10 ข้อน่ารู้ก่อนตัดสินใจ เปิดบริษัท เป็นของตัวเอง

10 ข้อน่ารู้ก่อนตัดสินใจ เปิดบริษัท เป็นของตัวเอง


เชื่อว่าหนึ่งในความฝันหรือเป้าหมายของคนทำงานประจำหรือคนทำงานออฟฟิศ คือการ เปิดบริษัท ของตัวเอง ยิ่งได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และความรู้มาแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง ย่อมอยากนำไปใช้กับสิ่งที่เป็นของตัวเอง ลงทุนลงแรงเอง แต่ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเปิดบริษัท มีหลายเรื่องให้ต้องพิจารณาเลย 10 ข้อน่ารู้ก่อนตัดสินใจเปิดบริษัทเป็นของตัวเอง มีอะไรบ้าง ไปหาคำตอบกัน

1.เลือกทำธุรกิจที่เป็นตัวเอง

           การจะเลือกทำอะไรสักอย่าง เราควรเริ่มทำจากความชอบ หรือเริ่มทำจากความถนัดก่อน เช่นเดียวกับการ เปิดบริษัท แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งที่ควรต้องนำมาประกอบการพิจารณายังรวมไปถึง ตลาดในช่วงเวลานั้น หากทำอะไรที่เป็นการสวนกระแสมาก ๆ เราต้องมั่นใจว่า เรามีดีพอ แต่หากทำอะไรตามกระแส ก็ต้องสร้างความแตกต่างของธุรกิจของตัวเอง เฟ้นหาจุดเด่นออกมาให้ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีความสามารถหรือทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ คุณอาจ เปิดบริษัท เพราะต้องการรับงานด้านนี้มาทำเพิ่ม เป็นการใช้ความสามารถของตัวเองในการทำงาน และยังช่วยประหยัดงบในการจ้างพนักงานด้วย

2.เลือกรูปแบบบริษัท

           การเลือกรูปแบบบริษัทที่เหมาะสม เพื่อดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับประเภทธุรกิจของเรา โดยแบ่งเป็นดังนี้

           2.1 เจ้าของคนเดียว

           คือมีคน ๆ เดียวเป็นเจ้าของธุรกิจ ลงทุนเอง และแบกความรับผิดชอบทั้งหมดของบริษัทไว้ ทางกฎหมายจะเรียกว่าเป็น “บุคคลธรรมดา” เมื่อจดทะเบียนบริษัท และต้องทำการยื่นแบบภาษี จะเป็น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” และหากบริษัทของคุณต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ. ทะเบียนพาณิชย์ ก็ต้องดำเนินการจดด้วย

           2.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ

           เมื่อมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุน จนกลายเป็นหุ้นส่วน โดยรูปแบบของการลงทุน อาจมาในรูปของสินทรัพย์ แรงงาน หรือเงินก็ได้ มีสถานะ เป็น “บุคคลธรรมดา” จดทะเบียนด้วยการเสีย “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนสามัญ ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ก็จะมีสภาพเป็นนิติบุคคล ยื่น “ภาษีเงินได้นิติบุคคล” นั่นเอง

           2.3 ห้างหุ้นส่วนจำกัด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  • “หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด” หมายถึง เครดิตภาษีเงินปันผล ส่วนกำไรของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือบริษัทที่ถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้ว
  • “หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด” หมายถึง หุ้นส่วนต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจำกัดจำนวน ไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุนไปเท่านั้น

           2.4 บริษัทจำกัด

           มีหุ้นส่วน 3 คนขึ้นไปมาร่วมลงทุน แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน แต่ “ผู้ถือหุ้น” แต่ละคนอาจมีจำนวนหุ้นไม่เท่ากันได้ ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะได้ส่วนแบ่งกำไรของบริษัท ตามสัดส่วนหุ้นที่ตนเองถืออยู่ และมีส่วนรับผิดชอบไม่เกินมูลค่าหุ้นที่ตนเองถืออยู่ ข้อดีคือ มีความน่าเชื่อถือที่สุด อัตราภาษีเงินได้ขั้นสูงสุดต่ำกว่าบุคคลธรรมดา

3.ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

           สิ่งสำคัญที่ต้องทำจากนั้นคือการจดทะเบียนบริษัท ซึ่งหลัก ๆ จะมีขั้นตอนดังนี้

           3.1 ตรวจและจองชื่อบริษัท ไปทำการตรวจและจองชื่อบริษัทที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตรวจสอบได้ทางเว็บไซต์ โดยจองได้ 3 ชื่อ แต่ต้องไม่เคยจดทะเบียนไปแล้ว

           3.2 จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ หรือ ข้อมูลสำคัญการจัดตั้งบริษัท กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 30 วัน นับจากวันที่นายทะเบียนรับรองชื่อบริษัท โดยข้อมูลในหนังสือบริคณห์สนธิ ประกอบด้วย

  • ชื่อบริษัท (ตามที่ได้จองชื่อไว้)
  • ที่ตั้งสํานักงานใหญ่ / สาขา
  • วัตถุประสงค์บริษัท
  • ทุนจดทะเบียน
  • ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยาน 2 คน
  • ข้อบังคับ (ถ้ามี)
  • จํานวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชําระแล้ว อยางน้อยร้อยละ 25% ของทุนจดทะเบียน
  • ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
  • รายชื่อหรือจํานวนกรรมการที่มีอํานาจลงชื่อแทนบริษัท (อํานาจกรรมการ)
  • ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
  • ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ และจํานวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน

           3.3 ยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัท โดยเตรียมเอกสาร ดังนี้

  • แบบจองชื่อนิติบุคคล
  • สําเนาบัตรประจําตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน
  • สําเนาหลักฐานการรับชําระค่าหุ้นที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้น
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่

           3.4 ระยะเวลาในการจดทะเบียน

  • การจองชื่อและยื่นตรวจสอบเอกสารผ่านทางออนไลน์ ใช้เวลาไม่เกิน 1 วัน
  • นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารเสร็จแล้ว สามารถยื่นจดทะเบียน ใช้เวลาอีกประมาณ 1 วัน

4.ค่าธรรมเนียม

           แน่นอนว่าจดทะเบียน เปิดบริษัท ต้องมีค่าธรรมเนียม ดังนี้

  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ 50 บาท/ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ 500 บาท และไม่เกิน 25,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท 500 บาท/ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมขั้นต่ำที่ 5,000 บาท และไม่เกิน 250,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
  • ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท

5.หน้าที่แต่ละเดือนในฐานะบริษัท

           พอเป็นรูปแบบของบริษัท ก็จะมีหน้าที่และภาระผูกพันตามมา คือ

  • จัดทำบัญชี และมีการตรวจสอบงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
  • ยื่นส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ยื่นส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ ภงด.1 เงินเดือน ค่าจ้าง สำหรับพนักงานประจำ
  • ยื่นแบบ ภงด.3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับบุคคลธรรมดา ที่ไม่ใช่พนักงานประจำ
  • ยื่นประกันสังคม บริษัทที่ขึ้นทะเบียนนายจ้าง และมีพนักงานประจำ จะต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคม ด้วยแบบ สปส.1-10 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

6.ต้องมีพนักงานไหม

           ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าของบริษัทเลยว่า มีความจำเป็นต้องมีพนักงานไหม และต้องมีจำนวนกี่คน ตำแหน่งอะไรบ้าง หากช่วงแรกงานยังไม่มาก คุณสามารถลงมือทำได้เอง อาจใช้จ้างเป็น outsource ไปก่อน เช่น พนักงานบัญชี เป็นต้น

7.มีแผนธุรกิจพร้อม

           แผนธุรกิจสำคัญมาก เป็นตัวขับเคลื่อนและกำหนดทิศทางของบริษัทคุณเลยก็ว่าได้ จะประสบความสำเร็จหรือว่าจะแป็ก ซึ่งแผนธุรกิจสามารถปรับเปลี่ยนได้ระหว่างทาง โดยต้องมีการกำหนดแผนคร่าว ๆ เช่น รายรับ รายจ่าย กำไร ต้นทุน จะดึงดูดลูกค้าได้อย่างไร

8.ดูเรื่องกฎหมายให้ดี

           หากคุณมีกำลังทรัพย์แนะนำให้จ้างทนายที่ปรึกษา และควรศึกษาและทำความเข้าใจ กฎหมายแรงงานเอาไว้ให้ดี ทำสัญญาจ้างแรงงานเมื่อมีพนักงาน กำหนดระเบียบพนักงานและ สวัสดิการพนักงานต่าง ๆ การจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย รวมไปถึงกฎหมายระเบียบบริษัท การจัดตั้งบริษัท ก็ควรมีความรู้และศึกษาไว้

9.เลือกทำเลที่ตั้ง

           สถานที่ตั้งของที่ทำงานหากเลือกได้ควรอยู่ในพื้นที่เข้าออกสะดวกง่ายต่อการติดต่องาน และจัดทำ Website และช่องทาง Social Media ต่าง ๆ เพื่อเแสดงผลงาน และแจ้งที่อยู่ในการติดต่อ ให้ธุรกิจมีความสะดวก รวดเร็ว ทั้งการหาพนักงาน ติดต่อธุรกิจ การขายสินค้าและบริการต่าง ๆ นั่นเอง

10.ตรวจสอบเงินลงทุน

           เรื่องสำคัญสำหรับการเปิดบริษัท ก็คือเงินทุน ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบของบริษัท ที่คุณจะเปิดด้วย หรือธุรกิจว่าต้องใช้เงินทุนมากน้อยแค่ไหน และต้องไม่ลืมเตรียมเงินในส่วนของการดำเนินการจัดตั้งบริษัทด้วย รวมถึงค่าเช่าสถานที่ เงินเดือนพนักงาน และเงินทุนสำรอง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!



ที่มา : LINK

 3287
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์