การคำนวณต้นทุนการผลิตแบบง่าย

การคำนวณต้นทุนการผลิตแบบง่าย


การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้

     1. เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิตและต้นทุนขายของธุรกิจ

     2. เพื่อสามารถนำต้นทุนทั้งหมดของกิจการมาเปรียบเทียบกับรายได้จากการขายเพื่อจะได้ทราบว่ามีกำไรหรือขาดทุนในการขายสินค้า

     3. เพื่อคำนวณหรือตีราคาสินค้าคงเหลือที่ขายได้ไม่หมดว่ามีมูลค่าเท่าไหร่

     4. เพื่อใช้ในการวางแผนและควบคุมการซื้อสินค้าและจัดทำงบประมาณในการซื้อสินค้า รวมทั้งต่อรองราคากับผู้ขายวัตถุดิบ

     5. เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าสินค้าใดควรขายต่อไปและสินค้าใดควรเลิกขาย (ในกรณีที่ผู้ผลิตมีสินค้าหลายชนิด)

   ต้นทุนแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ

     1. ต้นทุนผันแปร คือต้นทุนที่ผันแปรตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย เช่น วัตถุดิบ ค่าแรงทางตรง ค่าใช้จ่ายในการผลิตทางตรงเป็นต้น

     2. ต้นทุนคงที่คือต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่ว่ากิจการจะได้ขายสินค้าหรือไม่ ต้นทุนนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขาย เช่น เงินเดือนพนักงานหน้าร้าน ค่าเช่าร้าน ค่าเสื่อมราคา ค่าประกันภัย เป็นต้น

ดังนั้นต้นทุนการผลิตจะประกอบไปด้วยวัตถุดิบ+ค่าแรงงาน + ค่าใช้จ่ายในการผลิต ซึ่งทั้งสามรายการนี้เป็นเพียงส่วนของการผลิตเท่านั้น หากเราจะคิดต้นทุนรวมของสินค้าแล้วเราจำเป็นต้องนำค่าใช้จ่ายในการขายและดำเนินการมารวมด้วยเช่น เงินเดือน , ค่าคอมมิชชั่นพนักงานขาย, ค่าแรงพนักงานขายหน้าร้าน, ค่าการตลาด (โฆษณา,แผ่นพับ), ค่าเช่าสำนักงานและร้าน, ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา, ค่าโทรศัพท์, ค่าน้ำมันรถ,ดอกเบี้ย, ค่าเช่ารถ, ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ฯลฯ เพื่อการคำนวณต้นทุนให้ใกล้เคียงความจริง หากเราคำนวณแค่วัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าน้ำค่าไฟฟ้า ก็อาจทำให้เราได้ต้นทุนสินค้าที่น้อยกว่าความเป็นจริงและมีผลทำให้ตั้งราคาขายที่ต่ำไปและอาจขาดทุนได้

วิธีการคำนวณหาต้นทุนการผลิตแบบง่ายมีสูตรดังนี้

การคำนวณแบบง่ายๆนี้เหมาะกับผู้ประกอบการรายเล็กที่มีสินค้าหรือผลิตภัณฑน้อยชนิด อาจขายเพียงน้ำพริก หรือแชมภูก็ได้ ซึ่งเหมาะกับการคำนวณสินค้าประเภทโอทอปที่มีความชัดเจนในเรื่องการใช้วัตถุดิบ ค่าแรงงานต่อรอบการผลิตและไม่มีการเก็บสต็อกวัตถุดิบไว้ การคำนวณจำเป็นต้องคิดเพื่อให้ทราบถึงต้นทุนผลิตต่อหน่วย และนำต้นทุนผลิตไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อให้ทราบถึงต้นทุนรวมของสินค้าอีกครั้งหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น

ป้าแจ๋ว ผลิตและขายส่งกล้วยตากในราคากล่องละ 20 บาท โดยมีรายได้จากการขายเดือนละ 12,000 บาท (ขาย 600 กล่องต่อเดือน) ป้าแจ๋วมีการบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2560 ดังนี้

ต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายกล้วยตากในเดือนเมษายน 2560

วันที่ รายการ จำนวน หน่วยละ จำนวนเงิน รวม(บาท) หมายเหตุ
  ค่าวัตถุดิบ          
3
3
3
3
10
10
10
17
17
17
25
25
25
-
ซื้อกล้วยน้ำว้า
น้ำตาลทราย
น้ำผึ้ง
ซื้อกล่องพลาสติก
ซื้อกล้วยน้ำว้า
น้ำตาลทราย
น้ำผึ้ง
ซื้อกล้วยน้ำว้า
น้ำตาลทราย
น้ำผึ้ง
ซื้อกล้วยน้ำว้า
น้ำตาลทราย
น้ำผึ้ง
รวมค่าวัตถุดิบ
150 หวี
5 กก.
3 ขวด
400 ใบ
150 หวี
5 กก.
3 ขวด
150 หวี
5 กก.
3 ขวด
150 หวี
5 กก.
3 ขวด
-
4
15
60
1
4
15
60
4
15
60
4
15
60
-
600
75
180
400
600
75
180
600
75
180
600
75
180
-
-
-
-
1,255.00
-
-
855.00
-
-
855.00
-
-
855.00
3,820.00
 
  ค่าแรงงาน          
6
6
13
13
20
20
27
27
-
จ่ายพี่น้อย
จ่ายตัวเอง
จ่ายพี่น้อย
จ่ายตัวเอง
จ่ายพี่น้อย
จ่ายตัวเอง
จ่ายพี่น้อย
จ่ายตัวเอง
รวมค่าแรงงาน
2 วัน
3 วัน
2 วัน
3 วัน
2 วัน
3 วัน
2 วัน
3 วัน
-
100
100
100
100
100
100
100
100
-
200
300
200
300
200
300
200
300
-
-
500.00
-
500.00
-
500.00
-
500.00
2,000.00
 
  ค่าใช้จ่ายในการผลิต          
3
5
9
16
23
30
-
ซื้อสก๊อตเทป
ถุงพลาสติก
ค่ารถไปส่งของ
ค่ารถไปส่งของ
ค่ารถไปส่งของ
ค่ารถไปส่งของ
รวมค่าใช้จ่ายในการผลิต
12 ม้วน
2 กก.
1 ครั้ง
1 ครั้ง
1 ครั้ง
1 ครั้ง
-
15
80
100
100
100
100
-
180
160
100
100
100
100
-
-
-
-
-
-
-
740.00
 
  ค่าใช้จ่ายในการขายและดำเนินการ          
20
21
-
ค่าไฟฟ้า
ค่าน้ำประปา
รวมค่าใช้จ่ายในการขายและดำเนินการ
1 เดือน
1 เดือน
-
500
150
-
500
150
-
-
-
650.00
 

รายได้จากการขายกล้วยตากในเดือนเมษายน 2560

วันที่ รายการ จำนวน หน่วยละ จำนวนเงิน รวม(บาท) หมายเหตุ
9
16
23
30
-
ซื้อกล้วยน้ำว้า
น้ำตาลทราย
น้ำผึ้ง
ซื้อกล่องพลาสติก
รวมยอด
150 กล่อง
150 กล่อง
150 กล่อง
150 กล่อง
-
20
20
20
20
-
3,000
3,000
3,000
3,000
-
-
-
-
-
12,000.00
 

   จากตัวอย่างข้างต้นเราสามารถคำนวณต้นทุนการผลิตของกล้วยตากได้ดังนี้

   ต้นทุนการผลิต = (วัตถุดิบ+ค่าแรง+ค่าใช้จ่ายในการผลิต) /จำนวนหน่วยที่ผลิตได้

                 = (3,820+2,000+740) = 6,560 / 600 กล่อง

   ต้นทุนการผลิตต่อหน่วย = 6,560/600 = 10.93 บาทต่อกล่อง

หากป้าแจ๋วต้องการทราบถึงต้นทุนรวมสินค้าก็จะต้องนำค่าใช้จ่ายในการขายและดำเนินการมาใส่ด้วยซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ไม่ค่อยขึ้นลงตามการผลิตมากนัก เพื่อการตั้งราคาที่ทำให้ไม่ขาดทุน ผู้ประกอบการควรนำมาคำนวณเป็นต้นทุนรวมสินค้าภายหลังจากการคำนวณต้นทุนการผลิตต่อหน่วยแล้ว

สูตรการคำนวณทั้งจำนวน

                               = (6,560+650) = 7,210 /จำนวนหน่วยที่ผลิต

   ต้นทุนรวมของสินค้าต่อหน่วย  = 7,210/600 = 12.02 บาท ต่อกล่อง

จากการคำนวณแบบง่ายๆนี้ทำให้ป้าแจ๋วทราบว่าหากขายได้เดือนละ 600 กล่องจะมีต้นทุนสินค้า 12.02 บาทและมีต้นทุนลิต 10.93 บาท การที่ป้าแจ๋วตั้งราคาขายไว้ที่ 20 บาทต่อกล่องจึงทำให้ป้าแจ๋วได้กำไรประมาณกล่องละ 8 บาทจะมีกำไรต่อเดือนประมาณ 4800 บาท

ผู้ประกอบการที่ยังไม่เคยคำนวณต้นทุนผลิตและต้นทุนรวมสินค้าไว้ ลองฝึกจดบันทึกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ให้ได้อย่างน้อย 1 เดือนเพื่อนำตัวเลขในเดือนที่จดบันทึกมาคำนวณหาต้นทุนที่แท้จริงของสินค้าตนเองเพื่อจะได้ไม่ขาดทุนเพราะการตั้งราคาขายที่ต่ำไป

ที่มา : https://bsc.dip.go.th/

 24619
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของงบการเงินก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร
การวางระบบบัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บข้อมูลทางบัญชีและการเงิน อันประกอบด้วยเอกสารต่างๆ บันทึกทางการบัญชี รายงาน เพื่อช่วยให้ฝ่ายจัดการสามารถปฏิบัติหน้าอันอยู่ในความรับผิดชอบของตนให้ลุล่วงไปด้วยดีสำหรับใช้เป็นเครื่องวัดผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาที่ผ่านมา อีกทั้ง ธุรกิจจำเป็นต้องมีระบบบัญชีที่ดี เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหารในด้านการควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์