การทำงานตามหน้าที่ที่ตนเองได้รับมอบหมายให้งานเสร็จไปวัน ๆ นั้น อาจไม่เพียงพอและตอบโจทย์ต่อการทำงานในโลกยุคปัจจุบันที่การดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา องค์กรจึงมีความคาดหวังให้คนทำงานต้องสามารถทำงานได้บนสภาพความไม่แน่นอนต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในทุกเมื่อ และเรียนรู้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต เพื่อรับมือป้องกันทุกสถานการณ์ได้เสมอ นั่นก็คือการทำงานแบบ “Proactive” ที่จะเข้ามามีบทบาทในการทำงานยุคใหม่ให้ work ขึ้นกว่าที่เคย
การทำงานแบบ Proactive นั้นเป็นลักษณะการทำงานของคนที่ชอบคิดวางแผนไว้ล่วงหน้าเสมอ รวมถึงสามารถคาดการณ์ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ต้องรอให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นจริงเสียก่อน ตรงกันข้ามกับการทำงานแบบ Reactive ที่เป็นการทำงานเชิงรับ หรือการทำงานแบบเช้าชามเย็นชามที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นเอง การทำงานเชิงรุกเน้นความมุ่งมั่นในเป้าหมาย เชื่อมั่นในศักยภาพของคนทำงาน รวมไปถึงการยอมรับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขโดยไม่ย่อท้อ จนกว่างานนั้นจะประสบผลสำเร็จ คนทำงานแบบ Proactive มักเลือกที่จะตอบสนองสิ่งเร้าเชิงลบด้วยการทำงานเชิงบวก ไม่ยอมแพ้กับอุปสรรคปัญหา และหวังผลความเป็นเลิศในงานของตนเอง เรียกง่าย ๆ ว่าคนคุณภาพแบบนี้แหละที่องค์กรและสังคมต้องการอย่างแท้จริง
คนทำงานยุคใหม่ต้องสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วยตนเอง เริ่มจากการรักในสิ่งที่ทำ ใส่ใจและให้ใจกับการทำงานอย่างเต็มร้อย ไม่รอให้หัวหน้าหรือบุคคลอื่นมาคอยกำกับหรือสั่งการในสิ่งที่เราสมควรทำสมควรคิดได้ด้วยตัวเอง ต้องเข้าใจจุดประสงค์ที่แท้จริงของงาน และต้อง Proactive กับงานของตนเองอยู่เสมอ เพื่อสร้างความแตกต่างและความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพของเรา ยกระดับตนเองให้กลายเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าขององค์กร เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน
การปรับเปลี่ยนนิสัยและวิธีการทำงานให้เป็นคนทำงานเชิงรุก แบบ Proactive ได้ง่าย ๆ ดังนี้
ที่มา : th.jobsdb.com