ขอคืนเงินค่าอากรแสตมป์ได้ในกรณีใด

ขอคืนเงินค่าอากรแสตมป์ได้ในกรณีใด


เมื่อใดที่มีการทางสัญญาทางธุรกิจต่างๆเช่น สัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน สัญญาจ้างทาของ สัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น กฎหมาย
กำหนดให้เสียค่าอากรแสตมป์โดยเป็นอากรที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการำตราสารต่างๆ ตามลักษณะที่ได้กำหนดเอาไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ท้ายประมวลกฎหมายรัษฎากร นอกจากนี้ยังมีความสำคัญเป็นอย่างมากในตราสารที่จะใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในทางคดี ซึ่งจะต้องมีการติดอากรแสตมป์ตามอัตราที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ปัจจุบันกำหนดให้มีตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์จำนวนทั้งสิ้น 28ลักษณะ ตามที่ปรากฏในช่อง “ลักษณะตราสาร”ของบัญชีอากรแสตมป์ โดยต้องปิดแสตมปบริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้น และโดยที่ตราสารเกือบทุกลักษณะจำเป็นต้องมีการกระทำซึ่งคำว่า “กระทำ” เมื่อใช้เกี่ยวกับตราสารหมายความว่า การลงลายมือชื่อตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในทางปฏิบัติ หากบุคคลได้ทำสัญญาและกรณีสัญญาใดที่ทำขึ้นนั้น เข้าลักษณะเป็นตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ได้เกิดขึ้นและได้เสียค่าอากรแสตมป์ไปแล้ว ต่อมาเป็นกรณีที่ได้เสียไว้เกินหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย ผู้ที่ได้ชำระอากรจะมีสิทธิขอคืนค่าอากรได้หรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไรบ้างตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนดพิจารณาได้ดังนี้

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

1. ผู้ใดได้เสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไปไม่น้อยกว่า 2 บาท
2. ให้ยื่นคำร้องภายในเวลา 6 เดือนนับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร
3. คำร้องต้องประกอบด้วยคำชี้แจงหรือเอกสาร ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรืออธิบดีเห็นสมควรให้ยื่นการสนับสนุนคำร้อง
4. อธิบดีเห็นว่าเกินไปจริงผลตามกฎหมาย คืนค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรที่เกินไปนั้นแก่ผู้เสียอากรได้




อบคุณบทความจาก :: สรรพากรสาส์น



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!
 3129
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เป็นภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์