ยุคนี้การใช้อินเทอร์เน็ตนั้นแพร่หลายไปทุกที่ Publisher ทั้งหลายจึงสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง
ผ่านทางเว็บไซต์ และ Social Media เช่น Facebook, Instagram และ Youtube
การทำ Affiliate Marketing จึงเกิดขึ้น โดยเจ้าของสินค้าและบริการ ใช้ Publisher เช่น Website Owner,
Blogger, Micro Influencer, Youtuber หรือ Facebook Page ต่าง ๆ
มาช่วยโฆษณาโปรโมทสินค้าให้ โดยที่ Publisher จะเป็นผู้แนะนำบอกต่อให้ผู้บริโภค
กลับไปซื้อสินค้ากับเจ้าของสินค้าโดยตรง แล้วเมื่อขายสินค้านั้นได้ Publisher
ก็จะได้ค่าคอมมิชชั่นจากเจ้าของสินค้า
Affiliate Marketing นั้น Win-Win อย่างไร
กล่าวได้ว่าการตลาดแบบ Affiliate Marketing จึงเป็นการตลาดแบบ Win-Win คือมีประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทางเจ้าของสินค้า
มีคนช่วยโปรโมทสินค้าให้ ถือเป็นการช่วยเพิ่มช่องทางในการขายสินค้า และจะต้องเสียค่าคอมมิชชั่นให้ Publisher
ต่อเมื่อขายสินค้าได้เท่านั้น
และทาง Publisher ก็จะได้เปอร์เซ็นต์ค่าคอมมิชชั่นตามที่ผู้ขายเป็นคนกำหนด โดยที่ไม่ต้องเก็บหรือสต็อกสินค้า
ทำให้ไม่มีความเสี่ยง จึงถือเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ จากที่ปกติทำเว็บไซต์หรือเพจของตัวเองอยู่แล้ว
ตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้ Affiliate Marketing
ผู้เล่นรายใหญ่ของตลาด E-Commerce อย่าง Amazon ก็ได้มีการใช้ Affiliate Marketing โดยการให้ผู้ที่มีเว็บไซต์
เข้ามามีส่วนช่วยในการโปรโมทสินค้าให้ผู้บริโภค แต่ในท้ายที่สุดต้องกลับมาซื้อสินค้าที่เว็บไซต์ Amazon
เมื่อผู้บริโภคเข้าไปค้นหาสินค้าที่ต้องการบน Search Engine แล้วไปเจอเว็บไซต์ของผู้ที่เป็น Publisher เมื่อคลิกเข้าไปผู้บริโภค
ก็จะพบรีวิวที่เขียนเกี่ยวกับข้อมูลสินค้าและการใช้งาน แต่เมื่อผู้บริโภคต้องการซื้อสินค้า การกด Checkout จะไม่ได้เป็นการซื้อสินค้า
บนเว็บไซต์ของ Publisher
แต่จะลิงก์ไปที่หน้าสินค้านั้นบน Amazon อีกที แล้วค่อยไป Complete Purchase บนเว็บไซต์ Amazon เมื่อขายสินค้าได้เรียบร้อย
Publisher ก็จะได้ค่าคอมมิชชั่น ซึ่งปัจจุบันในไทยมี Lazada อีกเจ้าหนึ่งที่ทำ Affiliate Marketing
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือข้อมูลเบื้องต้นของ Affiliate Marketing จะเห็นว่าการทำ Affiliate Marketing นั้น
มีประโยชน์กับทั้งเจ้าของสินค้า และ Publisher หากศึกษาอย่างถ่องแท้และใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างถูกต้องกับธุรกิจ
ก็จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้ในอนาคต