การเสียภาษีนั้นถือเป็นหน้าที่ขั้นพื้นฐานที่สมาชิกในสังคมต้องปฏิบัติตาม เพราะมีระบุไว้ในกฎหมาย และตามกฏหมายแล้ว ได้ระบุว่าให้บุคคลทุกคนที่มีรายได้จากงานประจำเพียงทางเดียว เว้นแต่ผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี ถ้าบุคคลนั้นมีเงินได้เฉพาะเงินเดือน เกิน 319,000 บาทขึ้นไป ต่อปี และแม้ว่ารายได้จะไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีก็ต้องยื่นแบบเหมือนกัน (แต่ไม่ต้องจ่ายภาษี)
วิธีการคิดภาษีที่ต้องจ่าย
สำหรับการคำนวณภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นมีหลักง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากดังนี้
สมมติว่าคุณมีเงินเดือน เดือนละ 26,583.33 บาท x 12 เดือน (ต้องคิดทั้งปี) = 319,000 บาท
สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 100,000 บาท* + หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท + หักเงินสะสมกองทุนประกันสังคมรวมทั้งปี 9,000 บาท
* ค่าใช้จ่ายได้ 50% (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท)เงินได้ 319,000 บาท – ค่าใช้จ่าย 100,000 บาท – ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท – เงินกองทุนประกันสังคม 9,000 บาท = เงินได้สุทธิ 150,000 บาท
จากนั้นเราก็ไปดูว่ารายได้สุทธิของเราอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคำนวนภาษี
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ปรับปรุงใหม่) | |
เงินได้สุทธิ | อัตราภาษี (ร้อยละ) |
0-150,000 | ได้รับการยกเว้น |
150,001-300,000 | ร้อยละ 5 |
300,001-500,000 | ร้อยละ 10 |
500,001-750,000 | ร้อยละ 15 |
750,001-1,000,000 | ร้อยละ 20 |
1,000,001-2,000,000 | ร้อยละ 25 |
2,000,001-5,000,000 | ร้อยละ 30 |
5,000,001 ขึ้นไป | ร้อยละ 35 |
ดังนั้น บุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท (หรือมีเงินเดือน เดือนละไม่เกิน 26,583.33 บาท) ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
จะยื่นภาษีอย่างไรดี มีอะไรยุ่งยากหรือเปล่า
การยื่นแบบการเสียภาษีนั้นจะต้องยื่นแบบการเสียภาษีตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคมของทุกปี ซึ่งการยื่นเสียภาษีนั้นทำได้ง่าย ๆ สะดวก ไม่ยุ่งยาก คือ
เอกสารประกอบการยื่นแบบ
สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวให้ยื่นแบบภ.ง.ด. 91 ค่ะ โดยมีเอกสารประกอบการยื่นดังนี้