5 เหตุผลที่ทำให้ขายของไม่ได้

5 เหตุผลที่ทำให้ขายของไม่ได้



การขายเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการจูงใจผู้ซื้อให้สามารถซื้อสินค้าได้ ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพียงทำการตลาดที่ดีได้เท่านั้น ไม่ว่าจะล้มเหลวในการขายสินค้าและบริการอย่างไร การมีความสามารถที่ดีในการขายก็มีความจำเป็นและต้องมีความเข้าใจจิตวิทยาของผู้บริโภคด้วยว่าซื้อสินค้าเพราะอะไร ซื้อสินค้าเพื่ออะไร ทำไมถึงต้องซื้อ ทั้งนี้การที่นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจเชื่อว่าสินค้าที่ตัวเองมีอยู่นั้นเป็นสินค้าที่ดีที่สุดสามารถทำให้คนสนใจหันมาซื้อหาได้ หรือคิดว่าการลงเงินให้เยอะไปกับการตลาดสามารถสร้างลูกค้าได้จำนวนมากไม่ว่าจะด้วยช่องทางออนไลน์ ถ้าหากนักการตลาดมีความคิดแบบนี้ก็ไม่ได้เป็นความคิดที่ถูกซะทีเดียว เพราะตัวแปรอื่นๆ ที่ประกอบกันหลายประการ อย่างเช่น การที่ผลิตสินค้าและบริการออกมาให้ลูกค้าได้ถูกคนตรงความต้องการ ทำออกได้ถูกที่ ถูกเวลา มาดูกันว่า  4 เหตุผลที่ทำให้ขายของไม่ได้มีอะไรบ้าง

1.คิดว่าสินค้าของตัวเองดี

อย่าเอาความคิดที่ว่าสินค้าของตัวเองดีและเจ๋งที่สุดมาเป็นที่ตั้งว่ากลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าคนอื่นๆ จะสนใจสินค้าและบริการนั้นโดยไม่มีที่มาที่ไป ใช้เพียงความคิดของตัวเองเพื่อสร้างมาตรฐานขึ้นมาว่าดี ถ้าหากคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาลแล้วคิดว่าคนอื่นต้องคิดแบบเดียวกันหรือเข้าใจแบบเดียวกัก็อย่ากลัวที่จะต้องขายไปอย่างเงียบๆ เพราะผู้บริโภคแทบจะไม่รู้จักคุณ และยิ่งถ้าไม่ยอมรับคำแนะนำจากลูกค้าหรือผู้ซื้อสินค้าหรือมาใช้บริการแล้วก็เตรียมตัวปิดประตูรอวันจบไปได้เลย

คุณควรรู้จักสินค้าและบริการของคุณให้มากที่สุด และนำเสนอกับผู้บริโภคอย่างตรงไปตรงมาให้เข้าใจตรงกับคุณ อย่าคิดว่าลูกค้าจะรู้ไปหมดทุกอย่าง ถ้าคุณไม่บอกเล่าสินค้าหรือบริการของคุณให้ชัดเจน ไม่มีทางที่ลูกค้าของคุณจะไปบอกต่อให้สินค้าและบริการของคุณไปในทางที่ดีอย่างแน่นอน นอกจากนี้การบอกปากต่อปาก จาก 2 ปาก เป็น 4 ปาก จาก 4 ปากเพิ่มไปเป็นทวีคูณ ทางที่ดีคุณควรปรับปรุงเพื่อให้สินค้าของคุณเจ๋งขึ้น ตอบโจทย์ลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น

2.ขายสินค้าผิดที่ผิดทาง

การเลือกสถานที่ขายสินค้าให้ถูกต้อง เหมาะสมกับสินค้าและบริการและอยู่ตรงจุดที่กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ที่จะกลายมาเป็นลูกค้าอยู่ กรณีที่ไม่มีลูกค้าเข้ามาเลยให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าคุณตั้งร้านหรืออยู่ในบริเวณที่ไม่มีลูกค้าเลย หรือทำการตลาดผิดกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงการทำ Content ไปเผยแพร่ในที่ไม่มีกลุ่มเป้าหมายมองเห็น คนเข้าถึงได้น้อย ทำให้เสียทั้งเงินทั้งเวลา ศึกษาว่าลูกค้าอยู่ที่ไหนแล้วเข้าไปทำการตลาดจับกลุ่มเป้าหมายให้ตรงจุด

3.CONTENT ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย

การสื่อสารสำคัญมากๆ ในยุคที่ใช้ดิจิทัลเป็นสื่อกลาง การสื่อสารไม่ตรงใจกับกลุ่มเป้าหมาย ไม่ตรงความต้องการก็ทำให้ขายไม่ออกได้ กลุ่มเป้าหมายก็จะเปิดผ่านเลยไปไม่สนใจกลายเป็น Content ขยะที่ทำมาเปล่าประโยชน์ เสียเวลาในการทำ เสียงบประมาณ ถ้าหากคุณทำความเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไร สำรวจความต้องการหรือปัญหาที่พวกเขาต้องเจอ สิ่งที่กลุ่มเป้าหมายมองหา และอยากได้ Content แบบไหน แล้วทำ Content เพื่อรองรับการค้นหาต่างๆ ไปจนถึงการเตรียมการตอบคำถามที่มากกว่าการขาย เปลี่ยนทัศนะมาเป็นการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย

4.ไม่กล้าที่จะโปรโมท

คุณทำทุกอย่างแล้วติดอยู่อย่างเดียวคือการโปรโมท ซึ่งการต้องอาศัยความมั่นใจในสินค้าและบริการของร้านว่าดีพอที่จะโปรโมทออกสู่สายตาประชาชน นักการตลาดอาจจะคิดถึงความไม่สมบูรณ์ในหลายด้าน ถ้าหากคิดถึงส่วนที่ขาดจนไม่กล้าโปรโมทออกไป ก็จะไม่เจอส่วนประกอบที่จะทำให้ครบได้ ดังนั้นทางที่ดีคือต้องประกาศให้กลุ่มเป้าหมายทราบว่า เราสามารถช่วยแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้

5.ซื่อสัตย์ต่อตนเองและลูกค้า

สิ่งจำเป็นที่มองข้ามไม่ได้ แม้ว่าโลกนี้จะพัฒนาหรือหมุนไปขนาดไหนก็ตาม แต่ความรู้สึก ความนึกคิดก็ยังอยู่ที่คนไม่ใช่คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีใดๆ การหาช่องโหว่ของอาชีพตัวเองเพื่อเอาเปรียบผู้บริโภคหรือค้ากำไรเกินควรเป็นสิ่งต้องห้าม ทางกฎหมายผู้ค้าสามารถหลบเลี่ยงได้แต่ในทางจริยธรรม การทำเช่นนี้ส่งผลอย่างแน่นอน ด้วยคำกล่าวที่ว่า “ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน” การซื่อสัตย์ต่อตนเองและลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่ดีที่นำมาสู่ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เพราะผู้ค้าไม่ได้ค้าแค่วันนี้พรุ่งนี้เลิกแต่ในระยะยาวก็ยังคงต้องค้าขายต่อไป ตราบที่น้ำยังต้องพึ่งเรือเสือยังต้องพึ่งป่า ในด้านของผู้ค้าก็ควรคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นหลัก ไม่งั้นร้านคงเงียบหายกลายเป็นป่าช้าที่ทำได้แค่รอคนมาตกหลุมพรางไปวันๆ

ที่มา : www.chessstudio.co.th

 3072
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจ่ายภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใดก็ตาม โดยเฉพาะในปัจจุบันอาชีพค้าขายออนไลน์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถค้าขายได้ทุกที่ทุกเวลา และยังสามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้อีกด้วย แต่จากการสำรวจของกรมสรรพากร พบว่ายังมีผู้ประกอบการบางส่วนไม่มีความเข้าใจเรื่องภาษีอากร เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการคิด และชำระภาษีออนไลน์อย่างถูกต้อง
กลยุทธ์การขายของตามฤดูกาล (Seasonal Marketing Strategy) หมายถึง การตลาดตามฤดูกาลจริงๆ (ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูใบไม้ผลิ) และการตลาดตามเทศกาลต่างๆ ด้วยการกระตุ้นยอดขายสินค้าจากเทศกาลมาทำการตลาดเชิงรุก
เทคนิคการตลาดที่น่าสนใจเรียกว่า “คิดแบบย้อนศร” คือการลองพลิกมุมมองความคิดไปอีกด้านหนึ่ง จากซ้ายไปขวา จากผู้ผลิตไปเป็นผู้บริโภค ไม่แน่ว่าอาจทำให้หาคำตอบในสิ่งที่ต้องการได้ง่ายขึ้น และมองเห็นถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่
“เครื่องบันทึกการเก็บเงิน” เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญของผู้ประกอบการร้านค้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านขายของชำ ร้านขายเสื้อผ้า โดยเฉพาะกับธุรกิจค้าปลีก ที่เครื่องนี้กลายเป็นผู้ช่วยตั้งแต่เก็บเงิน คิดเงินตามรายการสินค้าที่ขายไป และยังช่วยประมวลรายรับ รายจ่ายในแต่ละวัน ทำให้เห็นผลประกอบการได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง ที่สำคัญ ยังสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ซึ่งสะดวกต่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์