การขอสิทธิประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาล ของผู้ประกันตน ที่ป่วยCovid-2019

การขอสิทธิประโยชน์ ค่ารักษาพยาบาล ของผู้ประกันตน ที่ป่วยCovid-2019



วันที่ 11 สิงหาคม 2564 นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน เผยเกี่ยวกับการขอสิทธิประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล และเงินทดแทนการขาดรายได้ จากกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนที่ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) กลุ่มอาการสีเขียว

โดยนางสาวลัดดา อธิบายว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่มีผู้ป่วยติดเชื้อสูงอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน ทำให้มีผู้ป่วยที่รอเตียงหรือผู้ป่วยตกค้างในชุมชนจำนวนมาก และแยกดูแลรักษาในที่บ้าน หรือโฮมไอโซเลชั่น (home isolation: HI) เพื่อรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล

กรณีที่ผู้ประกันตนเป็นผู้ป่วยที่รักษาอยู่ที่บ้าน และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19 แล้ว และแพทย์ผู้ดูแลรักษาของสถานพยาบาลพิจารณาอาการเจ็บป่วย เห็นควรให้ผู้ประกันตนรายนั้นแยกกักตัวที่บ้านได้ โดยได้รับความยินยอมจากผู้ประกันตนและเจ้าของสถานที่ รวมถึงกรณีที่ผู้ประกันตนรักษาในสถานพยาบาล และกลับมาแยกกักตัวในที่พักต่อจนครบกำหนด ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่าย “ค่าบริการทางการแพทย์” แก่สถานพยาบาล โดยใช้หลักเกณฑ์การจ่ายประเภทผู้ป่วยใน ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ดังนี้

  1. ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  2. ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตนที่ป่วย โดยเป็นค่าใช้จ่ายรวมค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามประเมินอาการ และการให้คำปรึกษา เหมาจ่ายในอัตรา 1,000 บาทต่อวัน ไม่เกิน 14 วัน
  3. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ค่าปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด อุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น และค่าชุด PPE สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
  4. ค่ายาที่ใช้รักษา
  5. ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพยาบาลสนาม และสถานพยาบาล
  6. ค่าบริการ X-ray ทรวงอก

นางสาวลัดดา กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ผู้ประกันตนที่ป่วยโรคโควิด-19 ที่รักษาตัวที่บ้านระหว่างรอเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาล หรือเข้ารับการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนาม หรือเข้ารับการดูแลรักษาที่ศูนย์แยกกักในชุมชน (community isolation: CI) หรือการดูแลรักษาในโรงพยาบาลสนามในโรงงาน/สถานประกอบการ (factory accommodation isolation: FAI) สามารถเบิกเงินค่าทดแทนการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม

สิ่งที่ต้องใช้ประกอบ “เบิกเงินค่าทดแทนการขาดรายได้” มีดังนี้

  1. “ใบรับรองแพทย์” จากสถานพยาบาลที่รับผิดชอบการรักษา หรือบันทึกภาพหน้าจอจากแอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) หรือโปรแกรมอื่นใด ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับสถานพยาบาลที่รับการรักษาผู้ประกันตน และ
  2. “สำเนาเวชระเบียน” ที่ได้จากการบันทึกหน้าจอจากแอปพลิเคชั่นไลน์ หรือโปรแกรมอื่น ๆ โดยมีรายละเอียดระบุวันที่เริ่มรักษา จนสิ้นสุดการรักษา รวมไปถึงการให้หยุดพักรักษาตัวต่อ

นางสาวลัดดา กล่าวด้วยว่า สำหรับเงื่อนไขการเบิกค่าทดแทนการขาดรายได้นั้น ผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนใช้สิทธิ และพิจารณาตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ ผู้ประกันตนลาป่วย 30 วันแรกได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง

และหากมีความจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน ผู้ประกันตนสามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยเป็นต้นไป ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง (จ่ายครั้งละไม่เกิน 90 วัน 1 ปีปฏิทิน แต่ไม่เกิน 180 วัน)

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถยื่นเบิกขาดรายได้ภายใน 2 ปี เมื่อรักษาหายจากอาการเจ็บป่วยแล้ว ให้ติดต่อขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่สำนักงานประกันสังคมได้ทุกแห่งทั่วประเทศตามที่ท่านสะดวก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสายด่วน 1506 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

 1934
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์