เหรียญโอลิมปิกกับภาระภาษีเงินได้

เหรียญโอลิมปิกกับภาระภาษีเงินได้


จบไปแล้วสำหรับโอลิมปิกเกมส์โตเกียว 2020 ซึ่งได้ปิดฉากการแข่งขันไป เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งนี้ทัพนักกีฬาไทยสามารถคว้า 1 เหรียญทอง และ 1 เหรียญทองแดง
จบการแข่งขันลงที่ลำดับที่ 59 จากผู้ร่วมเข้าแข่งขันทั้งหมด 206 ประเทศ

ย้อนเส้นทางเหรียญโอลิมปิกในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นักกีฬาเทควันโดจากประเทศไทยคว้าเหรียญทองโอลิมปิกมาครอบครอง ในขณะเดียวกัน นักมวยหญิงไทยรุ่นไลท์เวต 60 กิโลกรัมก็สามารถคว้าเหรียญทองแดงให้แก่ประเทศไทยได้อีกหนึ่งเหรียญชัยชนะของนักกีฬาทั้งสองคน จึงเป็นเหมือนของขวัญที่สร้างความสุขให้กับคนไทยในช่วงเวลาที่ประเทศประสบปัญหามากมาย

แน่นอนว่ากว่าจะได้เหรียญโอลิมปิก หนึ่งเหรียญมาครอบครองนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายนักกีฬาต้องอาศัยความอดทน วินัย และการฝึกฝนอย่างมากกว่าจะได้ชื่อว่าเป็น “ฮีโร่เหรียญโอลิมปิก” ด้วยเหตุนี้เพื่อตอบแทนความสุขที่ฮีโร่เหล่านี้มอบให้กับคนในประเทศกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ จึงได้วางหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้เงินรางวัลแก่นักกีฬาในกีฬาต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการแข่งขันโตเกียวโอลิมปิก 2020 ครั้งนี้ โดยระบุว่า

หากนักกีฬาไทยคว้าเหรียญรางวัลจะได้รับเงินอัดฉีด ดังนี้
• เหรียญทอง 12,000,000 บาท
• เหรียญเงิน 7,200,000 บาท
• เหรียญทองแดง 4,800,000 บาท

นอกจากเงินอัดฉีดจากกองทุนดังกล่าวแล้วยังมีเงินอัดฉีดจากแหล่งที่มาอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนต่าง ๆ หรือชมรมที่สนับสนุนการเล่นกีฬาอย่างไรก็ตาม เงินได้มักมาคู่กับภาษีเสมอคำ ถามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เมื่อนักกีฬาได้รับเงินดังกล่าวก็คือ เงินรางวัลหรือเงินอัดฉีดนี้มีภาระภาษีหรือไม่ ซึ่งบทความนี้จะมาคลายข้อสงสัยดังกล่าวให้กระจ่างสำหรับเงินรางวัลหรือเงินอัดฉีดที่นักกีฬาโอลิมปิคได้รับดังกล่าวนั้น ถือเป็นเงินได้จาก “การอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี" ตามมาตรา 42(28) ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่ไม่เกิน 10 ล้านบาท หากเงินอัดฉีดมีจำนวนเกินกว่า 10 ล้านบาทโดยปกติสำหรับบุคคลทั่วไปผู้รับจะต้องเสียภาษีการรับให้ในอัตรา 5% ของส่วนที่เกิดจาก 10 ล้านบาท

สำหรับกรณีนักกีฬาโอลิมปิกนี้ กฎกระทรวงฉบับที่ 325 (พ.ศ.2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ฉบับที่ 293 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นเงินได้ที่นักกีฬา และผู้ฝึกสอนกีฬา ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อเป็นรางวัล อันเนื่องมาจากการเข้าร่วมการแข่งขันรายการมหกรรมกีฬาและรายการแข่งขันกีฬาสมัครเล่นระดับนานาชาติ เฉพาะส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ก็ได้ออกมายกเว้นภาษีเงินได้สำหรับส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทไว้ ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนนักกีฬา และผู้ฝึกสอนที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศจากที่กล่าวมาทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า เงินอัดฉีดที่นักกีฬาโอลิมปิกได้รับจากการคว้าเหรียญโอลิมปิกนัน ไม่ว่าจะได้รับมาในจำนวนเท่าใดก็ไม่มีภาระภาษีเงินได้ ทั้งนี้เป็นการวางนโยบายทางภาษีเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนหันมาเล่นกีฬาและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติต่อไป ดังนั้น สำหรับโอลิมปิกเกมส์ครั้งหน้าซึ่งจะจัดที่ประเทศฝรั่งเศสในปี 2024 นั้น ก็หวังว่าทัพนักกีฬาไทยจะสามารถมอบของขวัญให้กับคนไทยได้อีกครั้งหนึ่ง

ที่มา : Link
 617
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์