัญชี หรือ Bank Statement ของบริษัทในแต่ละเดือน ว่ามีเอกสารครบถ้วนหรือไม่ หากขาดเดือนไหนไป ให้ขอรายการเดินบัญชีจากธนาคาร เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจสอบ
4. เมื่อได้เตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการติดต่อสำนักงานบัญชี ที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้จัดทำบัญชีงบการเงินให้ แต่หากกิจการมีเจ้าหน้าที่บัญชีอยู่แล้วก็สามารถจัดทำงบการเงินได้เลย
5. เมื่อปิดงบการเงินเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้รวบรวมเอกสารจากการปิดงบการเงินในแต่ละรอบบัญชีให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น สมุดรายวันแยกประเภท (G/L) ทะเบียนทรัพย์สิน สมุดรายวันรับ สมุดรายวันจ่าย สมุดรายวันทั่วไป เป็นข้อมูลจัดเก็บสำหรับกิจการต่อไป ไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด
6. ส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธรกิจการค้า และกรมกสรรพากรภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

คุณสมบัติของระบบ Financial Management ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed

โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Prosoft WINSpeed มีระบบ Financial Management ที่ช่วยจัดการงบการเงินได้อย่างมืประสิทธิภาพ ที่สามารถสร้างงบการเงินได้ ทั้งงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อช่วยให้นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจสามารถจัดการงงบการเงิน รวมไปถึงงานด้านบัญชีต่างๆ ที่ครอบคลุมทุกเรื่องของงานบัญชี เทียบเท่ากับโปรแกรม ERP นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การจัดการงานด้าน เอกสาร, การขาย, การจัดซื้อ, สต็อกสินค้า, ไปจนถึงบัญชี, การเงิน, และงานทางด้านภาษี ที่ใช้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว

  • สามารถประมาณการรายรับได้จาก ใบสั่งขาย, บันทึกขาย, ใบวางบิล
  • สามารถประมาณการรายจ่ายได้จาก ใบสั่งซื้อ, บันทึกซื้อ
  • สามารถดูรายงานเปรียบเทียบประมาณการรายรับ-รายจ่ายได้จาก
    • ใบสั่งขายเปรียบเทียบกับใบสั่งซื้อ
    • บันทึกขายเปรียบเทียบกับบันทึกซื้อ
  • สามารถดูรายงานเปรียบเทียบประมาณการเช็ครับ-เช็คจ่าย
  • สามารถดูกราฟเปรียบเทียบประมาณการเช็ครับ-เช็คจ่าย
  • สามารถดูประมาณการ Statement ของเช็คได้ เพื่อดูยอดเงินในอนาคต ณ วันที่เรียกดูรายงาน
  • สามารถสร้างงบการเงินได้ตามต้องการ เช่น งบดุล, งบกำไรขาดทุน,งบกระแสเงินสด, หมายเหตุประกอบงบการเงิน

วิธีการสร้างงบการเงินต่างๆ ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed อ่านเพิ่มเติม
 

     1.สร้างงบดุล แบบเปรียบเทียบ รายเดือน รายปี
     2.สร้างงบกำไรขาดทุน แบบเปรียบเทียบ รายเดือน รายปี
     3.สร้างงบกระแสเงินสด
     4.หมายเหตุประกอบงบการเงิน


ข้อดีของการปิดงบการเงิน

การปิดงบการเงินเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการบริหารจัดการทางการเงินขององค์กร เพราะช่วยให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องสามารถประเมินผลการดำเนินงานและสถานะการเงินขององค์กรได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจต่างๆ ได้ในอนาคต

1. ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นได้มองเห็นสถานะการเงินปัจจุบันขององค์กร ทั้งรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการบันทึกทรัพยากรทางการเงินอื่น ๆ ที่มีอยู่ เช่น เงินสด หนี้สิน และทรัพย์สิน ช่วยให้ผู้บริหารนำข้อมูลที่ได้มาช่วยตัดสินใจในกิจกรรมทางธุรกิจในอนาคตได้ เช่น การลงทุนใหม่หรือการส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจ
2. สามารถประเมินความสามารถในการชำระหนี้ขององค์กร ผู้ลงทุนหรือเจ้าของกิจการสามารถใช้ข้อมูลในงบการเงินเพื่อประเมินความเสี่ยงทางการเงินและความน่าเชื่อถือขององค์กรเมื่อเข้าร่วมหรือลงทุนในองค์กรต่างๆ
3. การปิดงบการเงินเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการทางการเงิน ซึ่งส่งผลให้เจ้าของกิจการสามารถรู้กำไรขาดทุน ที่เป็นข้อมูลสำคัญ ช่วยบริหารจัดการองค์กรและจัดการทรัพยากรทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้สามารถระบุและประเมินความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร ตัวชี้วัดทางการเงิน เช่น สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของทุนเอกสารหนี้ที่ครอบครอง และอื่น ๆ จะช่วยในการระบุและจัดการความเสี่ยงทางการเงินเพื่อสร้างความเสถียรในองค์กร

ที่มา : inflowaccount.co.th

 293
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ
เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่
งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์