ในการเริ่มต้นทำธุรกิจมีหลายสิ่งที่ทุกคนต้องทำการวางแผนก่อนลงมือทำ ไม่เว้นแม้แต่การวางแผนโครงสร้างทางการเงินภายในกิจการ โดยโครงสร้างที่ต้องการนำมาวางแผนก็เป็นส่วนของทุนของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยเงินทุนจดทะเบียน และเงินกู้ ที่นับว่าเป็นผลตอบแทนจากกิจการ
ในกรณีทุนมาจากการจดทะเบียน หรือจากเจ้าของการจ่ายค่าตอบแทนจะต้องจ่ายในรูปแบบเงินปันผล ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ และในกรณีที่ทุนมาจากเงินกู้ จะต้องเป็นการจ่ายดอกเบี้ย ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ดังนั้นถ้าคุณกำลังเริ่มต้นทำธุรกิจ และมีเงินลงทุนอยู่จำนวนหนึ่งแทนที่คุณจะนำมาเงินทั้งหมดเป็นทุนจดทะเบียน คุณสามารถแบ่งบางส่วนมาให้ธุรกิจของคุณกู้ยืมก็ได้ เพราะแทนที่คุณจะนำเงินทั้งหมดออกจากบริษัทในรูปแบบเงินปันผลที่ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ มาให้กิจการกู้ยืมที่จะได้รับดอกเบี้ยแทนนั้นเป็นผลดีกว่า
ซึ่งกิจการสามารถบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ทำให้ภาษีที่กิจการต้องเสียลดลง หากกิจการใดเปลี่ยนเงินภายในกิจการที่จะจ่ายในรูปของเงินปันผลเป็นการจ่ายดอกเบี้ยแทน ทุกๆเงิน 100 บาท คุณจะสามารถประหยัดภาษีได้ประมาณ 15-20 บาทเลยทีเดียว การปรับโครงสร้างนี่สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เริ่มต้นทำกิจการ และผู้ที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วเพียงให้กิจการกู้เงินของคุณ
ตามกฎหมาย ตามมาตรา 47 ทวิ ผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผลจะได้รับเครดิตภาษีเงินปันผล เท่ากับส่วนของภาษีที่กิจการได้จ่ายไป สรุปก็คือ ผู้รับเงินปันผลจะได้รับภาษีที่กิจการเสียให้สรรพากรไปคืนกลับมา เนื่องจากคุณจะต้องนำรายได้เงินปันผลนี้ไปยื่นภาษีบุคคลธรรมดาอีกครั้ง เพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนเนื่องจากเสียภาษีรอบแรกที่นิติบุคคล แล้วมาเสียอีกครั้ง 2 ที่บุคคลธรรมดาอีก ในกรณีที่ทำธุรกิจคนเดียว หรือเป็นธุรกิจในครอบครัวการวางโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยให้หลายๆ คนมารับรายได้เงินปันผล จะทำให้คุณสามารถขอภาษีของบริษัทที่เสียไปคืนมาได้ โดยที่ภาระภาษีบุคคลธรรมดาของแต่ละคนก็จะไม่สูงนัก
สำหรับกิจการใดที่ประกอบกิจการในลักษณะจ้างรับเหมา โดยกิจการจะมีหน้าที่ในการจัดหาวัสดุ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์มาทำงานเองทั้งหมด คุณสามารถประหยัดภาษีได้ง่ายๆ ด้วยการเปลี่ยนวิธีการรับรู้รายได้เพื่อลดภาระภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายยกตัวอย่างเช่น
กิจการของคุณรับเหมาในราคา 10,000 บาท โดยปกติจะต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย 300 บาท ซึ่งเงินที่คุณจะได้สุทธิในการรับจ้างก็คือ 9,700 บาท และเงิน 300 บาทนี้คุณก็อาจจะไม่อยากทำให้ยุ่งยากด้วยการไปขอคืนจากสรรพากร หรือให้ลูกค้าของคุณมารับผิดชอบในส่วนนี้ ดังนั้นหากคุณต้องการประหยัดภาษีคุณก็สามารถรับจ้างทำของในราคาที่ไม่รวมกับค่าอุปกรณ์ได้ เช่นต้นทุนในการทำงานของคุณอยู่ที่ 4,000 บาท บวกกำไรไปอีก 2,000 บาท คุณก็จะได้รับเงิน 5,820 บาท หลังหักภาษีไป 180 บาท ส่วนค่าอุปกรณ์ก็ให้เป็นหน้าที่ของคนจ้างงานในการจัดซื้อแทน
ในการทำเอกสารบางครั้งหลักฐานการรับชำระเงิน หรือใบเสร็จที่ถูกจัดเก็บอาจไม่ไว้สมบูรณ์ หลายกิจการก็มักจะนำค่าใช้จ่ายพวกนี้ไปเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคุณก็สามารถทำเอกสารส่วนนี้ให้สมบูรณ์ได้โดยการ
– ทำใบสำคัญจ่าย และให้ผู้รับเงินเซ็น พร้อมสำเนาบัตรประชาชน
– จ่ายเงินผ่านบัญชีธนาคาร (ถือว่าสามารถระบุผู้รับเงินได้แล้ว)
– จ่ายด้วยเช็คขีดคร่อมผู้รับเงินไว้ (ถือว่าสามารถระบุผู้รับเงินได้แล้ว)
หากไม่อยากออกเอกสารเพิ่มให้ยุ่งยาก ทุกครั้งที่เกิดค่าใช้จ่ายก็พยายามให้ผู้ออกเอกสารจัดทำเอกสารให้ถูกต้อง เพราะหากเอกสารไม่ถูกต้อง ต้นทุนภายในกิจการก็จะเพิ่มมากขึ้น 15-20% ซึ่งทำให้คุณต้องเสียภาษีเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง
หลายกิจการที่ดำเนินธุรกิจมักลืมนำการทุนภายใน 5 ปีมาหักค่าใช้จ่ายภาษีเพื่อให้กิจการประหยัดภาษี ดังนั้นหากกิจการใดดำเนินการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี ก็อย่าลืมเตือนนักบัญชีของตัวเองด้วยว่าถึงเวลาแล้วที่จะนำผลขาดทุนสะสม 5 ปีมาใช้ในการประหยัดภาษีได้