10 ขั้นตอนงานบัญชี เพื่อการปิดงบที่สมบูรณ์แบบ

10 ขั้นตอนงานบัญชี เพื่อการปิดงบที่สมบูรณ์แบบ



กระบวนการบัญชีหรือวงจรบัญชี คือขั้นตอนในการรวบรวม การประมวลผลและการสื่อสารข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงการบันทึก การจำแนก การสรุปและการตีความข้อมูลทางการเงิน

ข้อมูลทางการเงินจะถูกนำเสนอในรายงานที่เรียกว่างบการเงิน แต่ก่อนที่จะสามารถเตรียมได้ข้อมูลทางการเงินได้นั้น นักบัญชีจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมต่างๆของธุรกิจ นำมาบันทึกและเรียบเรียงข้อมูลเพื่อที่จะนำเสนอในรายงานทางการเงิน

ทั้งนี้ทั้งนั้น วงจรบัญชีไม่ได้จบเพียงแค่การนำเสนองบการเงิน แต่ยังมีอีกหลายขั้นตอนที่ต้องทำเพื่อเตรียมตัวสำหรับรอบบัญชีถัดไป กระบวนการบัญชีหรือวงจรบัญชีนั้นจะมีขั้นตอนอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1.การระบุและวิเคราะห์ธุรกรรมทางธุรกิจ

กระบวนการบัญชีเริ่มต้นด้วยการระบุและวิเคราะห์ธุรกรรมและเหตุการณ์ทางธุรกิจ ธุรกรรมและเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นไม่ได้ถูกป้อนเข้าสู่ระบบบัญชี ในส่วนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับองค์กรธุรกิจเท่านั้นที่จะถูกป้อนเข้าสู่ระบบไป ตัวอย่างเช่น สินเชื่อส่วนบุคคลที่ทำโดยเจ้าของ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจะไม่ถูกนำมาบันทึก เฉพาะธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจะถูกวิเคราะห์เพื่อดูบัญชีที่ได้รับผลกระทบและจำนวนเงินที่จะต้องบันทึก

ในขั้นตอนแรกนี้ รวมถึงการจัดเตรียมเอกสารทางธุรกิจหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง เอกสารทางธุรกิจใช้สำหรับการบันทึกธุรกรรมต่างๆ

2.การบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน

สมุดรายวันคือ การทำบัญชีในรูปแบบของการจดในกระดาษหรือลงบันทึกแบบออนไลน์  ถือเป็นการลงบันทึกทุกธุรกรรมลงในระบบ ซึ่งการทำธุรกรรมทางธุรกิจนั้นมักจะใช้วิธีบันทึกผ่านระบบบัญชีคู่ ซึ่งวิธีนี้จะบันทึกข้อมูลบัญชีที่รวบรวมมาข้อมูลอย่างน้อย 2 บัญชีขึ้นไป (เดบิต และเครดิต) ซึ่งการทำให้วิธีบันทึกเข้าใจได้ง่ายนั้น รูปแบบของบันทึกจะต้องระบุสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง ได้แก่ ยอดการขาย ยอดการซื้อ ใบเสร็จจากการรับเงินสด และการจ่ายเงินสด ซึ่งกล่าวได้ว่าสมุดรายวันทั่วไปจะมีสิ่งพิเศษที่แตกต่างจากสมุดทั่วไป และนิยมใช้วิธีการบันทึกตามเหตุการณ์เรียงลำดับไล่มา ซึ่งสมุดรายวันนี้ถือเป็นสมุดข้อมูลต้นฉบับของธุรกรรมต่างๆ

3.การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท

บัญชีแยกประเภท ถือเป็นสมุดบัญชีสรุปที่รวบรวมข้อมูลบัญชีต่าง ๆ และแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางบัญชีที่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นผลลัพธ์จากธุรกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา และแสดงให้เห็นถึงยอดคงเหลือที่มีอยู่ ซึ่งการผ่านรายการทั้งหมดไปยังบัญชีแยกประเภทนั้น เราจะสามารถคาดการณ์ได้ถึงยอดคงเหลือจากแต่ละบัญชีได้ อาทิ ยอดบันทึกบัญชีเดบิต และเครดิต จะถูกโอนถ่ายไปเป็นบัญชีเงินสดในบัญชีแยกประเภท ซึ่งจะทำให้เราสามารถคำนวณการเพิ่มขึ้นและลดลงของบัญชีเงินสด รวมถึงการสรุปยอดคงเหลือของบัญชีเงินสด

4.งบทดลองก่อนการปรับปรุง

งบทดลองจะมีขึ้นเพื่อทดสอบว่าข้อมูลการเดบิต เครดิตนั้นเท่ากันหรือไม่ ซึ่งยอดรวมของบัญชีทั้งหมดจะถูกแยกออกจากบัญชีแยกประเภท และถูกนำมารวมในรายงานสรุปฉบับเดียวกัน ซึ่งหลังจากนั้นคือ ยอดเดบิตทั้งหมด และยอดเครดิตทั้งหมดจะถูกสรุปยอดบัญชี ซึ่งจะสามารถนำมาเทียบและตรวจสอบได้ โดยยอดทั้งสองอันควรจะต้องเท่ากัน

ทั้งนี้ หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อมาคือการแก้ไขรายการ เพื่อระบุข้อผิดพลาดและแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ของการทำงบทดลองนั้น ก็เพื่อที่จะหาผลลัพธ์รวมจากบัญชีต่าง ๆ และยังไม่สามารถนำมาเป็นข้อสรุปหรือลงในบันทึกได้ เพราะข้อผิดพลาดต่าง ๆ ก็อาจจะยังเกิดขึ้นได้แม้ว่าเดบิต และเครดิตจะเท่ากัน เช่น การลงบันทึกซ้ำ หรือการไม่ได้ลงบันทึกบัญชีไว้เลย

5.การปรับปรุงรายการทางบัญชี

การปรับปรุงรายการทางบัญชี ถือเป็นการเตรียมการเพื่อนำไปสู่การบันทึกบัญชีตามเกณฑ์คงค้าง โดยในท้ายสุดของการทำงานบัญชีนั้น เราอาจจะพบกรณีมีค่าใช้จ่ายปรากฏแต่ไม่ได้มีการลงบันทึกไว้ในสมุดบัญชี หรือกรณีมีรายได้เข้ามาแต่ไม่ได้ทำบันทึกไว้ ซึ่งการปรับปรุงรายการทางบัญชีจะเป็นการเพิ่มเติมยอดต่าง ๆ ในบัญชีให้เรียบร้อยก่อนที่จะสรุปงบทางการเงินสุดท้ายต่อไป โดยการปรับปรุงรายการทางบัญชีอาจจะพิจารณากรณีมีบัญชีคงค้างจากรายได้ค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย การจ่ายล่วงหน้า ค่าเสื่อมราคา และการตั้งสำรอง

6.งบทดลองหลังปรับปรุง

งบทดลองหลังการปรับปรุงอาจทำได้ภายหลังจากมีการปรับปรุงรายการต่าง ๆ และเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นก่อนสรุปงบทางการเงินสุดท้าย โดยงบทดลองหลังการปรับปรุงจะแสดงให้เห็นว่ายอดเดบิน ตรงกับยอดเครดิตหรือไม่ภายหลังการปรับปรุงงบ

7.งบการเงิน

เมื่อนักบัญชีอย่างเราได้ปรับข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลต่าง ๆ อย่างครบถ้วนแล้ว ก็จะนำไปสู่การสรุปงบการเงิน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของระบบการทำบัญชี โดยงบการเงินนั้นจะประกอบด้วย (1) งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (2) งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ (3) งบแสดงฐานะทางการเงิน (4) งบกระแสเงินสด (5) หมายเหตุประกอบงบการเงิน

8.รายการปิดบัญชี

บัญชีกำไรขาดทุนหรือบัญชีชั่วคราว ยกตัวอย่างเช่น บัญชีรายได้นั้น จะมีการปิดบัญชีเพื่อนำไปสู่การทำบัญชีในรอบใหม่ โดยบัญชีกำไรขาดทุนมักจะรวมถึงรายได้ รายจ่าย

ทั้งนี้ การปิดบัญชีจะนำไปสู่การสรุปยอดรวม และการจัดทำบัญชีเงินทุนที่เหมาะสม โดยขอให้พิจารณาว่าการปิดงบบัญชีนั้นควรทำเฉพาะในบัญชีกำไรขาดทุนเท่านั้น ซึ่งบัญชีอื่น ๆ อาทิ บัญชีที่แท้จริง หรือบัญชีถาวร ซึ่งไม่ต้องมีการปิดงบบัญชี

9.การดำเนินการหลังปิดงบบัญชีทดลอง

ในวงจรของงานบัญชีนั้น สิ่งสุดท้ายที่จะต้องดำเนินการคือการเตรียมการสำหรับการปิดบัญชีทดลอง ซึ่งจะเป็นการเปรียบเทียบเดบิต และเครดิต  โดยบัญชีกำไรขาดทุนจะสามารถปิดงบได้โดยทันที ขณะที่การเตรียมปิดงบบัญชีทดลองจะเกี่ยวข้องกับบัญชีจริงเท่านั้น

10.การกลับรายการทางบัญชี (ทางเลือกสำหรับการทำบัญชีใหม่)

การกลับรายการทางบัญชีเป็นทางเลือกอีกแบบหนึ่ง โดยเป็นวิธีการเตรียมการสำหรับในช่วงเริ่มต้นของรอบบัญชีใหม่ เพื่อให้การบันทึกบัญชีเป็นไปด้วยความราบรื่นและแม่นยำ โดยวิธีดังกล่าวจะเกี่ยวเนื่องกับรายได้การค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า และค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ซึ่งวิธีการบันทึกจะกลับกันทั้งหมดจากที่เคยบันทึกไว้ตอนสิ้นงวดที่แล้ว

 

ทั้งนี้เอง จากวิธีทั้ง 10 ข้อนี้ก็จะสามารถทำให้เห็นได้ถึงวงจรของการทำบัญชี และเป็นภาพรวมที่เกิดขึ้นได้เสมอกับนักบัญชีทุกคน


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

 14182
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์