ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร

ภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร



เสียภาษีก็คงได้ยินคำว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายมาบ้าง แต่มีน้อยคนมากๆที่จะมานั่งหาความหมายของคำว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายจริงๆว่ามันหมายถึงอะไรหรือคืออะไรกันแน่ๆ อาจจะเพราะส่วนหนึ่งมาจากภาษาทางการเงินหรือทางกฎหมายที่ยากเกินไปจนเราไม่อยากจะอ่าน ไม่ก็เพราะเราไม่คิดว่ามันจะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรานั่นเอง ทำให้สุดท้ายแล้วเราก็ปล่อยให้คำว่าภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นปริศนาต่อไปในใจของเรา แต่ในวันนี้เราจะขอมาแก้ข้อข้องใจเกี่ยวกับกับ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้กับทุกคนว่า  ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั้นมันคืออะไรกันแน่

อย่างแรกเลย หากดูจากชื่อ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นก็คือ ภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีตรงที่ที่เรามีรายได้นั่นเองแต่ภาษีในส่วนนี้เราไม่ได้เป็นผู้ที่ยื่นเองทุกครั้งเพราะผู้ที่ต้องจ่ายคือผู้ที่ให้เงินกับเรามานั่นเอง(ยกเว้นอยู่กรณีเดียวซึ่งจะพูดต่อไป) ซึ่งในทางกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าเราสามารถยื่นจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย นี้ได้ภายในวันที่ 7 ของเดือน ถัดไปนับตั้งแต่เรามีรายได้ก้อนนั้นเข้ามา แต่ถ้าหากว่าแจ็กพ็อตว่าวันที่ 7 ของเดือนถัดไปนั้นเป็นวันหยุดราชการ เราก็สามารถเลื่อนวันที่เราต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกไปได้จนถึงวันแรกที่เปิดทำการหลังจากวันที่ 7 นั่นเอง

แล้วใครบ้างที่มีหน้าที่ในการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย

สำหรับผู้ที่ต้องจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั่นคือบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคล ที่เป็นผู้จ่ายเงินให้กับผู้อื่น แต่อย่างไรก็ตามทางกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าผู้ที่มีรายได้ในแต่ละครั้งนั้นถ้าไม่ถึง 1,000 บาทก็ไม่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย และกำหนดในมีกรณีที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายและผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้

1. เงินได้นั้นเป็นค่านายหน้า ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์

ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ บริษัทห้างหุ้นส่วนและมูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราที่แตกต่างกันออกไป คือร้อยละ 3.0 และ 10.0 ตามลำดับ ดังนั้นใครที่เปิดบริษัทหรือกำลังคิดจะเปิดบริษัทเพื่อทำธุรกิจแล้วล่ะก็ เตรียมตัวเสียภาษีส่วนนี้กันได้เลย จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์ที่คุณจะต้องเสียด้วย

2. เงินได้นั้นเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน พันธบัตรหุ้นกู้  

ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ บริษัทห้างหุ้นส่วนไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนและมูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่มีข้อยกเว้น ซึ่งจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราที่แตกต่างกันออกไป คือร้อยละ 1.0 และ 10.0 ตามลำดับ

3. เงินได้นั้นเป็นค่าเช่าอาคารหรือบ้าน

ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ บริษัทห้างหุ้นส่วน มูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่มีข้อยกเว้น และบุคคลธรรมดา ซึ่งจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราที่แตกต่างกันออกไป คือร้อยละ 5.0 10.0 และ 5.0 ตามลำดับ ดังนั้นผู้ที่เปิดกิจการให้เช่าบ้าน อพาร์ทเม้น หรือห้องเช่าต่างๆ จึงต้องเสียภาษีในส่วนนี้ด้วย

4. เงินได้นั้นเป็นค่าค่าจ้างทำของ

เช่น การรับเหมาก่อสร้าง และค่าบริการต่างๆ ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ บริษัทห้างหุ้นส่วน และบุคคลธรรมดา ซึ่งจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราที่เท่ากันคือร้อยละ 3.0

5. เงินได้นั้นเป็นค่าโฆษณา

ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ นิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ซึ่งจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราที่เท่ากัน คือร้อยละ 2.0

6. เงินได้นั้นเป็นค่าขนส่ง

เช่น จ้างรถขนของ เป็นต้น ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ นิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ซึ่งจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราที่เท่ากัน คือร้อยละ 1.0

สำหรับการยื่นจ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นี้ ทางกฎหมายได้กำหนดให้ใช้แบบฟอร์มในการยื่นเสียภาษีที่แตกต่างกันออกไป โดยผู้ที่ใช้แบบภ.ง.ด. 53 ยื่นได้แก่ นิติบุคคล บริษัทห้างหุ้นส่วนที่ไม่มีข้อยกเว้นและมูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่มีข้อยกเว้นนั่นเอง ส่วนบุคคลธรรมดาจะใช้แบบภ.ง.ด. 3 ในการยื่นจ่ายภาษีนั่นเอง เพราะฉะนั้นในการยื่นแบบภาษี จึงควรยื่นแบบให้ถูกต้อง และยื่นให้ตรงเวลาเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียตามมาทีหลังนั่นเอง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!


ที่มา : moneyhub.in.th

 

 1648
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมสรรพากรประกาศ โดยให้นายจ้างยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.1ก พิเศษ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น โดยเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบกับการจ่ายเงินได้เดือนภาษีมกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศไทย มีการเปิดธุรกิจสุขภาพและความงาม ทั้งฟิตเนส อาหารเสริม สปา นวดหน้า นวดตัว คลีนิกรักษาสิว ดูแลผิวพรรณ รวมทั้งการทำศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจ ทั้งในรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ ซึ่งเปิดดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่มีความรู้ทางด้านสุขภาพ และการเสริมความงาม และเปิดดำเนินการโดยระบบแฟรนไชส์ ซึ่งมีประเด็นทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง จึงขอนำมากล่าวดังนี้
การพาพนักงานไปเที่ยวต่างจังหวัดทางกรมสรรพากรถือว่าเป็นผลประโยชน์ส่วนเพิ่มจากหน้าที่การงานของพนักงานดังนั้นจะถือเป็นเงินได้ของพนักงานเพื่อนำไปรวมในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาไปเที่ยวพักผ่อนประจำปีต้องเสียงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่ม
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์