สัญญาณที่บอกว่าองค์กร ของคุณกำลังทำงานแบบ “Silo”

สัญญาณที่บอกว่าองค์กร ของคุณกำลังทำงานแบบ “Silo”



Silo (ไซโล) คือ การทำงานแบบแยกส่วน ลักษณะขององค์กรที่ทำงานแบบนี้ คือคนในทีมต่างโฟกัสเฉพาะงานของตัวเอง ไม่สนใจการทำงานของคนอื่นๆ หรือพูดง่ายๆ คือ การทำงานแบบ Silo จะตรงข้ามกับคำว่า “Teamwork” การทำงานแบบ Silo จะทำให้องค์กรพบกับความยุ่งยากในการแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงความสามารถในการผลิตหรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ เช่น การประเมินผลพนักงาน การฝึกอบรม

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าทีมงานของเรา กำลังเข้าสู่สภาวะแบบ Silo? มีอะไรบ้าง

1.ทีมงานรู้เนื้อหางาน แค่เฉพาะของในทีมตัวเอง
การที่ทีมงานแต่ละทีมหรือแต่ละแผนกพูดคุยกันแค่เฉพาะในทีมตัวเอง หรือรู้โฟลว์งานแค่เฉพาะทีมของตัวเอง สิ่งที่ตามมา คือ ทีมงานจะขาดทักษะการมองภาพรวมขององค์กร หรือภาพรวมของโพรเจกต์ เมื่อเกิดปัญหาขึ้น คนในทีมก็มักจะเกิดความคิดที่ว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นของบริษัทไม่ใช่ปัญหาของตัวเอง ส่งผลให้ขาดความกระตือรืนร้นในการร่วมมือกันแก้ปัญหาต่างๆ สำหรับองค์กรใหญ่ๆ แน่นอนว่า อาจจะไม่สามารถทำความรู้จักทุกคนได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยทีมงานก็ควรจะรู้ว่า ทีมอื่นๆ เขาทำงานอะไร และมีกระบวนการทำงานอย่างไร เพราะการเห็นภาพรวมการทำงานขององค์กร จะทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้นสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร หรือสอดคล้องกับความคาดหวังของทีมงานหรือไม่ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็จะสามารถแก้ไขได้ทันเวลา

2.ไม่มีช่องทางหรือพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูล
หากทีมงานไม่มีพื้นที่ในการสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเลย สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ทีมงานจะมีมุมมองการทำงานแค่มุมเดียว ทำให้ไม่เกิดไอเดียใหม่ๆ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเกิดปัญหาหรือความผิดพลาด หัวหน้าและทีมก็จะรู้ปัญหาช้า หรือบางทีปัญหาอาจจะไม่ได้รับการแก้ไขเลยก็ได้

3.มีคนที่ดูแปลกแยก ไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม หรือเริ่มมีการแบ่งพวก
ข้อนี้เป็นเรื่องที่ผู้นำต้องคอยสังเกต ว่ามีใครที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีมอยู่หรือเปล่า เช่น มีคนที่ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ทำงานคนเดียว อยู่ในวงประชุมมักจะไม่ค่อยสนใจ หรือไม่เคยแลกเปลี่ยนข้อมูลเลย หรืออาจจะมีกรณีที่ทีมงานหรือหัวหน้างานเสียเอง ที่ไม่แจกจ่ายงานหรือให้คำแนะนำกับลูกทีมบางคน ทำให้มีคนรู้สึกไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม สิ่งที่ตามมาคือ เกิดความขัดแย้งระหว่างคนในทีม เกิดการเมืองในบริษัท มีการแข่งขันกันเอง มากกว่าการร่วมมือกัน เพื่อวางแผนแข่งขันกับบริษัทคู่แข่ง และกรณีที่เลวร้ายที่สุดก็คือนำไปสู่การเลื่อยขาเก้าอี้ หรือ การทำให้คนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่ง

4.เริ่มทำงานซ้ำซ้อนกันบ่อยๆ
หากมีการทำงานซ้ำซ้อนกันบ่อยๆ เช่น สองทีม มีการทำโพรเจกต์ที่คล้ายกันออกมา เมื่อถูกแก้ก็ต้องเสียทั้งเวลาและกำลังคน ไปกับการแก้ไขปัญหาในเรื่องเดียวกัน นี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าคนในองค์กร ไม่มีการวางแผน แบ่งงาน และไม่สื่อสารกันให้ดี พูดง่ายๆ ก็คือ การทำงานซ้ำซ้อน จะเป็นการสูญเสียประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานโดยเปล่าประโยชน์ ในโลกทุกวันนี้ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ความท้าทาย และความซับซ้อนของปัญหามีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการทำงานแบบแยกส่วน หรือการเอาแต่รอคนนั้นคนนี้มาแก้ปัญหาจะทำให้ทุกอย่างเกิดความล่าช้า

ดังนั้นในตอนนี้ สิ่งแรกที่ผู้นำต้องรู้ก่อนเลยก็คือองค์กรกำลังมีวัฒนธรรมแบบไหนอยู่แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ ถ้าองค์กรของคุณกำลังทำงานแบบ “Silo”..

โปรแกรมเงินเดือน Prosoft HRMI เครื่องมือบริหารงานบุคคล ที่ให้มากกว่า ‘โปรแกรมเงินเดือน’


ที่มา : https://www.facebook.com/TheBriefcaseTH/photos/a.114819323762889/128266342418187/
 5227
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ต้องยอมรับว่าความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม ความพร้อมในการรับมือของแต่ละองค์กรนั้นมีไม่เท่ากัน จะเห็นได้ว่าบางอุตสาหกรรมถึงกลับต้องชะงักงัน ยุคของการ Disruption นี้องค์กรไหนที่อ่อนแอก็คงต้องพ่ายแพ้ไปตามระเบียบ
จัดลำดับการทำงานให้ดีมีแต่ความสำเร็จ แต่จงจำเอาไว้ว่าควรทำงานที่สำคัญที่สุดก่อนเป็นอันดับแรกสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำงานคือเรื่องของเวลา ที่จะเป็นสิ่งที่ช่วยบริหารระดับขั้นตอนการทำงานของเราได้เป็นอย่างดี อยู่ที่ว่าเราจะใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ต้องมองการณ์ไกลและวางแผนทุกครั้งในการเริ่มต้นทำงานเพื่อผลักดันให้ตัวเองมีเป้าหมายและไปสู่ในสิ่งที่ตั้งใจเอาไว้ 
การประเมินผล (Evaluation) ถือเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งขององค์กรเลยก็ว่าได้ เพราะผลประเมินนั้นจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบตั้งแต่ใช้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น, ตรวจสอบมาตรฐานขององค์กร, ประเมินศักยภาพของพนักงาน, กระตุ้นการทำงานตลอดจนพัฒนาการของบุคลากร, ไปจนถึงประเมินอัตราจ้างและผลโบนัสประจำปีอีกด้วย อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้มีเครื่องมือที่นำมาใช้ประเมินผลมากมายหลายรูปแบบ ตลอดจนวิธีการประเมินผลที่เพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้ดีขึ้น หนึ่งในการประเมินผลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากก็คือ “การประเมินผลรอบด้านแบบ 360 องศา (360-degree Feedback)” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และเป็นหนึ่งในเครื่องมือการประเมินผลที่ยอดเยี่ยมที่สุดเลยทีเดียว
การสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ (Job Interview in English) นั้นกลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับบริษัทส่วนใหญ่ไปโดยปริยายแล้ว ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) มักจะเพิ่มการสัมภาษณ์งานช่วงนี้เข้ามาเพื่อทดสอบและประเมินศักยภาพของผู้สมัครงานแต่ละคนด้วย ถึงแม้ว่าบางบริษัทอาจจะไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการทำงานก็ตาม แต่ยุคปัจจุบันภาษาก็มีความสำคัญในทุกมิติของการทำงานด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่ผู้สมัครจะเตรียมตัวในการตอบคำถามในส่วนนี้มาเป็นอย่างดีแล้ว ผู้สัมภาษณ์งานเองก็ควรจะต้องเตรียมตัวในส่วนนี้ให้ดีด้วยเช่นกัน เบื้องต้นอาจเริ่มด้วยการวางแผนในเรื่องคำถามภาษาอังกฤษ ตลอดจนลำดับการสัมภาษณ์ที่เอื้อประโยชน์ต่อการสนทนาที่ลื่นไหล ไปจนถึงการเช็คความถูกต้องและวัตถุประสงค์ของคำถาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพให้มากที่สุด
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์