กฎหมายกำหนดให้ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ลาป่วยบ่อยก็เลิกจ้างได้ แต่ได้ค่าชดเชย

กฎหมายกำหนดให้ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ลาป่วยบ่อยก็เลิกจ้างได้ แต่ได้ค่าชดเชย



กฎหมายกำหนดให้ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่ลาป่วยบ่อยก็เลิกจ้างได้ แต่ได้ค่าชดเชย

ลาต้องบ่อยแค่ใหน ถึงเลิกจ้างได้ ดูคดีตัวอย่าง

๑) เป็นมะเร็งลาป่วยปีละ ๖๐ วัน
ลูกจ้างป่วยเป็นมะเร็งลำใส้ใหญ่ ลางานเกินกว่าปีละ 60 วัน ถือว่าเป็นการหย่อนสมรรถภาพในการทำงานตามระเบียบ นายจ้างเลิกจ้างได้ ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม (คำพิพากษาฎีกาที่ 3634/2525)

๒) ลาป่วยทั้่งเดือน
ลูกจ้างทำงานเป็นหัวหน้าพนักงานขาย ต้องควบคุมดูแลพนักงานขายในการจำหน่ายสินค้าเพื่อหารายได้ให้แก่นายจ้าง แต่ลูกจ้างกลับลาป่วยทั้งเดือนไม่ได้มาทำงานเลย ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ถือว่าลูกจ้างหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน การที่นายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย (คำพิพากษาฎีกาที่ 724/2549)

3) เป็นเบาหวาน ขับรถไม่ได้
ลูกจ้างป่วยเป็นโรคเบาหวานจนไม่สามารถทำงานในหน้าที่คนขับรถได้ โดยไม่อาจคาดหมายได้ว่าลูกจ้างจะหายหรือไม่ และไม่มีตำแหน่งงานอื่นที่เหมาะสมให้ทำ นายจ้างเลิกจ้างได้ ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม

4) ลาป่วยบ่อย ลาเรื่อยๆ
ลูกจ้างเข้าทำงานได้ 2 เดือน ลาป่วยทุกเดือน ๆ ละ 1 ถึง 8 วัน เรื่อยมา ถือว่าลูกจ้างเจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงานนายจ้างเลิกจ้างได้ ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม(คำพิพากษาฎีกาที่ 2600/2529

5) ลาติดกัน 34 วันและยังลาเรื่อย ๆ
ลูกจ้างเคยลาป่วย 34 วัน ต่อมายังลาป่วยบ่อย ๆ เป็นประจำทุกเดือน แสดงว่าลูกจ้างสุขภาพไม่ดี ไม่สามารถตรากตรำทำงานในหน้าที่คนขับรถได้ นายจ้างจึงเลิกจ้างได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม (คำพิพากษาฎีกาที่ 1021/2531)

6) แม้จะเสียสมรรถภาพเพราะทำงานแก่ลูกจ้าง ก็เลิกจ้างได้
ลูกจ้างทำงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้สูญเสียสมรรถภาพร่างกาย จนทำงานให้แก่นายจ้างไม่ได้ แม้การประสบอุบัติเหตุจะน่าเห็นใจเพียงใด การเลิกจ้างก็เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม (คำพิพากษาฎีกาที่ 4855/2530)

7) สุราเรื้อรัง
ลูกจ้างป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เลิกจ้างได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม (คำพิพากษาฎีกาที่ 3131/2525)
การเจ็บป่วยจึงเป็นเรื่องที่นายจ้างไมไ่ด้ "ความสามารถ" หรือ "แรงงาน" ของลูกจ้างเพื่อ "ต่างตอบแทน" กับค่าจ้าง การเลิกจ้างจึง "มีเหตุ" ที่ "สมควรและเหมาะสม"


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!

ที่มา :กฎหมายแรงงาน
 2112
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์