ลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม ออนไลน์ง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน

ลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม ออนไลน์ง่ายๆ ไม่กี่ขั้นตอน


เปิดวิธีลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม ออนไลน์ 2567 สำหรับผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33 เพื่อรับเงินชดเชยสูงสุเด 180 วัน พร้อมเช็กเงื่อนไขที่ต้องรู้

การลงทะเบียนว่างงาน และรายงานตัวว่างงาน เป็นสิทธิพื้นฐานของคนไทยที่อยู่ในระบบแรงงานที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน และผู้ประกันตนต้องเป็นผู้ทำเรื่องลงทะเบียนว่างงาน และการรายงานตัวว่างงานด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจ เพื่อรับเงินชดเชยต่อเดือนตามฐานเงินเดือน และเงินสมทบที่จ่าย

สรุป ว่างงานต้องแจ้งประกันสังคมอย่างไร ?

  1. ลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ ที่เว็บไซต์ e-service.doe.go.th
    • ลงทะเบียนเข้าใช้งาน
    • อ่านและยอมรับข้อตกลง
    • กรอกข้อมูลส่วนตัวและบัตรประชาชน
  2. เตรียมเอกสาร
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7
    • บัตรประชาชนพร้อมสำเนา
    • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว
    • หนังสือรองรับการออกจากงาน หรือ สปส. 6-09
    • สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
  3. ยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม นำเอกสารทั้งหมดไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคม

การลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม มาตรา 33 จะได้รับเงินเท่าไหร่?

การลาออกจากงาน หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วันต่อรอบปฏิทิน

เช่น ค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.30 x 90) / 30 = 150 บาทต่อวัน ไม่เกิน 90 วัน

เท่ากับว่า การว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้นจะได้รับเงินตั้งแต่ 150-13,500 บาท (คำนวณคร่าวๆ)

  • ว่างงาน 1 วัน ได้รับเงินชดเชย 150 บาท
  • ว่างงาน 7 วัน ได้รับเงินชดเชย 1,050 บาท
  • ว่างงาน 15 วัน ได้รับเงินชดเชย 1,500 บาท
  • ว่างงาน 30 วัน (1 เดือน) ได้รับเงินชดเชย 4,500 บาท
  • ว่างงาน 60 วัน (2 เดือน) ได้รับเงินชดเชย 9,000 บาท
  • ว่างงาน 90 วัน (3 เดือน) ได้รับเงินชดเชย 13,500 บาท

ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างไม่เกิน 180 วันต่อรอบปฏิทิน

เช่น หากค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.50 x 180) / 30 = 250 บาทต่อวัน ไม่เกิน 180 วัน

เท่ากับว่า การว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้น จะได้เงินตั้งแต่ 250-45,000 บาท (คำนวณคร่าวๆ)

  • ถูกเลิกจ้าง 30 วัน ได้รับเงินชดเชย 7,500 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 60 วัน ได้รับเงินชดเชย 15,000 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 90 วัน ได้รับเงินชดเชย 22,500 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 120 วัน ได้รับเงินชดเชย 30,000 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 150 วัน ได้รับเงินชดเชย 37,500 บาท
  • ถูกเลิกจ้าง 180 วัน ได้รับเงินชดเชย 45,000 บาท

ช่องทางการลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ 2567

เอกสารที่ใช้ลงทะเบียนว่างงานออนไลน์

  • ข้อมูลส่วนบุคคล
  • วุฒิการศึกษา
  • สถานะการออกจากงาน เลิกจ้าง หรือ ลาออก
  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน สปส.2-01/7
  • ไฟล์สำเนาบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์

วิธีลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม ออนไลน์ 2567

ลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม

  • ผู้ใช้งานใหม่กด ลงทะเบียน
  • ลงชื่อเข้าใช้งาน ถ้ามีอีเมลก็กรอก Password เพื่อเข้าสู่ระบบ

ยินยอมลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม

  • กด ตกลงยินยอมรับเงื่อนไข กรอกชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน และอีเมล
  • กด เข้าสู่ระบบบริการประชาชน (e-Service)
  • กด ขึ้นทะเบียนรายงานตัวผู้ประกันตน กรณีว่างงาน

ลงทะเบียนว่างงานประกันสังคมออนไลน์

  • เลือกช่องทางในการเข้าใจงาน คลิก “ดำเนินการต่อ” หรือ “เลือกสำนักงานที่ใช้บริการ

ขั้นตอนลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม

  • กรอกข้อมูลส่วนตัว
  • ชื่อ-นามสกุล
  • วันเดือนปีเกิด
  • เลขบัตรประจำตัวประชาชน
  • ที่อยู่
  • เบอรโทรศัพท์
  • อีเมล

เมื่อขึ้นทะเบียนว่างงานแล้ว ก็สามารถคลิก รายงานตัว และตรวจสอบสถานะรับผลประโยชน์ทดแทน

แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนว่างงาน

แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนว่างงานแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนว่างงาน

วิธีรายงานตัวว่างงาน ประกันสังคม

เงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทุกเดือนจะถูกแบ่งไว้ 0.5% เพื่อจ่ายทดแทนเมื่อว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง หรือลาออก โดยผู้ประกันตนจะต้องยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม และลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ https://e-service.doe.go.th เพื่อรับรหัสผ่านรายงานตัว

การเข้าสู่ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน และรายงานตัวกรณีว่างงานผ่านอินเทอร์เน็ต มีดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ empui.doe.go.th เลือก กรณีใช้บริการจากที่บ้านหรือสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สำนักงาน หรือกรณีเดินทางมาใช้บริการที่สำนักงาน

2. เลือก “ลงทะเบียน” หรือ “ลงชื่อเข้าใช้งาน”

  • ลงทะเบียน สำหรับผู้ใช้ใหม่
  • ลงชื่อเข้าใช้งาน เพื่อใส่เลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่เคยได้รับแล้ว

3. อ่านรายละเอียด และกดยอมรับ และเข้าใช้งาน

4. กรอกข้อมูล จากบัตรประชาชน ใช้ข้อมูลด้านหน้า และด้านหลังบัตรประชาชน

5. อัปโหลดรูป และ กรอกข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ

6. คลิก ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน

7. เลือกเมนู ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ทางด้านซ้ายของจอ ได้แก่ สถานที่ทำงานล่าสุด วันที่ออกจากงาน สาเหตุที่ออกจากงาน ข้อมูลนายจ้างหรือสถานประกอบการ ตำแหน่ง เงินเดือนล่าสุด

8. เมื่อกรอกข้อมูลหมดแล้ว คลิกข้อมูลขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง หากต้องการแก้ไขคลิกที่ “ข้อมูลส่วนตัว”

9. รับเอกสาร “หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน” และ “วันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตน” สามารถพิมพ์ออกมาเก็บไว้ได้ และตรวจสอบวันรายงานตัวว่างงาน 8 ครั้ง

ทั้งนี้ เมื่อผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 33 ที่ว่างงาน ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานในระบบกรมการจัดหางานแล้ว จะต้องรายงานตัวว่างงาน 6 ครั้ง โดยสามารเข้ามากดรายงานตัวในระบบก่อนวันที่กำหนดได้ ส่วนเงินที่จะได้รับนั้น ก็ขึ้นอยู่กับรอบการโอนเข้าบัญชี

อ้างอิง : https://www.sanook.com/money/912663/
 29
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินที่พนักงานเอกชน หรือผู้ประกันตนมาตรา 33 ถูกหักเข้าไปสมทบประกันสังคม จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ประกันว่างงาน และสุดท้ายคือ เงินชราภาพ ที่เราจะได้รับเมื่อยามเกษียณ ซึ่งมาจาก 3% ของฐานเงินเดือน หมายความว่า หากเราจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาทต่อเดือน ก็จะถูกหักเงินเข้ามาเป็นเงินออมชราภาพ จำนวน 450 บาท ทันที
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
ในฐานะผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 39 และ 40 ที่ต่างต้องจ่ายเงินสมทบให้แก่สำนักงานประกันสังคม  (สปส.) นอกจากได้รับสิทธิประโยชน์ เช่น การรักษาพยาบาล บำเหน็จชราภาพ เงินทดแทนในระหว่างการว่างงาน  ฯลฯ แล้ว ล่าสุดทาง สปส. ก็ได้จัดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมให้ ทั้งในส่วนการดูแลสุขภาพและการลดภาระเงินกู้ซื้อบ้าน ดังนี้
คนทำงานที่ออกจากงานแล้ว จะเกิดข้อสงสัยว่าต้องทำอย่างไรกับสิทธิประกันสังคมที่ตนเองมี ต้องส่งเงินเข้ากองทุนต่อหรือไม่ แล้วเราจะได้ใช้สิทธิอะไรบ้างเมื่อลาออกจากงาน ต้องยอมรับว่าคนทำงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบประกันสังคม เพราะอยู่ในสถานะลูกจ้าง ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน ๆ แต่มีน้อยคนที่จะรู้และเข้าใจอย่างจริงจังว่า เราสามารถใช้สิทธิอะไรได้บ้างจากประกันสังคม เมื่อเราลาออกจากงานแล้ว
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์