ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง
ความแตกต่างของกำไรทางบัญชีกับกำไรทางภาษีอาจเกิดขึ้นจากความแตกต่างของจำนวนค่าใช้จ่ายหรือความแตกต่างของรายได้ที่รับรู้ในแต่ละงวด ในด้านค่าใช้จ่าย ในบางกรณีรายการบางรายการถือเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชี แต่ทางภาษีไม่ถือเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่ารับรองส่วนที่เกินกฎหมายกำหนด หรือบางกรณีทางบัญชีถือเป็นค่าใช้จ่ายมากกว่าหรือน้อยกว่าทางภาษี เช่น ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ส่วนในด้านรายได้บางกรณีทางบัญชีอาจถือเป็นรายได้ทั้งจำนวน แต่ในทางภาษีไม่ถือเป็นรายได้ เช่น กรณีรายได้เงินปันผล เป็นต้นจากความแตกต่างของรายได้ทางบัญชีกับทางภาษี และความแตกต่างของค่าใช้จ่ายทางบัญชีกับทางภาษี จึงส่งผลให้กำไรทางบัญชีแตกต่างจากกำไรทางภาษี ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวมีมากมายหลายประเด็น เช่น
ตัวอย่าง เช่น บริษัท YK จำกัดมียอดขาย 10 ล้านบาท และได้มีค่ารับรองเป็น 350,000 บาท
ค่ารับรองที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ภาษีอากร 10,000,000×3% = 300,000 บาท
ค่ารับรองที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี = 350,000 บาท
ผลต่าง = 50,000 บาท
ซึ่งผลต่าง 50,000 บาทจำนวนนี้ไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณภาษีอีกไม่ว่าในปีใดๆ ดังนั้น ในปีภาษีนี้ บริษัท YK จำกัดจึงมีกำไรทางบัญชี น้อยกว่ากำไรทางภาษี 50,000 บาท
ตัวอย่าง ในปี 2561 บริษัท YK จำกัดได้ประมาณหนี้สงสัยจะสูญและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายจำนวน 60,000 บาท แต่ทางเกณฑ์ภาษีอากรยังไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายและในปี 2562 กิจการก็ยังติดตามทวงถามไม่ได้และเข้าเงื่อนไขต่างๆ ที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนั้นจำนวนเงินที่จะถือเป็นค่าใช้จ่ายสรุปได้ดังนี้
ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีในปี 2561 = 60,000 บาท
ถือเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีในปี 2561 = 0 บาท
ผลต่าง = 60,000 บาท
ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ปี 2562 = 60,000 บาท
ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปี 2561 กำไรทางบัญชีในปี 2561จะน้อยกว่ากำไรทางภาษีอยู่ 60,000 บาท แต่ในปี 2562 กำไรทางภาษีจะน้อยกว่ากำไรทางบัญชีอยู่ 60,000 บาท ผลต่างของกำไรในปี 2561 ซึ่งถือเป็นผลต่างที่สามารถชดเชยในปี 2562
ตัวอย่าง ประเภทสินทรัพย์ ร้อยละ
อาคารถาวร 5
อาคารชั่วคราว 100
เครื่องจักร และอุปกรณ์ 20
บริษัท YK จำกัด ประมาณอายุการใช้งานของเครื่องจักรประเภทเครนสำหรับยกสินค้า โดยเครนมีราคาทุน 160,000 บาท และจากประสบการณ์ที่ผ่านมาบริษัททราบว่าเครนจะมีอายุการใช้งาน 8 ปี บริษัทบันทึกค่าเสื่อมราคาโดยวิธีเส้นตรง ทั้งนี้จำนวนค่าเสื่อมราคาที่กฎหมายให้หักเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องจักรคือร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุน การคำนวณค่าเสื่อมราคาของปี จะแสดงได้ดังนี้
ค่าเสื่อมราคาที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชี 160,000/8 = 20,000 บาท
ค่าเสื่อมราคาที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ภาษี 160,000*20% = 32,000 บาท
ผลต่าง = 12,000 บาท
เนื่องจากค่าเสื่อมราคาที่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีน้อยกว่าตามเกณฑ์ภาษี ดังนั้นกำไรทางบัญชีจึงมากกว่ากำไรทางภาษีอยู่ 12,000 บาท
สรุป ความแตกต่างของกำไรทางบัญชีกับกำไรทางภาษี มีดังนี้