เทคนิคกำหนด KPI แบบทีมเวิร์ค งานดี งานเดินไม่เกินตัว

เทคนิคกำหนด KPI แบบทีมเวิร์ค งานดี งานเดินไม่เกินตัว


สำหรับหัวหน้างานการตั้ง KPI ให้ลงตัวกับคนในทีมเป็นเรื่องสำคัญ การรู้เทคนิคกำหนด KPI หรือ Key Performance Indicator แบบทีมเวิร์ค ให้งานดี งานเดิน ไม่เกินตัว จะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพ ไม่หนักหนาเกินรับไหวและไม่น้อยเกินไปจนขาดความท้าทาย

ทุก ๆ ปลายปี หรืออาจจะเป็นช่วงต้นปี ของแต่ละบริษัทจะเป็นช่วงเวลาของการประเมินผลการทำงานของพนักงาน หรือการวัด Key Performance Indicator (KPI) ซึ่งแต่ละบริษัทและธุรกิจ ก็จะมีเกณฑ์ในการวัดแตกต่างกันไป แต่หากคุณเป็นหัวหน้างานที่ต้อง ประมินผลงานลูกน้อง มาดู 8 เทคนิคกำหนด Key Performance Indicator แบบทีมเวิร์ค งานดี งานเดิน ไม่เกินตัว ประกอบไปด้วยอะไรบ้างกัน

เข้าใจคำว่า Key Performance Indicator

          KPI หรือ Key Performance Indicator เป็นดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน โดยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้ โดยงานที่กำหนดแต่ละฝ่าย แต่ละแผนก และแต่ละตำแหน่งจะต้องกำหนดตัวชี้วัดที่ต้องวัดผลได้ และกำหนดการบรรลุผลว่าควรมีลักษณะอย่างไร โดยมีรายละเอียดหัวข้อการประเมินผล และกำหนดคะแนนแต่ละหัวข้อไว้อย่างชัดเจน

ตั้งคำถามเพื่อกำหนด Key Performance Indicator

          การกำหนด Key Performance Indicator จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์จึงอาจเริ่มจากการตั้งคำถาม ได้แก่ ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร ทำไมผลลัพธ์นี้จึงมีความสำคัญ, หัวหน้าสามารถวัดความก้าวหน้าได้อย่างไร หัวหน้าและทีมมีอิทธิพลต่อผลลัพธ์ได้อย่างไร ใครคือผู้รับผิดชอบกับผลลัพธ์นี้ รู้ได้อย่างไรว่าบรรลุเป้าหมายและสำเร็จแล้ว หัวหน้าควรตรวจสอบความคืบหน้าของผลลัพธ์บ่อยแค่ไหน เป็นต้น

วัดผลทางตรงทางอ้อม

          ประเภทของดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator) สามารถแบ่งออกเป็นการวัดผลทางตรง คือใช้ตัวเลขบอกตามจริง มีหลักฐานตรวจสอบได้ มาตรวัดอยู่ในระดับ Ratio Scale เช่น จำนวนผลงาน จำนวนสินค้า เป็นต้น และการวัดผลทางอ้อม คือวัดโดยผ่านกระบวนการทางสมองเพิ่มเติม เช่น ทัศนคติ ความรู้ บุคลิกภาพ เป็นต้น มาตรวัดจะอยู่ในระดับ Interval Scale วัดแบบช่วง ให้คะแนนตามเกณฑ์ส่วนตัวที่แตกต่างกัน

มุมมองการวัด Key Performance Indicator

          การวัด Key Performance Indicator สามารถวัดได้หลายมุมมองทั้งเชิงบวกเชิงลบ ได้แก่ Positive KPI ดัชนีวัดความสำเร็จในเชิงบวก กำหนดเกณฑ์ประเมินผลในแง่ดีเกี่ยวกับธุรกิจ เช่น ยอดขาย กำไร กำลังการผลิต เป็นต้น และ Negative KPI ดัชนีวัดความสำเร็จในเชิงลบ กำหนดเกณฑ์ประเมินผลโดยใช้ข้อบกพร่อง ปัญหา จุดด้อยความเสียหาย เช่น เปอร์เซ็นต์ผลผลิตที่ผิดพลาด เกณฑ์ลดอัตราการขาดทุนให้น้อยที่สุด เป็นต้น

SMART ตรวจสอบตัวชี้วัด

          ข้อควรคำนึงถึงในการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของงานมีเทคนิคง่าย ๆ คือ SMART ได้แก่ Specific (S) เจาะจงว่าต้องการทำอะไร ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร Measurable (M) วัดผลที่เกิดขึ้นได้ ตัวชี้วัดไม่มากเกินไป Achievable (A) บรรลุผลได้ Realistic (R) สมเหตุสมผล สอดคล้องกับความเป็นจริง สามารถทำให้สำเร็จได้ Timely (T) กำหนดช่วงเวลาชัดเจน ระยะเวลาการทำงานเหมาะสม

ขั้นตอนนำ Key Performance Indicator ไปใช้

          ขั้นตอนในการนำ Key Performance Indicator ไปใช้ ประกอบไปด้วย

  • ระบุขอบเขตของผลการดำเนินงานทางธุรกิจที่ต้องการวัดให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ เช่น ดัชนีชี้วัดเชิงปริมาณ ดัชนีชี้วัดเชิงคุณภาพ ดัชนีชี้วัดเชิงกระบวนการ ฯลฯ
  • กำหนดเป้าหมายที่จะวัดประสิทธิภาพ โดยมองที่วัตถุประสงค์ขององค์กรและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของธุรกิจ โดยใช้ SMART เข้ามาช่วย
  • เปรียบเทียบประสิทธิภาพในปัจจุบันกับเป้าหมายที่กำหนดแล้วพิจารณาว่าต้องปรับปรุงในส่วนใดหรือใช้เครื่องมือใดเข้ามาช่วย อาจต้องเปรียบเทียบกระบวนการ กลยุทธ์ และประสิทธิภาพ
  • ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพล่าสุด ควรตรวจสอบการดำเนินงาน และประเมินประสิทธิภาพธุรกิจอยู่เสมอ
  • กำหนดช่วงเวลาทบทวน Key Performance Indicator แต่ละครั้ง ควรกำหนดตารางการตรวจสอบเป็นระยะ คือ รายเดือน รายไตรมาส รายปี ทบทวนประจำปี และปฏิบัติตามให้เคร่งครัด เพื่อให้วัดผลได้มีประสิทธิภาพ

กำหนด Key Performance Indicator ร่วมกัน

          การกำหนด Key Performance Indicator ร่วมกันตั้งแต่ระดับผู้บริหารไปจนถึงระดับพนักงาน จะช่วยให้มองภาพได้ตรงกัน ประเมินเป้าหมายที่เป็นไปได้ร่วมกัน และสร้างแรงผลักดัน ในการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ที่สำคัญทำให้เกิดความยุติธรรมในการกำหนดตัวชี้วัด และวิธีการประเมินผลที่ดีได้

ข้อควรระวังในการสร้าง Key Performance Indicator

          สิ่งที่ต้องระวังในการสร้าง Key Performance Indicator ได้แก่ ผู้บริหารต้องใส่ใจในการตั้ง Key Performance Indicator เข้าใจทักษะและความต้องการของพนักงาน ไม่ลำเอียงในการตั้ง Key Performance Indicator ในแต่ละแผนก ไม่ตั้งยากเกินไปจนทำไม่ได้ ไม่เปลี่ยน Key Performance Indicator บ่อยเกินไป ควรเป็น Key Performance Indicator ระยะยาว เพื่อใช้เปรียบเทียบได้ ไม่ตั้ง Key Performance Indicator ที่มากเกินไป ควรนำ Key Performance Indicator มาวิเคราะห์ และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เน้นผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ สร้างกฎระเบียบ และวัฒนธรรมองค์กรให้ชัดเจน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!



ที่มา : Link
 2209
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชาวมนุษย์ออฟฟิศทั้งหลายคงได้ยินกิตติศัพท์ เสียงลือเสียงเล่าอ้างของ KPI ตัวชี้วัดความสำเร็จกันเป็นอย่างดี ซึ่งแต่ละบริษัทก็มีความเคี่ยวกรำรวมถึงการวัดผลที่แตกต่างกันไป แน่นอนว่าเป็นสิ่งสร้างความกดดันให้คนทำงานหลาย ๆ คน เพราะการประเมินผลงานโดยใช้ KPI เป็นตัวตั้ง ย่อมส่งผลต่อหน้าที่การงานหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การประเมินเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การวัดประสิทธิภาพในการทำงาน ความก้าวหน้าในสายงาน ฯลฯ 
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์