Checklists ความผิดปกติปิดงบการเงิน

Checklists ความผิดปกติปิดงบการเงิน



การปิดงบการเงินนั้นหาก ปิดไม่เหมาะสมอาจมีตัวเลขบางอย่าง ที่แสดงถึงความผิดปกติของงบการเงิน ของกิจการเราได้

ซึ่งอาจเป็นเหตุให้ นักลงทุนที่มาอ่านงบ, ผู้สอบบัญชีที่ตรวจสอบงบฯ หรือ แม้แต่สรรพากรที่ได้ข้อมูลตอนยื่นงบไป อาจเคลือบแคลงใจ และเป็นเหตุต้องสงสัยได้

เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่

1.เงินสด เยอะมาก

กิจการที่เงินสด เยอะมากๆ อาจมีเหตุต้องสงสัยว่า เงินสดนั้นมีอยู่จริงๆ หรือไม่ เพราะยุคสมัยนี้ ระบบการเงินพัฒนาไปไกลมาก การใช้เงินสด รับ-จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการค้าที่สูงๆ อาจมีข้อสงสัยว่ารายการเหล่านั้น เกิดจริงหรือไม่ ? แล้วถ้าเกิดจริง ทำไมต้องใช้เงินสด ?

เพราะ ข้อจำกัดของเงินสด ในการตรวจสอบนั่นคือ ตรวจสอบได้ยากมาก ว่าเงินนั้นมาจากใคร เป้นของใคร ก็เราดมไม่ได้นี่เนอะ ดังนั้นแล้วกิจการใดที่มีเงินสดมากเกินควร (แต่ ร้านสะดวกซื้ออาจมีเงินสดมากได้ เพราะรูปแบบธุรกิจเค้าเป็นแบบนั้น ดูอย่าง เซเว่นสิครับ รับเงินสดเยอะจริงในแต่ละวัน) กิจการใดที่มีเงินสดมากๆ ในงบการเงิน หรือบันทึกบัญชี ผ่านเงินสดรับ-จ่าย อาจต้องหาคำอธิบายเตรียมๆไว้บ้างนะว่าทำไม

2.งบการเงินไม่มี รายการอาคารและที่ดินที่ใช้ในการประกอบกิจการ หรือไม่มีรายการค่าเช่าในส่วนของค่าใช้จ่าย

เอออันนี้ หลายๆท่านมักมองข้ามไปนะ การที่งบการเงิน ไม่มีรายการสินทรัพย์ถาวร พวก อาคาร/ที่ดิน/ออฟฟิต แล้วกิจการเราใช้อะไรดำเนินงาน ? ….. แต่ถ้ากิจการเหล่านี้ เช่า สถานที่อยู่ก็อาจเป็นเหตุผลได้ว่า เพราะการเช่า จึงไม่มีสินทรัพย์ ถาวร ในงบการเงิน แต่บางงบการเงินนั้น ไม่มีรายการ ค่าเช่า อีก แบบนี้ยิ่งแปลกเพราะเหมือนกับว่ากิจการเหล่านี้ ไม่มีสินทรัพย์ดำเนินงานอะไรเลย

แบบนี้นักลงทุนที่มาอ่านงบ ก็อาจสงสัยได้ หรือถ้าในมุม สรรพากร ก็อาจสงสัยได้เช่นกันว่ากิจการ มีซ่อนกิจการอื่นไว้หรือไม่ (อาจไปใช้อาคารสำนักงานของกิจการอื่นๆ ) อะไรแบบนี้

3.รายการ ลูกหนี้กรรมการ หรือ เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ

อันนี้เบสิค สุดๆ ถามว่าจริงๆ แล้วกรรมการสามารถ กู้ยืมเงินบริษัทได้หรือไม่ ตอบว่าได้ ไม่มีกฏหมายข้อใดกำหนดว่าไม่ได้ แต่แต่แต่ ถ้าจำนวนนี้สูงมากเกินไปแปลว่าอะไร ?

  • กรรมการ เลือกที่จะดึงเงินออกจากบริษัทผ่านทางเงินกู้ยืม เพราะมันไม่มีภาระภาษี บุคคลธรรมดา ต่อกรรมการ (ถ้ารับเป็นเงินเดือน สิ้นปีกรรมการต้องยื่นภาษีไงครับ)
  • กรรมการ ขายสินค้า แต่เงินอยู่ที่กรรมการ บริษัทเลยบันทึกการขาย ผ่านบัญชีลูกหนี้กรรมการ
  • นักบัญชี ไม่รู้จะลงบัญชีอย่างไร ตบยอดตรงไหน ก็ยัดมันเข้าบัญชีลูกหนี้กรรมการ

และอีก หลายต่อหลายสาเหตุที่ทำให้มีบัญชีนี้ ซึ่งจริงๆแล้วเนี่ย ลองนึกภาพตามนะะครับ ถ้าเป็นการกู้ยืมเงินระหว่างกรรมการ และ บริษัท จริง บัญชีลูกหนี้กรรมการ ควรจะเป็นเลขกลมๆ เพราะเราคงไม่กู้หรือคืนเงินกู้ยืม ด้วยยอด 120,515 บาท มีเศษ ๆ หรอกถูกมั้ย หรือ  หากมองไวๆแบบง่ายๆ บัญชีนี้ไม่ควรมียอดสูงเกินกว่า หนี้สินหมุนเวียน เช่น เจ้าหนี้การค้า/ เงินกู้จากธนาคาร เพราะ ถ้าบริษัทมีเงินเหลือให้กรรมการกู้ยืมจริง เหตุไฉน จึงไม่เอาเงินนั้นมาจ่ายชำระหนี้สิน ถูกมั้ยครับ

4.สินค้าคงเหลือ ยอดสูงมากเกินควร

รายการ สินค้า สิ้นงวดนั้นต้องบอกว่าเป็นรายการที่ใครๆ (ผู้สอบบัญ๙ี หรือ สรรพากร หรือ นักลงทุน) ต้องแวะมาดูเพราะสามารถบอกอะไรได้หลายต่อหลายอย่าง เช่น

  • เหลือเยอะมั้ย ถ้าเยอะเยอะมากแค่ไหน เพราะหมายถึง เงินไปจมในสต้อคเกินไปป่าว
  • หรือที่เหลือ มากๆนั้น มีสินค้าที่ล้าสมัย เสื่อมสภาพมั้ย ขายไม่ออก
  • หากมียอดสูงกว่า ยอดขายใน 1 ปี อาจบ่งบอกว่ากิจการมีการขาย แต่ไม่มีการบันทึกบัญชีหรือไม่
  • สินค้าคงเหลือ มีแต่ยอดสูง แต่ไม่มีอยู่จริง
  • อื่นๆ

สินค้าคงเหลือ ค่อนข้างที่จะต้อง ดูเป็นพิเศษ หากกิจการใดมีระบบควบคุมที่ดี ก็คงต้องตรวจนับสินค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตอนสิ้นปี ว่ามีจริงๆเท่าไหร่ มีเสื่อมสภาพบ้างหรือไม่ โดยอาจมีผู้สอบบัญชี (อย่างผม) ไปช่วยดูการตรวจนับด้วย เพื่อที่จะเสนอแนะหรือแนะนำ ระบบควบคุมให้ดียิ่งขึ้น

5.มีรายการ ซื้อสินค้า ป็นเงินตราต่างประเทศ  แต่งบกำไร/ขาดทุน ไม่ปรากฏว่ามีรายการกำไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

อันนี้คือ ยังไง๊ยังไงก็แปลก เพราะหากมีรายการการค้าขายกับต่างประเทศแล้ว มักเป้นปกติที่ต้องมีรายการ กำไร หรือ ขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!



ขอบคุณที่มา : https://onesiri-acc.com

 1506
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของงบการเงินก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ
งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์