เบื้องต้นต้องเข้าใจกติกาว่า นายจ้างจ่ายเงินเพื่อแลกกับแรงงาน หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างต้องเอาแรงงานไปแลกกับเงินค่าจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งจะตกลงกันด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้ได้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงที่แฟร์ ๆ เพราะนายจ้างก็คงไม่ปรารถนาที่จะจ่ายเงิน แต่ไม่ได้แรงงานจากลูกจ้าง
เช่นเดียวกันกับกรณีลูกจ้างทำงานให้นายจ้างแล้ว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างตอบแทน จะอ้างว่าลาออกไม่ชอบ หรือทำงานไม่ครบเดือน หรือเลิกจ้างเพราะทำผิดจะไม่จ่ายไม่ได้ เพราะหลักการง่าย ๆ คือ เมื่อได้แรงงานไปแล้ว ต้องจ่ายเงินตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงอุปมาได้ดั่งการยื่นหมูยื่นแมว งานมาเงินไป, เงินไปงานมา
ลูกจ้างลาป่วยบ่อย เลิกจ้างได้ไหม
อย่างไรก็ตาม หากลูกจ้างป่วยบ่อย แม้กฎหมายจะให้สิทธิลาป่วยได้ “เท่าที่ป่วยจริง” ซึ่งนายจ้างต้องอนุมัติการลา หากเข้าเงื่อนไขตามกฎหมายคือป่วย แต่หากลาป่วยบ่อยก็จะขัดกับหลักการที่กล่าวมาข้างต้น คือนายจ้างจ่ายเงิน แต่ลูกจ้างไม่สามารถใช้แรงงานคืนนายจ้างได้ จึงอาจทำให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ ดังนั้น
“ลาป่วยบ่อย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ โดยถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม”
ถึงแม้ว่า ลูกจ้างจะได้รับสิทธิ์การลาป่วยต่อปี ตามกฎหมายแรงงาน ระบุไว้ 30 วันต่อปี ก็ตาม แต่การใช้สิทธินั้นก็ทำให้สัญญาที่เคยให้ไว้ว่าจะทำงานให้แก่นายจ้างก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งภาษาที่ศาลท่านใช้คือ คำว่า “หย่อนสมรรภาพในการทำงาน” จึงเข้าเงื่อนไขที่จะเลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม เพราะถือว่า “มีเหตุอันสมควร และเหมาะสม”
ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ๒๖๐๐/๒๙๒๙ ที่ว่า “การลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์ และหย่อนสมรรภาพในการทำงาน การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม”
ลูกจ้าถูกเลิกจ้างเพราะลาป่วยบ่อยต้องจ่ายค่าชดเชยไหม
แม้ว่านายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมตาม มาตรา ๔๙ พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ก็ตาม แต่การเลิกจ้างที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ต้องเข้าข้อยกเว้นของการไม่จ่ายค่าชดเชยด้วย ซึ่งการเลิกจ้างเพราะป่วย ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๑๑๙ ด้วย เช่นนี้ ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างเพราะลาป่วยบ่อย
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!
ขอบคุณที่มา : เพจกฎหมายแรงงาน
https://www.facebook.com/LaborProtectionLaw/posts/1070315386837898