4 เหตุผลที่ HR ต้องรู้เกี่ยวกับ Employee Experience

4 เหตุผลที่ HR ต้องรู้เกี่ยวกับ Employee Experience


ถ้าทำงานในวงการ HR คงต้องคุ้นหูกับคำว่า “Employee Engagement” หรือการมีส่วนร่วมของพนักงานมาบ้างไม่มากก็น้อย ที่ผ่านมาหลายองค์กรต่างๆ ก็พยายามจะสร้างการมีส่วนร่วม โดยงัดทั้งสวัสดิการใหม่ ๆ 

และสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แตกต่างมีเอกลักษณ์ และยังหากิจกรรมมากมายเพื่อจะดึงดูดคนเก่ง แต่บางทีถึงจะทำอะไรมากมาย แต่ “คนเก่ง ๆ” ก็ยังเลือก หางาน ใหม่อยู่ดี จึงได้เกิดเทรนด์ใหม่ นั่นคือ “Employee Experience” หรือประสบการณ์ของพนักงาน ซึ่งเป็นระบบ Ecosystem ของการบริหารคน ซึ่งรวมเอาทั้งการมีส่วนร่วม (Engagement) วัฒนธรรม (Culture) และการจัดการประสิทธิภาพการทำงาน (Performance Management) มาไว้ด้วยกัน ดังนั้น จากบทความของ WorkVenture จะแอบบอก 4 เหตุผลว่าทำไมจึงต้องทราบ Employee Experience

1. คน millennials ไม่ชอบอะไรช้า

ถึงแม้ “Employee Engagement” จะทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และสร้างความรู้สึกให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กรนั้นนาน ๆ แล้ว แต่การเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั้นสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต่อองค์กร ก็มีผลให้บางองค์กรปรับตัวไม่ทัน และไม่สามารถพาทั้งองค์กรปรับตัวตามไปด้วย ทำให้องค์กร  นั้น ๆ ต้องเสียคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถให้อยู่กับองค์กร เพราะสำหรับคนยุค millennials และคน Gen Y ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ความทันสมัย ก็คงไม่ทนกับความไม่ทันสมัยขององค์กร ดังนั้นถ้าอยากดึงดูดคนรุ่นใหม่ไฟแรง แทนที่จะเรียกร้องให้พวกเขาหันมามี Engagement หันมาสร้างประสบการณ์ที่ดีให้พวกเขารู้สึกแทนจะดีกว่า

2. พนักงานมองตัวเองเป็นลูกค้า

“ไม่ใช่ก็ไป”  “จะทนทำไม”  “ไม่ง้อบริษัทหรอก” การเป็นประโยคยอดฮิตสำหรับสังคมสมัยใหม่ เมื่อการลาออกก็กลายเป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้น HR เลยต้องปรับตัว ทำความเข้าใจพนักงานในองค์กรใหม่ด้วย เมื่อก่อน HR อาจจะคิดแต่ว่าทำยังไงจะให้คนของเราเก่งก็ให้ทั้งคอร์สเรียนเสริม สร้างทักษะ แต่เคยถามพนักงานมั้ยว่า “พร้อมเรียนหรือเปล่า ?” นี่ก็เป็นอีกเหตุผลนึงที่ทำให้ Employee Experience สำคัญ คือก่อนจะทำอะไรให้ดูด้วยว่าสิ่งที่จะส่งมอบ มันสร้าง “ความประทับใจ” ให้พนักงานคนนั้นยังไง

ถ้า HR พอจะคุ้นเคยกับ Customer Journey ของการตลาด Employee Journey ก็เหมือนกันเลย คือเราต้องทำให้พนักงานรู้สึกราวกับเป็นลูกค้า โดย HR อาจจะมีช่องทางสำหรับให้พนักงานได้พูดคุย วิจารณ์องค์กรเหมือนสินค้า เพื่อจะได้มอบหมายงานให้ดี เหมือนสินค้าที่ส่งมอบให้ลูกค้า

3. พนักงานจะไม่ทนกับคนแย่ ๆ แม้เพียงคนเดียว

ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร อย่าลืมว่าไม่ใช่ทุกคนในองค์กรจะทำได้อย่างที่ต้องทำการทั้งหมด ทุกคนมาจากหลายที่ พอมาอยู่ร่วมกันก็ต้องมีส่วนที่ปรับตัวได้ และปรับตัวไม่ได้ ดังนั้นแม้ว่าองค์กรจะประกาศว่าเรามีวัฒนธรรมองค์กร อย่างนั้น อย่างนี้ แต่ถ้าพนักงานไม่ได้รู้สึกอย่างนั้นจริง ๆ หรือมีคนไม่ปฏิบัติตามวัฒนธรรมที่องค์กรอยากจะสร้าง ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เช่น องค์กรอาจจะสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ปรับบรรยากาศให้สดชื่นขึ้น เช่น เพิ่มต้นไม้ให้ดูสบายตา แต่ถ้าหัวหน้าขี้เกียจ เอาเปรียบลูกน้องหรือเจ้าอารมณ์ไร้เหตุผล ถึงจะแค่ทีมเดียว แต่ทีมนั้นก็จะพังไปเลย ทีมพัง องค์กรก็ไม่ไหวนะ

4. มีส่วนร่วมแล้วแต่ได้รับประสบการณ์แย่ ก็ Say Goodbye

เคยไหม ตั้งใจทำงาน แต่ไม่มีใครสนใจ ? พนักงานมีส่วนร่วมได้จากการทำงาน การที่เขาคอยช่วยเหลือคนในทีม หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่บริษัทจัดขึ้นมา แต่สุดท้ายพนักงานเก่ง ๆ เหล่านั้นก็ยังลาออกจากงาน ซึ่งอาจจะเพราะพนักงานบางคนอาจจะมีส่วนร่วมมากเกินไป แต่ไม่ได้รับการสนองจากองค์กรก็อาจจะทำให้พวกเขาตัดสินลาออกไปหาที่ทำงานใหม่อยู่ดี

การทำให้พนักงานมีประสบการณ์ที่ดีไม่ได้มากจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมทีมเพียงอย่างเดียว หาก HR สรมารถสร้างประสบการณ์ดีให้พนักงานประทับใจอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวชมเป็นประจำ เอาใจใส่ทั้งเรื่องงาน และเรื่องที่พนักงานไม่สบายใจ การแนะนำถึงโอกาสในการทำงานและคอยเป็นเพื่อนในที่ทำงานให้พนักงานก็เป็นการสร้างประสบการณ์ดี ๆ ให้พนักงานได้ ก็สามารถช่วยรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้เช่นกัน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!



ที่มา : Link
 656
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์