“ภาษี” ที่ไม่ควรเสียมากที่สุด คืออะไร ?

“ภาษี” ที่ไม่ควรเสียมากที่สุด คืออะไร ?


ภาษี” 
เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย

ภาษีทางอ้อมก็ต้องยอมรับว่าเราจะไปบริหารจัดการอะไรมากไม่ได้เพราะยังไงก็ต้องเสีย แต่อย่างภาษีทางตรงโดยเฉพาะภาษีเงินได้ จริงๆเราสามารถวางแผนภาษีเพื่อให้เสียภาษีน้อยลงได้ โดยวิธีหลักๆก็คือ การซื้อ SSF RMF และประกันชีวิต ที่ได้รับสิทธิลดหย่อนจากทางกรมสรรพากร

นอกเหนือจากภาษีทางตรงและทางอ้อมที่เราจะต้องเสียให้กับรัฐบาล จริงๆยังมีภาษีอีกตัวนึงที่เป็นศัตรูตัวร้ายกับแผนการเงินของเราก็คือ “ภาษีสังคม”

เนื่องด้วยมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม แล้วก็ต้องยอมรับว่าการที่เราจะมีสังคมได้ ยังไงก็มีค่าใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นการไปกินเหล้ากับแก๊งเพื่อนๆ ออกไปเที่ยวกับเพื่อนที่ทำงาน หรือการซื้อของฝากเวลาที่เราไปเที่ยวกลับมา ภาษีสังคมก็คือรายจ่ายอะไรประมาณนี้แหละ

จากที่ลองดูบัญชีรายรับรายจ่ายของหลายๆคนที่เพิ่งเริ่มต้นวางแผนการเงิน แล้วอยากเริ่มต้นจัดสรรเงิน รายจ่ายนึงที่เจอเยอะมากๆก็คือรายจ่ายเรื่อง “ภาษีสังคม” เนี่ยแหละ

สำหรับเราคิดว่าภาษีสังคมยังไงก็เป็นรายจ่ายที่สำคัญตัวนึง ไม่ต้องถึงกับตัดทิ้งทั้งหมดและควรกันงบให้กับภาษีสังคมของเราในแต่ละเดือนอย่าให้บานปลายก็พอแล้วล่ะ ถ้าใครชอบปาร์ตี้บ่อยๆ พี่ทุยว่าความสนุกของปาร์ตี้คือคนที่เราไปด้วยหรือเพื่อนเรานี่แหละ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะเลย หรือถ้าใครรู้ตัวว่าเวลาไปปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อนเปลืองตังค์เยอะแน่ๆ ก็จะแนะนำว่าให้กำหนดไปว่าเดือนนึงจะไปไม่เกินกี่ครั้ง 1 ครั้งหรือ 2 ครั้ง เป็นต้น บางคนเห็นมี 5-6 ครั้งต่อเดือน ซึ่งถ้าเราประหยัดตรงนี้ได้เราก็ประหยัดเงินไปได้มากกว่า 2,000-3,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียวนะ

ถ้าอยากเริ่มต้นจัดสรรรายรับรายจ่าย เราลองมาโฟกัสที่รายจ่ายภาษีสังคมดู เชื่อได้เลยว่าหลังจากที่จดบัญชีรายรับรายจ่ายของเราสัก 1 เดือนแล้ว ต้องมีตกใจกันบ้างแน่นอน ว่าทำไมเราใช้เงินไปกับภาษีสังคมมากมายขนาดนี้



ขอบคุณบทความจาก :: https://www.accprotax.com  หรือ Click  

 710
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบ ภ.พ.30 คือ แบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล
โครงการ e-Refund ปลอบใจคนพลาดสิทธิดิจิทัลวอลเล็ต สามารถนำค่าซื้อสินค้า-บริการลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 5 หมื่นบาท เริ่ม 1 ม.ค.67 คาดระยะเวลาใช้จ่ายนาน 45 วัน
กรมสรรพากรประกาศ โดยให้นายจ้างยื่นแบบยื่นรายการภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก, ภ.ง.ด.1ก พิเศษ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น โดยเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบกับการจ่ายเงินได้เดือนภาษีมกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์