ซอฟต์แวร์บัญชี หรือ โปรแกรมบัญชี (Accounting Software) เป็นแอพพลิเคชั่นพื้นฐานที่ช่วยให้นักบัญชีสามารถทำบัญชี สำหรับการตรวจสอบภายในและภายนอกได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากการตรวจสอบ เป็นเครื่องมือหลักในการประเมินสถานะทางการเงินของธุรกิจ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายผ่านเครื่องมือทางการเงิน เช่น บัญชีแยกประเภท บัญชีเจ้าหนี้ลูกหนี้ การซื้อขายหุ้น สินค้าคงคลังและการเรียกเก็บเงินต่าง ๆ
การนำระบบบัญชีที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการทำบัญชีจะช่วยลดต้นทุน และสามารถจัดการบัญชีเงินเดือน การชำระเงินตามช่องทางอื่น รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้กว้างขึ้น
โปรแกรมบัญชีที่ดีจะนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ ไม่เพียงแต่จะสามารถนำเสนอการสรุปอย่างรวดเร็ว หรือการนำเสนอกำไรขาดทุนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงข้อมูลในการทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ อีกด้วย นอกจากนั้นโปรแกรมบัญชีที่ดี ควรมีระบบงานใช้งานที่ครอบคลุมทุกเรื่องงานของงานบัญชี ตั้งแต่การจัดการงานด้าน เอกสาร, การขาย, การจัดซื้อ, คลังสินค้า, ไปจนถึงบัญชี, การเงิน, และงานทางด้านภาษี ซึ่งแต่ละระบบมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการดำเนินกิจการ เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ
โปรแกรมบัญชี (Accounting Software) ที่ดี ควรมีระบบอะไรบ้าง ?
-
1. ระบบขายและลูกค้าการค้า (Sales Order)
ระบบจัดการงานขาย สามารถจัดทำใบเสนอราคาใบเสนอราคา ใบวางบิล ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้ ตัดของออกจากคลัง และจัดของเพื่อนำส่งสินค้า มีระบบการทำงานเชื่อมโยงกันระหว่างการ Post ตัด Stock อัตโนมัติ เพื่อรับรู้จำนวนสินค้าคงเหลือ ต้นทุนและกำไรขั้นต้นได้อย่างง่าย
-
2. ระบบจัดซื้อ (Purchase Order)
ระบบงานจัดซื้อจัดจ้าง ที่สามารถจัดทำได้ตั้งแต่การแจ้งขอซื้อ การสำรวจราคา การเทียบราคา การเปิดใบสั่งซื้อ และระบบการอนุมัติ สามารถวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างได้ตามงบประมาณ และวิเคราะห์ยอดค่าใช้จ่าย ตาม Project ตลอดจนรองรับการจ่ายเงินล่วงหน้า และการปันส่วนต้นทุนค่าใช้จ่ายเข้าต้นทุนซื้อสินค้าได้อย่างง่าย
-
3. ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory Control)
ระบบสินค้าคงคลัง ที่ครอบคลุมทุกส่วนของงานคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการตัดเบิกสินค้า การรับสินค้า การโอนระหว่างคลังและระหว่างสาขา การตรวจนับ Stock และปรับปรุง Stock ให้ลงตัว รองรับการ Scan Barcode ตัวสินค้า ตลอดจนการเรียกดู Report ยอด Stock คงเหลือพร้อมต้นทุน ได้แบบ Real Time
-
4. ระบบบัญชี การเงิน (General Ledger)
ระบบงานบัญชี ที่รองรับการเรียกดูบัญชีแยกประเภท การลงบันทึกรายวัน การออกงบทดลองและกระดาษทำการอัตโนมัติ และการวิเคราะห์ GL แยกตามแผนก ตาม Job และตามสาขาได้ พร้อมทั้งจัดสรรและควบคุมต้นทุน (Job Cost) บริหารกระแสเงินสด วางแผนและจัดทำงบประมาณ (Budget Control) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-
5. ระบบภาษี ธนาคารและเช็ค (Value Added Tax)
ระบบภาษี ธนาคารและเช็ค สามารถเรียกดูรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ของกิจการเป็นไปตามข้อกำหนดของสรรพากร และยังสามารถพิมพ์ ภ.ง.ด 3, ภ.ง.ด 53 รวมทั้งหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย และการรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย
-
6. ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)
ระบบจัดการด้านการขาย เพื่อเก็บประวัติการติดต่อกับลูกค้า การนัดพบกับลูกค้า การนัดหมายล่วงหน้า รวมถึงการบันทึกแผนการทำงานต่างๆ ของพนักงาน ซึ่งใช้ในการวิเคราะห์แผนงานในอนาคตของพนักงานหรือของกิจการได้
-
7. ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน (Audit and Internal Control)
ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล และตัวเลขต่างๆ ทางการเงิน การบัญชีที่บันทึกในรายการบัญชี รายงาน และเอกสารต่างๆ เพื่อให้สามารมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่บันทึกถูกต้อง และสามารถสอบทานได้หรือเพียงพอที่จะป้องกันความผิดพลาดในการทำงานของผู้ใช้ และป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล
เพื่อให้คุณเข้าใจโปรแกรมบัญชีมากยิ่งขึ้น สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
ในปัจจุบันสำนักบัญชี ได้เริ่มนำโปรแกรมบัญชีมาเริ่มใช้งานในการจัดทำบัญชีให้กับบริษัทต่าง ๆ ที่รับบริการแล้ว เพราะง่ายต่อการบัญทึกบัญชี การทำรายงานและการจัดการคำนวนทางด้านการเงินและภาษี หากคุณคิดว่าโปรแกรมบัญชียังไม่ปลอดภัยหรือยังไม่เหมาะกับธุรกิจของคุณมากพอ สามารถกลับไปใช้การวางระบบบัญชีแบบเดิมได้ เพราะโปรแกรมบัญชีส่วนใหญ่จะเป็นการให้บริการแบบรายเดือน
อย่างไรก็ตาม หากคุณมีโปรแกรมบัญชีแล้ว คุณก็ต้องมีนักบัญชีและผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อตรวจสอบบัญชีต่าง ๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะสิ่งที่ธุรกิจห้ามลืมเลยคือ ควรปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายของประเทศที่ดำเนินธุรกิจอยู่ด้วย