กรมสรรพากรมีอำนาจ ยึดทรัพย์ อายัดบัญชีธนาคาร ได้หรือไม่

กรมสรรพากรมีอำนาจ ยึดทรัพย์ อายัดบัญชีธนาคาร ได้หรือไม่


ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง
กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
 
เมื่อกรมสรรพากรทําการยึดหรืออายัดทรัพย์ จะมีผลทําให้ทรัพย์นั้นไม่สามารถนํามาใช้ได้  และไม่สามารถโอนขายหรือโอนทางทะเบียนต่อไปได้จนกว่าจะชําระภาษีอากรครบถ้วน เช่น

 - กรณีกรมสรรพากรยึดที่ดินแล้ว ที่ดินนั้นก็ไม่สามารถโอนขายต่อไปได้

 - กรณีกรมสรรพากรอายัดบัญชีเงินฝากของธนาคารไว้แล้ว ทําให้บัญชีเลขที่นั้นไม่สามารถเบิกถอนนําไปใช้ได้อีก

หากผู้ค้างภาษีอากรถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตามก็ยังไม่หลุดพ้นหนี้ภาษีอากรที่จะต้องเสียให้แก่กรมสรรพากร ทายาทที่รับมรดกก็จะต้องนํามรดกที่ได้รับมาเสียภาษีอากรให้ครบถ้วนด้วย

ไม่ชำระภาษีอากรมีผลเสียมากกว่าที่คิดนะจ๊ะ

ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้สําหรับจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์และอีกทั้งมีมาตรการบังคับให้ชําระภาษีได้ในตัวเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนพิเศษก่อนจะดําเนินการฟ้องคดีต่อศาล

ความเสียหายจากการไม่เสียภาษีอากรให้แก่กรมสรรพากรนั้น แยกพิจารณาเป็น 3 กรณี

 1. ก่อนถูกกรมสรรพากรฟ้องต่อศาล

เมื่อมีภาษีอากรที่จะต้องเสียให้แก่กรมสรรพากรแล้ว แต่ไม่ยอมเสีย ต่อมาเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรตรวจพบและแจ้งการประเมินให้ทราบแล้ว นอกจากจะต้องเสียดอกเบี้ยให้กับกรมสรรพากรในอัตราสูงร้อยละ 1.5 ต่อเดือนและอาจโดนเบี้ยปรับอีกด้วย โปรดระวังตัวไว้เลยว่า กรมสรรพากรมีอํานาจพิเศษที่จะทําการเร่งรัดตรวจสอบทรัพย์สินต่าง ๆ ทุกชนิดได้ทันที  เพื่อให้ได้ภาษีอากร  โดยยังไม่ต้องนําหนี้ภาษีอากรที่ค้างนั้นฟ้องต่อศาลก็ได้

กรมสรรพากรก็ยังสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลย  โดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี  และหากในระหว่างนี้ทําการยักย้ายทรัพย์สินก็อาจจะมีความผิดอาญาเพิ่มขึ้นไปอีกฐานมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอาจติดคุกได้

เมื่อกรมสรรพากรทําการยึดหรืออายัดทรัพย์ จะมีผลทําให้ทรัพย์นั้นไม่สามารถนํามาใช้ได้  และไม่สามารถโอนขายหรือโอนทางทะเบียนต่อไปได้จนกว่าจะชําระภาษีอากรครบถ้วน เช่น

  • กรณีกรมสรรพากรยึดที่ดินแล้ว ที่ดินนั้นก็ไม่สามารถโอนขายต่อไปได้
  • กรณีกรมสรรพากรอายัดเงินฝากของธนาคารไว้แล้ว ทําให้บัญชีเลขที่นั้นไม่สามารถเบิกถอนนําไปใช้ได้อีก

2. กรมสรรพากรนําคดีมาฟ้องต่อศาล

เป็นกรณีที่ผู้ค้างภาษีอากรยังดื้อดึงที่ไม่ยอมชําระหนี้ภาษีอากรค้างต่อกรมสรรพากร กรมสรรพากรก็ชอบที่จะดําเนินคดีทางศาลทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อไปได้ เช่น

 - ฟ้องที่ศาลภาษีอากรกลาง

  • เป็นกรณีกรมสรรพากรเลือกฟ้องเพราะไม่สามารถเร่งรัดเรียกหนี้ภาษีอากรค้างได้แล้ว
  • ศาลนี้มีที่เดียวคือที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ต่างจังหวัดไม่มีทําให้ลูกหนี้ที่ค้างภาษีอากรอยู่ที่ต่างจังหวัดต้องเดินทางเข้ามาสู้คดีในกรุงเทพมหานคร ทําให้เกิดความเสียหายคือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีกนอกจากจะเสียค่าจ้างทนายความแล้ว

 - ฟ้องที่ศาลล้มละลายกลาง

  • เป็นกรณีหนี้เข้าหลักเกณฑ์ฟ้องได้ทําให้ลูกหนี้อาจเสียสิทธิและเสรีภาพเพิ่มขึ้น
  • ศาลนี้มีที่เดียวคือที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ต่างจังหวัดไม่มีทําให้ลูกหนี้ที่ค้างภาษีอากรอยู่ที่ต่างจังหวัดต้องเดินทางเข้ามาสู้คดีในกรุงเทพมหานคร ทําให้เกิดความเสียหายคือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีกนอกจากจะเสียค่าจ้างทนายความแล้ว
  • หากต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แม้จะยังไม่พิพากษาให้ล้มละลายก็ตาม ก็มีผลเสียต่อสิทธิและเสรีภาพของลูกหนี้คือไม่สามารถออกนอกราชอาณาจักรได้ตามปกติจะต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อน

 - ฟ้องที่ศาลเดียวกับลูกหนี้ถูกฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์ที่ขายทอดตลาด

  • กรมสรรพากรสามารถที่จะเข้าไปของเฉลี่ยหนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นศาลแพ่ง ศาลแพ่งพระนครเหนือ ศาลแพ่งธน ศาลจังหวัด ศาลแรงงานกลาง ก็ได้

 - ฟ้องที่ศาลอาญา

  • เป็นกรณีที่กระทําความผิดทางอาญาฐานปลอมใบกํากับภาษีเช็คเด้ง หรือมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร

3. หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว

เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคําพิพากษาให้กรมสรรพากรชนะคดีแล้ว กรมสรรพากรก็สามารถดําเนินการบังคับคดีได้ตามกฎหมายได้อีกเป็นระยะเวลา 10 ปี และหากในระหว่างนั้นยังไม่ได้รับชําระภาษีอากรครบถ้วนและยังเข้าหลักเกณฑ์ที่จะฟ้องล้มละลายได้กรมสรรพากรก็ยังสามารถนําหนี้ภาษีอากรนั้นมาฟ้องยังศาลล้มละลายกลางได้อีกครั้งหนึ่ง หากผู้ค้างภาษีอากรถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตามก็ยังไม่หลุดพ้นหนี้ภาษีอากรที่จะต้องเสียให้แก่กรมสรรพากร ทายาทที่รับมรดกก็จะต้องนํามรดกที่ได้รับมาเสียภาษีอากรให้ครบถ้วนด้วย ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถที่จะหลบหนีจากการไม่เสียภาษีอากรให้แก่กรมสรรพากรไปได้  จึงขอให้ทุกท่าน เสียภาษีอากรให้ครบถ้วนเสียแต่เนิ่นๆ 



ที่มา : Link

 19724
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบ ภ.พ.30 คือ แบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
กรมสรรพากรประกาศ โดยให้นายจ้างยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.1ก พิเศษ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น โดยเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบกับการจ่ายเงินได้เดือนภาษีมกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศไทย มีการเปิดธุรกิจสุขภาพและความงาม ทั้งฟิตเนส อาหารเสริม สปา นวดหน้า นวดตัว คลีนิกรักษาสิว ดูแลผิวพรรณ รวมทั้งการทำศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพและเพิ่มความมั่นใจ ทั้งในรูปร่าง หน้าตา ผิวพรรณ ซึ่งเปิดดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่มีความรู้ทางด้านสุขภาพ และการเสริมความงาม และเปิดดำเนินการโดยระบบแฟรนไชส์ ซึ่งมีประเด็นทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง จึงขอนำมากล่าวดังนี้
การพาพนักงานไปเที่ยวต่างจังหวัดทางกรมสรรพากรถือว่าเป็นผลประโยชน์ส่วนเพิ่มจากหน้าที่การงานของพนักงานดังนั้นจะถือเป็นเงินได้ของพนักงานเพื่อนำไปรวมในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลธรรมดาไปเที่ยวพักผ่อนประจำปีต้องเสียงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่ม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์