Shift Work การทำงานที่สวนทางกับนาฬิกาชีวิต
Shift Work หรือ การทำงานเป็นกะ หมายถึง การแบ่งช่วงเวลา และสลับเวลาในการดูแลงานหรือรับผิดชอบกิจกรรมขององค์กรหรือธุรกิจต่าง ๆ โดยการแบ่งคนเป็นมาประจำตำแหน่งงานในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ลื่นไหล ไม่มีสะดุด
การทำงานเป็นกะ จะมีการจัดชั่วโมงทำงานแตกต่างจากเวลาทำงานปกติ โดยช่วงเวลาทำงานหรือการเข้ากะ จะเริ่มตั้งแต่ เวลา 8.00 – 5.00 น. โดยในแต่ละองค์กรอาจมีการจัดโครงสร้างกะงานได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละองค์กร เช่น ในบางองค์กรอาจใช้การเปลี่ยนแปลง 12 ชั่วโมง แบ่งเป็นสองครั้ง หรือ เปลี่ยนแปลง 8 ชั่วโมง แบ่งเป็นสามครั้งต่อวัน เป็นต้น
สำหรับระบบงานกะอาจแตกต่างกันในทิศทาง และความเร็วของการหมุนกะ ซึ่งเป็นระบบกะที่หมุนเวียนตารางเวลาของพนักงานตั้งแต่กะเช้าไปจนถึงกะเย็น ต่อเนื่องไปถึงกะกลางคืน จะมีการหมุนไปข้างหน้า ในขณะที่กะที่หมุนทวนเข็มนาฬิกา เช่น กลางคืนถึงเย็นถึงเช้า จะมีการหมุนเวียนย้อนกลับ โดยความเร็วของการหมุนระบบกะ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ
ปัจจุบันธุรกิจที่มีการแบ่งกะทำงานมีมากมาย ได้แก่ สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ฟิตเนส โรงพยาบาล สถานีดับเพลิง สถานีตำรวจ โรงงานผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค และโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ ที่มีส่วนในการสร้างสังคมที่ดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อควรระวัง สำหรับคนทำงานเป็นกะ
แม้ว่า Shift Work หรือการทำงานเป็นกะ จะมีข้อดีที่ช่วยให้ผู้ทำงานสามารถเลือกเวลาทำงานได้ และไม่ต้องใช้เวลานานมากเกินไปในการทำงาน แต่การทำงานเป็นกะก็มีผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในกะกลางคืน ซึ่งเป็นการทำงานที่ไม่ตรงกับนาฬิกาชีวิตและร่างกายที่เป็นธรรมชาติ เพราะโดยปกติช่วงเวลากลางวันจะต้องตื่นเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ และช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงเวลาของการพักผ่อน
ดังนั้น การทำงานในกะกลางคืน จะมีผลต่อการกินไม่เป็นเวลา นอนไม่เป็นเวลา โดยเฉพาะคนที่ทำงานกะดึก ย่อมมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ทำให้ส่งผลต่อการทำงานโดยตรง ทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งผลกระทบในระยะสั้น จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ง่วงในเวลางาน ส่งผลทำให้สมรรถภาพในการทำงานลดลง และเสี่ยงต่อการทำงานผิดคลาด หรือเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้
ในระยะยาว มีงานวิจัยที่เผยแพร่ออกมา พบว่า คนที่ทำงานเป็นกะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่างมากกว่าคนอื่น เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง สมรรถภาพของสมองเสื่อมลง มีอาการกล้ามเนื้อตาล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีความเครียด อ่อนเพลียเรื้อรัง นอนไม่หลับ โรคอ้วน ฉะนั้นผู้ที่ทำงานกะกลางคืนจึงควรหันมาดูแลตัวเอง ใส่ใจสุขภาพให้มากขึ้น โดยควรปฏิบัติ ดังนี้
ที่มา: LINK