โรงทางใจวัยทำงาน คุณเป็นอยู่หรือไม่

โรงทางใจวัยทำงาน คุณเป็นอยู่หรือไม่


การโตเป็นผู้ใหญ่คงไม่ได้อยู่แต่ในโลกที่โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ ชีวิตในช่วงวัยทำงานไม่มีอะไรง่าย และพร้อมมีอุปสรรคเข้ามาหาเราเสมอ ทั้งยังเต็มไปด้วยความเครียด การแข่งขัน การเอาตัวรอด และการเติบโตไปให้ได้ จนทำให้หลายคนที่เพิงก้าวเข้ามาสู่โลกแห่งการทำงาน หรือคนที่ทำงานมาซักพักแล้วเกิดความกังวล และอาจจะเข้าข่ายเป็นโรควิตกกังวลได้ จนขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวัน ฉะนั้นแล้วลองสังเกตตัวเองดูจากอาการที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น เหงื่อตกใจสั่น หรือเป็นคนชอบย้ำ คิดย้ำทำเพราะหากคุณมีอาการเหล่านี้ ลองมาเช็กให้ชัวร์ว่าคุณกำลังเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรควิตกกังวลหรือเปล่า? ซึงกลุ่มโรควิตกกังวลที่พบบ่อยและไม่ควรมองข้ามมีดังนี้



1.โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)
เกิดความกังวลที่มากกว่าปกติในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น งานครอบครัว สุขภาพการเรียน ซึ่งยังสามารถระงับความรู้สึกได้ด้วยตัวเอง แต่หากยังรู้สึกวิตกแบบเดิมนานเกินกว่า 6 เดือน ไม่สามารถปรับตัวให้รับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ ได้ อาจเกิดความอ่อนเพลีย กระวนกระวายไม่มีสมาธิ หงุดหงิด นอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิท

2.โรคแพนิค (Panic Disorder)
โรคตื่นตระหนก คือเกิดความวิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ ตื่นตระหนก กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยนิดหน่อยก็เกิดความกังวล เช่น กลัวว่าจะเป็นโรคร้าย ทั้งที่จริงแล้วไม่ได้ป่วยทางกายแต่ป่วยทางจิตต่างหาก อาการแพนิคอาจเกิดเป็นพัก ๆ ทำให้เหงื่อออก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ร้อนวูบวาบแน่นหน้าอก ฃวูบเหมือนจะเป็นลม อาการแบบนี้อาจทำให้เสียสุขภาพจิตและอาจนำ ไปสู่ภาวะอื่น ๆ ได้เช่น ภาวะซึมเศร้า หรือติดสารเสพติด

3.โรคกลัวสังคม (Social Phobia)
ความวิตกกังวลที่จะต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่คิดว่าต้องถูกจ้องมอง ทำอะไรที่น่าอาย ต้องคอยหลบ รู้สึกประหม่า และมักคิดในแง่ลบว่าคนอื่นจะนินทาลับหลังทำ ให้ส่งผลกระทบต่อการดำ เนินชีวิตประจำวัน อาจทำให้เกิดอาการหน้าแดง เหงื่อออก คลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็ว ปวดหัวโรคนี้มักแอบแฝงอยู่ในตัวบุคคลที่ดูเป็นปกติสุขดี มองดูภายนอกร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดี สาเหตุของอาการนี้อาจเกิดจากการเลี้ยงดู ขาดทักษะการเข้าสังคม เกี่ยวข้องกับระบบการทำ งานของสมอง หรือพันธุกรรม

4.โรคกลัวแบบเฉพาะ (Phobia)
ความวิตกกังวลที่มากเกินไปในเรื่องบางเรื่อง บางสิ่งบางอย่างแบบเจาะจง เช่น กลัวเลือด กลัวที่แคบ กลัวรู หรือกลัวสุนัข แม้ว่าจะรู้สึกกลัวไม่สมเหตุสมผล แต่ก็ไม่สามารถห้ามความกลัวได้ พยายามจะหลีกเลี่ยงไม่เผชิญกับสิ่งที่ตัวเองกลัว ผู้ป่วยมักเกิดปฏิกิริยาทางกายขึ้นมา หากอยู่ในสถานการณ์จำ เพาะเจาะจง เช่น ใจสัน หน้ามืด มือ-เท้าเย็น ่อาจทำ ให้ใจสั่น หายใจลำ บาก เหงื่อออก

5.โรคย้ำคิดย้ำทำ(Obsessive Compulsive Disorder)
ความวิตกกังวลที่เกิดจากการคิดซ้ำไปซ้ำมา ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์แบบซ้ำๆ ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวลใจ แม้ว่าอาการแบบนี้จะไม่รุนแรง หรือส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมากนัก แต่ทำให้เสียเวลาชีวิตไปกับพฤติกรรมเหล่านั้นไม่น้อย ซึ่งอาการย้ำคิดย้ำทำแบบนี้กลับพบบ่อยในคนวัยทำงาน เช่น คิดว่าลืมล็อคประตูบ้านต้องเดินกลับไปดูว่าล็อคหรือยังคิดว่าลืมปิดก็อกน้ำต้องกลับไปเช็คอีกครั้งเป็นแลว


โรงวิตกกังวลเป็นแล้วรักษาอยางไรการรักษา
  • ด้วยยา โดยตัวยาจะสามารถช่วยควบคุม และบรรเทาอาการลงได้ เช่น ยาอัลปราโซแลม ยาโพรพราโนลอล และยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ด้วย
  • การทำจิตบำบัด คือการเข้ารับคำ แนะนำและคอยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะเพื่อเรียนรู้การแก้ปัญหาเมื่อเกิดความวิตกกังวลเพื่อให้ผ่านพ้นปัญหาไปได้ในที่สุด
  • จัดการและปรับเปลี่ยนความคิด เช่นเมื่อมีความกังวลให้หากิจกรรมอื่นทำ เพื่อเกิดความสบายใจ หรือทำ การนั่งสมาธิเพื่อผ่อนคลายจิตใจ นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดต่อเรื่องที่กังวลว่ามันไม่ได้เลวร้าย และกล้าที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาก็เป็นทางออกที่ดีเช่นกัน

โรคนี้อาจดูเหมือนน่ากลัว แต่คุณป้องกันได้ง่าย ๆ แค่ใช้ชีวิตอย่างมีสุขกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย นอกจากนี้ควรฝึกสติเพื่อรู้ทันอารมณ์ของตัวเองว่าความเครียดมีมากเกินไปหรือไม่ รวมถึงการทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบอยู่กับปัจจุบันและให้สมองได้ผ่อนคลาย รับรองสุขภาพดีทั้งกายใจห่างไกลโรคอย่างแน่นอนค่ะ



ที่มา : https://www.rd.go.th/fileadmin/eMagazines/online_092564.pdf
 493
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์