พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 108 กำหนดให้นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มี
“ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน”
ความสำคัญ ของข้อบังคับในการทำงานการจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นเหมือนกำหนดสิทธิหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่พึงปฏิบัติต่อกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงาน และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดขัดแย้งซึ่งกันละกัน
ข้อบังคับที่กฎหมาย “ให้เขียน” และ “ไม่ให้เขียน” ต้องเขียนครบทุกข้อตามกฎหมายแรงงาน (มาตรา 108)1. วันทำงาน เวลาทำงานปกติ เวลาพัก
2. วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
3. หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลา การทำงานวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด
4. วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา 5. วันลาและหลักเกณฑ์การลา
6. วินัยและการลงโทษทางวินัย
7. การร้องทุกข์
8. การเลิกจ้าง และการจ่ายค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ
เรื่องที่กฎหมาย “ห้ามเขียน”*กฎหมายไม่ได้ห้ามเขียนเรื่องใด เพียงแต่ ‘อย่ากำหนดเรื่องที่ผิดกฎหมายมาเป็นข้อบังคับ’
เรื่องที่กฎหมายไม่บังคับว่าต้องมี แต่นายจ้างส่วนใหญ่นิยมใส่เพิ่มลงไปแล้วเกิดกรณีที่มีปัญหาตามมาที่สุดคือเรื่อง
“สวัสดิการ” ต่าง ๆ ที่จัดให้พนักงาน เช่น ค่าตำแหน่ง ค่าครองชีพ ค่ารถ ค่าอาหาร เครื่องแบบ โบนัส หรือค่าอื่นๆ ซึ่งเมื่อเขียนสิ่งใดลงไปแล้ว กฎหมายจะถือว่าเป็น
“สภาพการจ้าง” นายจ้างต้องทำตามนั้นทุกประการ จะยกเลิก ตัดออก ผิดไปจากที่กำหนดไม่ได้ เพราะถูกบังคับไว้ที่ กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 20
ขอบคุณที่มา : dharmniti