5 เทคนิคการตลาดแบบ “ย้อนศร”

5 เทคนิคการตลาดแบบ “ย้อนศร”



เทคนิคการตลาดที่น่าสนใจเรียกว่า “คิดแบบย้อนศร” คือการลองพลิกมุมมองความคิดไปอีกด้านหนึ่ง จากซ้ายไปขวา จากผู้ผลิตไปเป็นผู้บริโภค ไม่แน่ว่าอาจทำให้หาคำตอบในสิ่งที่ต้องการได้ง่ายขึ้น และมองเห็นถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่

1. ให้ลูกค้าพูดถึงแบรนด์แทนเจ้าของธุรกิจ

การตลาดเดิมๆ คือเมื่อมีสินค้าใหม่ แบรนด์ใหม่ อะไรก็ตาม เจ้าของธุรกิจจะพยายามสื่อสารกับลูกค้าพูดถึงแบรนด์ตัวเองว่าดีอย่างไร เป็นอย่างไร มีประโยชน์กับลูกค้าแค่ไหน ซึ่งการนำเสนอก็มีเทคนิคที่หลากหลายแตกต่างกันไปแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือให้ลูกค้ารู้ว่ามีแบรนด์นี้อยู่ แบรนด์นี้น่าสนใจ แต่เมื่อถึงทางตันที่ลูกค้าเองก็รู้สึกว่า “นี่มันคือการตลาด” เป็นเรื่องธรรมดาที่แบรนด์จะต้องออกมาพูดด้านดีๆ ของตัวเอง แต่ลูกค้าก็ยังไม่มั่นใจว่าแบรนด์ที่ว่านี้จะดีจริงหรือเปล่า ลองเปลี่ยนความคิดถ้าวิธีการตลาดแบบนี้มันตัน ลองกลับด้านไปอีกมุมหนึ่ง คือ แทนที่คิดว่าจะเล่าเรื่องยังไงดี ให้เปลี่ยนมาเป็นอยากให้ลูกค้าพูดถึงแบรนด์เราว่ายังไงบ้าง สิ่งไหนที่อยากให้เขาพูดถึงแบรนด์ สิ่งไหนที่อยากให้เขานำไปบอกต่อ อาจจะง่ายขึ้นเยอะ และทำให้การตลาดของเราเดินหน้าได้มากกว่าเดิม

2. ต้องรู้ว่าสินค้าแบบไหนคนไม่อยากใช้
อีกหนึ่งทางตันด้านความคิดโดยเฉพาะผู้ประกอบการใหม่ๆ ที่อาจมีเงินทุนอยากลงทุนแต่ไม่รู้จะผลิตสินค้าอะไร หรือมีสินค้าเดิมอยู่แล้วแต่ไม่รู้จะพัฒนาสินค้าให้สู้คู่แข่งได้อย่างไร บางทีก็กลายเป็นปัญหาโลกแตกที่มองรอบตัวก็เห็นสินค้านั้นก็ดี นี่ก็มีอยู่แล้ว ซึ่งบางทีสินค้าใหม่ต่อให้ทำดีแค่ไหน คนก็ไม่ต้องการ เมื่อมาถึงทางตันแบบนี้ ลองคิดมุมกลับดีกว่า ในเมื่อไม่รู้ว่าจะขายอะไรดี ลองเริ่มจากคำถามง่ายๆ แบบนี้ก่อน ก็คือของแบบไหนที่ทำแล้วไม่อยากใช้ อย่างน้อยๆ ถึงไม่รู้ว่าจะขายอะไร แต่อย่างน้อยๆ ก็ได้รู้ว่าสินค้าแบบไหนที่ทำออกมาแล้ว ไม่อยากใช้แน่นอน อย่างน้อยๆ ก็เป็นการช่วยลดความเสี่ยงของการขายไม่ได้ และอาจทำให้เรามองเห็นช่องทางการทำสินค้าใหม่ๆ ที่คนต้องการได้จริงๆ


3. ไม่คิดถึงกำไรแต่ให้คิดประหยัดต้นทุน
ทำธุรกิจก็ต้องคิดถึงกำไรอันดับแรก กระบวนความคิดของผู้ลงทุนจึงหมกหมุ่นอยู่กับวิธีการว่าจะขายของยังไงให้ได้ตามเป้า ขายของยังไงให้ได้กำไรตามที่ต้องการ ซึ่งบางทีการคิดเดินหน้ามุ่งหาแต่กำไร สุดท้ายก็อาจมาถึงทางตันที่ไม่รู้แล้วว่าจะใช้วิธีไหนดีในการให้ถึงเป้าหมาย ในมุมกลับแทนที่จะตั้งโจทย์ว่าทำยังไงให้ขายได้กำไรดีๆ เปลี่ยนมาเป็นทำยังไงจึงจะสามารถประหยัดต้นทุนได้บ้างดีกว่า การประหยัดต้นทุนดังกล่าวไม่ได้หมายถึงการลดคุณภาพสินค้าลง หากแต่หมายถึงทำอย่างไรที่คุณภาพสินค้ายังคงดีเหมือนเดิมได้ แต่มีวิธีช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต การทำงานต่างๆ เรียกง่ายๆ ว่าเหมือนเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานใหม่ถ้าหากสามารถทำได้ แม้กำไรสินค้าอาจได้ราคาเท่าเดิม แต่ต้นทุนการผลิตที่ถูกลง ซึ่งก็ไม่ต่างจากการได้กำไรเพิ่มขึ้นนั่นเอง


4. ถามตัวเองว่าอยากได้สินค้าแบบไหน
การทำธุรกิจทุกคนมุ่งแต่จะขายของให้ได้ สารพัดวิธีการตลาดก็งัดเอามาใช้จูงใจลูกค้าต่างๆ จนกลายเป็นแคมเปญ เป็นโปรโมชั่น ที่อาจมีทั้งยอมเจ็บตัวทุนหายกำไรหด เพียงเพื่อให้สามารถขายของได้ การคิดในมุมกลับแทนที่จะถามว่าเราจะขายของได้ยังไงให้ลองคิดว่า สินค้าแบบไหนที่เราเองต้องการ สินค้าแบบไหนที่เราอยากจะเสียเงินซื้อ และจะซื้อแบบไหน ช่องทางไหน ที่จะสะดวกที่สุด บางครั้งรายละเอียดข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้อาจเป็นตัวช่วยไขความลับ เป็นจุดเล็กๆ ที่ซ่อนอยู่ในความต้องการของผู้บริโภคก็เป็นได้ มีสินค้าตั้งมากมายที่เป็นสินค้าดีมีคุณภาพ แต่อยู่ผิดที่ผิดทาง แต่พอเปลี่ยนวิธีการ เปลี่ยนช่องทางการจัดจำหน่าย กลับขายได้ดีเป็นเทน้ำเทท่า


5. ไม่ทำให้คนรัก ก็ไม่ทำให้คนเกลียด
กฎของการตลาดเชื่อว่าการทำให้ลูกค้าภักดีต่อแบรนด์คือการสร้างฐานลูกค้าที่ดีในอนาคต สิ่งที่เราเห็นคือการที่แบรนด์พยายามสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาลูกค้า จนบางทีก็ไม่รู้ว่าจะใช้วิธีไหน เพราะวิธีที่นำมาใช้มันก็แทบจะเหมือนเดิมกันไปหมด เรียกว่ามาถึงทางตันไม่รู้จะทำให้คนรักสินค้าได้อย่างไร ในมุมกลับลองคิดดูว่าสิ่งใดที่ที่หากทำออกไปแล้ว ลูกค้าจะไม่ชื่นชอบแน่นอน ลองเขียนออกมาเป็นข้อๆ จดเป็นบันทึกข้อห้ามเอาไว้ เป็นกฎเหล็กว่าเราจะไม่ทำแน่นอน และนั่นเองจะช่วยทำให้ลูกค้ารักสินค้าเราเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะยังไม่ได้ทำอะไร และจะยิ่งรักมากขึ้นไปอีก ถ้าเราได้ทำอะไรดีๆ เพิ่มขึ้นมาเพื่อลูกค้า

ที่มา : http://www.thaismescenter.com/
 2075
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การขายเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการจูงใจผู้ซื้อให้สามารถซื้อสินค้าได้ ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงทำการตลาดที่ดีได้เท่านั้น ไม่ว่าจะล้มเหลวในการขายสินค้าและบริการอย่างไร การมีความสามารถที่ดีในการขายก็มีความจำเป็นและต้องมีความเข้าใจจิตวิทยาของผู้บริโภคด้วยว่าซื้อสินค้าเพราะอะไร ซื้อสินค้าเพื่ออะไร ทำไมถึงต้องซื้อ ทั้งนี้การที่นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจเชื่อว่าสินค้าที่ตัวเองมีอยู่นั้นเป็นสินค้าที่ดีที่สุดสามารถทำให้คนสนใจหันมาซื้อหาได้ หรือคิดว่าการลงเงินให้เยอะไปกับการตลาดสามารถสร้างลูกค้าได้จำนวนมากไม่ว่าจะด้วยช่องทางออนไลน์ ถ้าหากนักการตลาดมีความคิดแบบนี้ก็ไม่ได้เป็นความคิดที่ถูกซะทีเดียว เพราะตัวแปรอื่นๆ ที่ประกอบกันหลายประการ อย่างเช่น การที่ผลิตสินค้าและบริการออกมาให้ลูกค้าได้ถูกคนตรงความต้องการ ทำออกได้ถูกที่ ถูกเวลา มาดูกันว่า  4 เหตุผลที่ทำให้ขายของไม่ได้มีอะไรบ้าง
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์