รู้หรือยัง ตั้งแต่มกราคม 2567 เป็นต้นไป ยกเลิกการยื่นแบบกระดาษสำหรับ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก แล้วนะ

รู้หรือยัง ตั้งแต่มกราคม 2567 เป็นต้นไป ยกเลิกการยื่นแบบกระดาษสำหรับ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก แล้วนะ

ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 438) เรื่อง กำหนดแบบแสดงรายการเกี่ยวภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ลงวันนี้ 21 กันยายน พ.ศ. 2566 โดยให้ยื่นแบบรายการแสดงภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.1ก พิเศษ โดยให้นายจ้างดำเนินการยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ Web site https://www.rd.go.th และสื่อฝากไฟล์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น โดยเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป

รายละเอียดประกาศ อ่านเพิ่มเติม

ยกเลิกการยื่นแบบกระดาษสำหรับ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก แล้วนะ
กรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถยื่นแบบผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ยื่นแบบแสดงรายการในรูปแบบกระดาษพร้อมหนังสือถึงกรมสรรพากร ระบุถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ไม่สามารถยื่นแบบผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่สถานประกอบการของนายจ้างที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตั้งอยู่

วิธีการยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านระบบ E-Filing

จากที่ทราบข้างต้นแล้วกับการยกเลิกการยื่นแบบกระดาษสำหรับ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก และ ภ.ง.ด.1ก พิเศษ ดังนั้นวันนี้ Prosoft มีวิธีการยื่นภาษีออนไลน์ มาทบทวนให้ทุกคนได้ทราบ เพื่อเตรียมความพร้อม จะมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง ทาง Prosoft ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการยื่นภาษีมาให้แล้ว ตามไปอ่านกันได้เลยค่ะ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือ จากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเอง ตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษี ที่ต้องชำระ และเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษี ขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย

ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา?

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

  1. บุคคลธรรมดา
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  3. ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  4. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  5. วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

เอกสารที่ต้องเตรียม สำหรับยื่นภาษีออนไลน์

  1. เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากบริษัทหรือนายจ้าง ซึ่งในเอกสาร 50 ทวิจะมีรายละเอียดสำคัญ เช่น รายได้รวมในปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ หรือเงินสมทบประกันสังคมทั้งหมด มีการหักภาษีล่วงหน้าเท่าไหร่บ้าง เป็นต้น
  2. เอกสารรายการลดหย่อนที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ หรือบุตร เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปของช้อปดีมีคืน เป็นต้น

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านระบบ E-Filing

1. เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ขั้นตอนแรก ให้เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/ และเลือก “ยื่นแบบออนไลน์” หากยังไม่มีบัญชีให้กด “สมัครสมาชิก” ก่อน โดยระบบจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน (เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร) วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน ที่อยู่ ฟังก์ชัน พร้อมสร้างรหัสผ่านเพื่อใช้ในการเข้าสู่ระบบ E-filing สำหรับยื่นภาษีออนไลน์

เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร

2. เข้าสู่ระบบ E-filing ของกรมสรรพากร

โดยการกรอกชื่อผู้ใช้งาน หรือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอาการ พร้อมกรอกรหัสผ่าน และกด “ตกลง” จากนั้นยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP 6 หลัก ผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ

เข้าสู่ระบบ E-filing ของกรมสรรพากร

3. เลือกยื่นแบบภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90/91

อ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร จากนั้นกด “เข้าสู่ระบบ” และเลือก “ยื่นแบบ” ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91

ใบกำกับภาษี

4. กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี (ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว และใส่สถานะ)

ระบบจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ให้เราทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลผู้เสียภาษี ได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด และสถานที่ติดต่อ จากนั้นเลือกสถานะ และกด “ถัดไป”

กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี (ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัว และใส่สถานะ)

5. กรอกข้อมูลเงินได้ (ระบุข้อมูลตามแหล่งที่มาของรายได้)

กรอกข้อมูลรายได้จากเงินเดือน โดยให้กรอกรายได้ทั้งปีตามใบ 50 ทวิ ที่ทางบริษัทให้มา พร้อมกรอกเลขผู้จ่ายเงินได้ และหากใครมีรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือน ให้กรอกข้อมูลด้วย เช่น รายได้จากฟรีแลนซ์ รับจ้างทั่วไป และวิชาชีพอิสระ, รายได้จากทรัพย์สิน และการทำธุรกิจ, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหรือได้รับมา

เมื่อกรอกข้อมูลเงินได้เสร็จแล้ว ให้กด “ถัดไป”

กรอกข้อมูลเงินได้

6. กรอกค่าลดหย่อน

กรอกข้อมูลค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่มี เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าลดหย่อนบุตร เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน SSF-RMF และเงินบริจาค เป็นต้น

ในขั้นตอนนี้ ปกติแล้วระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนที่เรามีมาให้อัตโนมัติ แต่หากมีค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมในปี 2565 ที่ผ่านมา ก็สามารถใส่เพิ่ม หรือปรับแก้ไขได้

เมื่อกรอกข้อมูลค่าลดหย่อนเรียบร้อยแล้ว ให้กด “ถัดไป”

กรอกค่าลดหย่อน

7. ตรวจสอบข้อมูล

เมื่อกรอกข้อมูลเงินได้และค่าลดหย่อนเรียบร้อยแล้ว ให้เราทำการตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด โดยระบบจะทำการคำนวณเงินที่ต้องเสียภาษี หรือได้คืนภาษีมาให้อัตโนมัติ โดยสามารถขอคืนภาษีที่ชำระเกินได้ รวมถึงนำเงินภาษีที่ชำระเกินไปอุดหนุนพรรคการเมืองได้

ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ให้กด “ถัดไป”

ตรวจสอบข้อมูล

8. ยืนยันการยื่นแบบ

เมื่อตรวจสอบข้อมูลครบถ้วนแล้ว กด “ยืนยันการยื่นแบบ” เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านช่องทางออนไลน์ แต่ต้องอัปโหลดเอกสารค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เพื่อความรวดเร็วในการขอคืนภาษี

ยืนยันการยื่นแบบภาษี

ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านระบบ E-Filing

สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีไม่ทันเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด สามารถยื่นภาษีย้อนหลังได้ด้วยตนเอง ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา แต่จะต้องรับบทลงโทษ โดยการเสียค่าปรับ และต้องเตรียมเอกสารประกอบการยื่นแบบภาษี ดังนี้

  1. แบบฟอร์ม ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90
  2. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
  3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฯลฯ
  4. เอกสารยืนยันสิทธิค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบ ล.ย. 03)
  5. เตรียมเงิน เพื่อจ่ายภาษีส่วนที่ค้าง และค่าปรับซึ่งเป็นบทลงโทษที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้า

หากคุณกำลังมองหาโปรแกรมบัญชีที่ช่วยจัดการภาษี เราขอแนะนำ โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed ที่สามารถยื่นภาษีออนไลน์ ภงด.1,2,3,53, ภพ.30 ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว รองรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice ทั้งแบบ by Email และแบบตัวเต็ม สามารถเรียกดูรายงานภาษีซื้อ , ภาษีขายของกิจการ โดยสามารถเลือกรายงานตามงวดที่ต้องการได้ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากร และยังสามารถพิมพ์ ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 ทั้งใบปะหน้าและใบแนบ รวมทั้งหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย นอกจากนี้โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed เรายังมีฟังก์ชันอื่นๆ อีกมากมายที่ตอบโจทย์นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจ โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.prosoftwinspeed.com

โปรแกรมบัญชี Feature จัดการภาษี
ลงทะเบียน Demo
ข้อมูลอ้างอิงจาก : , finnomena.com, ttbbank.com, sanook.com

ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ ที่เกี่ยวกับงานบัญชี ได้ที่
บทความ: www.prosoftwinspeed.com
 11745
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศไทย มีการเปิดธุรกิจสุขภาพและความงาม ทั้งฟิตเนส อาหารเสริม สปา นวดหน้า นวดตัว คลีนิกรักษาสิว ดูแลผิวพรรณ รวมทั้งการทำศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจ ทั้งในรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ ซึ่งเปิดดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่มีความรู้ทางด้านสุขภาพ และการเสริมความงาม และเปิดดำเนินการโดยระบบแฟรนไชส์ ซึ่งมีประเด็นทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง จึงขอนำมากล่าวดังนี้
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
ยิ่งใครมีรายได้มากก็ย่อมต้องเสียภาษีมาก พอมานั่งคำนวณดูแล้วเป็นรายจ่ายที่มีอัตราสูงพอดูเลย แต่รัฐบาลเองก็ไม่ได้ใจร้ายขนาดนั้น มีการออกกฎหมายที่ให้สิทธิประโยชน์กับผู้มี เงินได้ทุกคนในการลดหย่อนภาษี แถมยัง สอดแทรกกลยุทธ์ให้เหล่ามนุษย์เงินเดือน ทั้งหลายได้ประหยัดภาษีไปพร้อมกับการลงทุน ระยะยาวและการวางแผนทางการเงินเพื่อ วัยเกษียณ ได้อีกด้วย
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์