การควบโอนกิจการ การควบรวมกิจการ (Merger) หมายถึง กรณีที่นิติบุคคลตั้งแต่สองบริษัทขึ้นไป มีการโอนกิจการหรือทรัพย์สินหรือ หุ้นทั้งหมดให้แก่กันไม่ว่าในระดับผู้ถือหุ้นหรือในระดับบริษัท
รูปแบบที่ 1
การได้มาซึ่งหุ้น (Share Acquisition)
การควบรวมกิจการโดยวิธีได้มาซึ่งหุ้น อาจมีได้ทั้งกรณีชำระค่าหุ้นด้วยเงินสด (Payment in cash) และการชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่น (Payment in kind) ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายอนุญาต เช่น การชำระด้วยหุ้นหรือการแลกหุ้น (Share swap) การเข้าชำระหนี้แทนผู้โอน หรือการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง เป็นต้น
รูปแบบที่ 2
การได้มาซึ่งสินทรัพย์หรือธุรกิจของบริษัท (Assets Acquisition)
หมายถึงกรณีที่บริษัทหนึ่งตกลงซื้อสินทรัพย์ทั้งหมด หรือธุรกิจของอีกบริษัทหนึ่งทำให้บริษัทผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ทั้งหมดของผู้โอน เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจต่อไป จำแนกเป็น 2 กรณี
➡️ ผู้โอนอาจจดทะเบียนเลิกกิจการหรืออาจประกอบกิจการอย่างอื่นใหม่ก็ได้
➡️ ผู้โอนอาจเป็นผู้ถือหุ้นของผู้รับโอน หรือมีผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ก็ได้
รูปแบบที่ 3
1) การโอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer / EBT)
2) การโอนกิจการบางส่วน (Partial Business Transfer / PBT)
➡️ การโอนกิจการทั้งหมด คือ การที่บริษัท B โอนกิจการทั้งหมดให้แก่ บริษัท A โดย บริษัท B จะต้องจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ แต่บริษัท A ยังคงประกอบกิจการต่อไป
➡️ การโอนกิจการบางส่วน คือ การที่บริษัท B โอนกิจการบางส่วนให้แก่บริษัท A หรือบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นใหม่ โดยการโอนกิจการบางส่วนนั้น จะต้องเป็นการ โอนหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ซึ่งได้แก่ ทรัพย์สิน,พนักงาน,หนี้สิน
รูปแบบที่ 4
การควบบริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (Amalgamation)
➡️ การควบกิจการตาม ปพพ. (Amalgamation) เป็นการรวมบริษัทเดิม ตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปเข้าเป็นบริษัทที่จดทะเบียนขึ้นใหม่จะมีบริษัทใหม่เกิดขึ้นและบริษัทเดิมเลิกกิจการไป
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!
ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com