ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
•ค่าบริการนั้นเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ•รู้ว่าผู้ให้บริการคือใคร (สามารถกรอกข้อมูลหักภาษี ณ ที่จ่ายได้)•มีการจ่ายเงินไปจริง
*นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้*เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
กรมสรรพากรบอกว่าถ้าเราลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้ให้บริการไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย เราจะต้องควักเงินจ่ายค่าภาษีแทน
* ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เราควักจ่ายแทน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามเพราะไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ (ยกเว้นมีสัญญาตั้งแต่ต้นว่ากิจการจะเป็นผู้ออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้)
จ่ายค่าบริการลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายเลือกอะไรดีระหว่าง
1.โยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้ง2.ควักเงินออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทน
หลักคิดคือ ถ้าบริษัทมีผลประกอบการที่กำไร ปกติเมื่อบริษัทมีกำไรจะเสียภาษีในอัตรา 15-20% ของกำไรทางภาษี ดังนั้นถ้าเราโยนบิลค่าใช้จ่ายทิ้งจะส่งผลทำให้เราเสียภาษีเพิ่ม 15-20% เลยทีเดียว ในขณะที่ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่นำส่งแค่ 1-5% เท่านั้นเอง แม้จะรวมค่าปรับยื่นแบบล่าช้าก็ไม่ถึง 15% ดังนั้นไม่ควรโยนบิลทิ้ง
ขอบคุณบทความจาก : kknaccounting
สนใจสินค้าและบริการ
ร้องเรียนการให้บริการ
02-402-6117, 081-359-6920
sale@prosoft.co.th
02-096-4900 กด 2 (AUTO)
02-402-8107
support@prosoftwinspeed.com
02-096-4900 กด 3 (AUTO)
02-402-8138
support@prosofthrmi.com