วิธีปรับตัวให้เข้ากับการทำงานเป็นทีม

วิธีปรับตัวให้เข้ากับการทำงานเป็นทีม


ต้องยอมรับว่าในแต่ละองค์กรนั้นประกอบด้วยพนักงานที่มาจากหลากหลายสถานที่ หรือเรียกให้เข้าใจกันง่าย ๆ ว่า “ร้อยพ่อพันแม่” ไม่มีใครที่มีอะไรหรือคิดอะไรเหมือนกัน อีกทั้งยังมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน การที่เราจะทำให้คนที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันเข้ากันให้ได้นั้น เป็นเรื่องค่อนข้างยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปไม่ได้

การทำงานหากจะให้เกิดความราบรื่น ต้องเริ่มจากการรู้จักปรับตัวเราเพื่อเข้าหาสิ่ง ๆ นั้นให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวให้เข้ากับเจ้านายคนใหม่ เพื่อนร่วมงานใหม่ หรือวิธีการทำงานใหม่ ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องมีจุดเริ่มต้นที่มาจากการยินยอมที่จะปรับตัวแทบทั้งสิ้น

ความพยายามในการปรับตัวให้เข้ากับทีม หรือเพื่อนร่วมงานจะทำให้เราเข้าใจเขามากขึ้น และลดปัญหาความขัดแย้งในการทำงานได้ แต่จะทำอย่างไรจึงจะทำให้คนที่ทำงานร่วมกับเรารับรู้ และยอมรับในความพยายามของเรา ลองมาดูวิธีปรับตัวให้เข้ากับการทำงานเป็นทีม ซึ่งมีอยู่ดังนี้

เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่

          เมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น แม้ว่าจเป็นคนที่เราไม่คุ้นเคยมาก่อน เราก็ควรแสดงความเป็นมิตร เพื่อให้เขาอยากสอนงานเรา หรือทำงานร่วมกับเราด้วยความเต็มใจ หากเป็นไปได้ให้ใช้รอยยิ้ม เป็นตัวช่วยให้เรากล้าที่จะพูดคุยกับเพื่อนคนใหม่ และเปิดใจให้กว้าง อย่ามีอคติกับการเรียนรู้ บางคนจะรู้สึกว่าตัวเองก็มีความรู้ในงานที่ตัวเองทำอยู่แล้ว ทำไมจึงต้องไปเรียนรู้กับคนอื่นอีก ในการทำงานเป็นทีมเราต้องคิดว่าการทำงานร่วมกัน คือการแบ่งปันความรู้กัน ไม่ใช่การเอาความรู้มาอวดกัน หากเราเปิดใจให้กว้างเราจะได้รับความรู้ใหม่อีกมากมาย ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานของตัวเองได้ อีกทั้งการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ยังทำให้เราได้รับการยอมรับจากคนในทีมได้เร็วขึ้นด้วย

เรียนรู้และจดจำอย่างเป็นระบบ

          เมื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม เราต้องพยายามเรียนรู้ว่าทีมของเรามีระบบการทำงานอย่างไร แล้วจึงค่อย ๆ จดจำ เรียนรู้อย่างเป็นระบบ ในตอนแรกเราอาจจะทำได้ไม่ดี เนื่องจากเพิ่งจะคุ้นเคยกับระบบ แต่ครั้งต่อ ๆ มาเราต้องทำงานให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม โดยพยายามจดจำให้มากที่สุด แต่ในการเรียนรู้งานนั้นควรทำอย่างเป็นระบบ ทำความเข้าใจก่อน แล้วจึงเรียบเรียงออกมาเป็นคำพูดของตัวเอง เราจะเข้าใจระบบการทำงานได้ง่ายขึ้น จากนั้นไม่นาน เราก็จะทำงานร่วมกับทีมได้ดีขึ้น

ยอมรับคำวิจารณ์

          เมื่อเกิดความผิดพลาดในการทำงาน เราควรเปิดใจเพื่อยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์อันอาจจะเกิด คำวิพากษ์วิจารณ์การทำงานเกี่ยวกับการทำงานเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะต้องการตำหนิเพื่อให้เราได้รับความอับอาย แต่เพราะต้องการให้รับเรียนรู้ข้อผิดพลาด เราจึงต้องเปิดใจให้กว้าง โดยไม่มีอคติ เพราะหากเรายังคงมีอคติเกิดขึ้นภายในใจเรา เราจะไม่สามารถทำงาน เพราะเราจะรู้สึกว่าเรากำลังโดนตำหนิ หรือคิดว่าเราทำงานไม่ดี เราก็จะไม่สามารถเข้ากับทีมได้ สิ่งที่เราควรทำคือการยอมรับคำวิจารณ์ และนำมาปรับปรุงตัว เพื่อให้เราทำงานได้ดีขึ้น

ยอมรับความสามารถของคนอื่น

          การเชื่อว่าเราคือคนที่ทำงานเก่งที่สุด ดีที่สุด และมีความสามารถมากกว่าคนอื่น ๆ ภายในทีม จะทำให้เราเข้ากับทีมได้ค่อนข้างยาก เพราะเราจะไม่เชื่อว่าคนอื่นสามารถทำงานได้ดี หรืออาจจะทำงานผิดพลาดได้ หากเราคิดเช่นนั้น เราจะทำงานร่วมกับทีมไม่ได้ หากเราเป็นหัวหน้างาน เราก็จะรู้สึกว่าลูกน้องของเราทำงานไม่ดีเลยสักอย่าง ผิดพลาดตลอด ทั้ง ๆ ที่เขาเพิ่งจะทำงานได้ไม่นานเท่าไร ยังไม่ทันได้เห็นความสามารถทั้งหมดของเขา ก็กังวลไปก่อนแล้วว่าเขาอาจจะทำไม่ได้ เราควรปล่อยให้เขาได้ทำงานเสียก่อน แล้วค่อยตักเตือนทีหลัง หากเกิดความผิดพลาดในการทำงานเกิดขึ้น ในการทำงานเป็นทีม เราต้องเชื่อมั่นว่าคนอื่นทำงานได้ดี และมีความสามารถไม่ต่างจากเรา การทำงานเป็นทีมจึงจะราบรื่น

รับผิดเมื่อเกิดความผิดพลาด

         หากเราต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของความผิดพลาดในการทำงาน สิ่งแรกที่เราควรทำ คือการกล่าวคำขอโทษที่ทำให้ทีมได้รับการตำหนิ หรือเกิดความล่าช้าในการทำงาน อย่าดึงดันที่จะปฏิเสธ หรือโยนความรับผิดชอบให้คนอื่น เพราะเราจะสูญเสียความเชื่อถือจากคนในทีมได้ เราต้องยืดอกยอมรับความผิดนั้น รับปากว่าจะแก้ไขความผิดพลาดนั้นอย่างไร และจะไม่ให้ความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต เมื่อเราทำงานผิดพลาดไม่ต้องพยายามที่จะหาข้อแก้ตัว แต่ให้พยายามหาข้อแก้ไข เพื่อให้งานที่ผิดพลาดนั้นดีขึ้น แล้วจำไว้เป็นบทเรียนว่าอะไรที่ทำให้เกิดความผิดพลาด เราจะไม่ทำอีก เพียงเท่านี้เพื่อนร่วมทีมก็จะไว้ใจให้เราทำงานเช่นเดิม

          การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพต้องมาจากการเตรียมพร้อม และเริ่มต้นให้ดี ก้าวแรกที่มั่นคงส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงาน หากเรามีความมุ่งมั่น เต็มใจที่จะเรียนรู้ และยอมรับความคิดเห็นของทีม เราก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับทีม แล้วทำงานร่วมกับองค์กรได้อย่างราบรื่นมากขึ้น

ที่มา : Link

 2402
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับหัวหน้างานการตั้ง KPI ให้ลงตัวกับคนในทีมเป็นเรื่องสำคัญ การรู้เทคนิคกำหนด KPI หรือ Key Performance Indicator แบบทีมเวิร์ค ให้งานดี งานเดิน ไม่เกินตัว จะช่วยให้งานมีประสิทธิภาพ ไม่หนักหนาเกินรับไหวและไม่น้อยเกินไปจนขาดความท้าทาย
ถูกเลิกจ้าง ต้องตกงาน หรือ ออกจากงานกระทันหัน เหตุการณ์แบบนี้ เกิดขึ้นกันได้กับทุกคน ไม่ว่าเราจะทำงานดีหรือไม่ดีก็ตาม แล้วเราจะรับมืออย่างไร?
จัดลำดับการทำงานให้ดีมีแต่ความสำเร็จ แต่จงจำเอาไว้ว่าควรทำงานที่สำคัญที่สุดก่อนเป็นอันดับแรกสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำงานคือเรื่องของเวลา ที่จะเป็นสิ่งที่ช่วยบริหารระดับขั้นตอนการทำงานของเราได้เป็นอย่างดี อยู่ที่ว่าเราจะใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ต้องมองการณ์ไกลและวางแผนทุกครั้งในการเริ่มต้นทำงานเพื่อผลักดันให้ตัวเองมีเป้าหมายและไปสู่ในสิ่งที่ตั้งใจเอาไว้ 
เพราะสิ่งที่จะกำหนดทิศทางขององค์กรได้ ก็คือคนที่อยู่ข้างใน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งเล็กหรือใหญ่ ระดับปฏิบัติการหรือผู้บริหาร ก็มีผลกับความสำเร็จขององค์กรทั้งนั้น แต่น่าแปลกที่การรวมคนเก่ง ๆ ไว้ในที่เดียว ไม่ได้แปลว่าจะเกิดเป็นทีมที่ดีเสมอไป...
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์