การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด

การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด



การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด  มีผลต่อบัญชีและภาษีที่เกี่ยวข้อง อย่างไร

ในหัวข้อนี้ จะขอเน้นรายละเอียดการตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดตามที่สรรพากรประกาศให้ใช้เพื่อแสดงมูลค่าที่ถูกต้อง

สินค้าคงเหลือ สินค้าคงคลัง ทางบัญชี และภาษี จัดไว้ว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ คือมีไว้เพื่อขาย หรือมีไว้เพื่อการผลิต

ดังนั้นการบริหารสินค้าคงเหลือ ก็ถือได้ว่าเป็นการบริหารสภาพคล่องของกิจการ  ทั้งกิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต และกิจการบริการ เช่น อู่ซ่อมรถยนต์ อู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ กิจการบริการซ่อมคอมพิวเตอร์

จึงถือได้ว่า สินค้าคงเหลือ เป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ คือมีไว้เพื่อขาย หรือมีไว้เพื่อการผลิต ดังนั้นการบริหารสินค้าคงเหลือ ก็ถือได้ว่าเป็นการบริหารสภาพคล่องของกิจการ

การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวด เพื่อการบันทึกบัญชี และภาษี

การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวด หรือ การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด เพื่อการบันทึกบัญชีที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี และ ผลต่อภาษี สรรพากร ในส่วนที่เกี่ยวกับยอดต้นทุนสินค้าในการยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร

ก่อนอื่นขอให้รายละเอียดสินค้าคงเหลือตามมาตรฐานการบัญชีไว้ดังนี้

มาตรฐานการบัญชี

สินค้าคงเหลือ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2560) ให้ความหมายว่า “สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

                   1) ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ

                   2) อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย

                   3) อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ”

การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือเป็นดังนี้

สินค้าคงเหลือต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า

มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติของธุรกิจ หักด้วยประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จและต้นทุนทจำเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้

มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ หรือจ่ายชำระหนี้สินในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน

ทางภาษีอากร กรมสรรพากร ให้ความหมายของการตีราคาสินค้าคงเหลือเป็นดังนี้

ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือ ดังนี้

การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด  คือ ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่าและให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วยการคำนวณราคาทุนดังกล่าว เมื่อได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ใดตามวิชาการบัญชีแล้วให้ใช้หลักเกณฑ์นั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีจึงจะเปลี่ยนหลักเกณฑ์ได้

วิธีคำนวณ สินค้าคงเหลือ ปลายงวด

1.  วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน วิธีนี้ถือเกณฑ์สมมติว่าสินค้าที่ซื้อหรือผลิตได้ก่อนย่อมจะถูกขายออกไปก่อนและสินค้าที่เหลืออยู่ ณ วันสิ้นงวดจะเป็นสินค้าที่ซื้อหรือผลิตได้ครั้งหลังสุดตามลำดับ

2.  วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก วิธีนี้ถือว่าราคาทุนของสินค้าที่มีไว้ขายต่อหน่วยเท่ากับราคาทุนทั้งหมดของสินค้าที่ซื้อมาหารด้วยจำนวนหน่วยของสินค้านั้น ถ้ามี                สินค้าคงเหลือในวันสิ้นงวดเป็นกี่หน่วยก็เอาจำนวนหน่วยนั้นคูณด้วยราคาถัวเฉลี่ยต่อหน่วยที่หาได้ ก็จะได้ราคาของสินค้าคงเหลือปลายงวด

3.  วิธีเข้าหลัง-ออกก่อน วิธีนี้ถือว่าราคาของสินค้าที่ซื้อมาหรือผลิตได้ก่อนจะเป็นราคาทุนของสินค้าคงเหลือปลายงวด หรือสินค้าที่ซื้อมาหรือผลิตได้ครั้งหลังสุดของรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะเป็นสินค้าที่ขายออกไปก่อน

4.  ราคาเจาะจง วิธีนี้หมายความว่าถ้าสินค้าคงเหลือสามารถแยกออกได้โดยชัดแจ้งว่าสินค้ารายใดซื้อมาเมื่อใด ด้วยราคาเท่าใด ก็ให้ตีราคาสินค้าคงเหลือตามราคาที่แท้จริงของแต่ละรายที่คงเหลืออยู่นั้น ถ้าสินค้าคงเหลือปลายงวดมีอยู่ 2 หน่วย และสามารถชี้เจาะจงลงไปว่าเป็นสินค้าที่ซื้อมาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 ครั้งละ 1 หน่วย ราคาของสินค้าคงเหลือปลายงวดจะมีราคา 25 บาท

การบันทึกการตีราคาสินค้าคงเหลือไปสู่มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แสดงได้ดังนี้

เดบิต  ผลขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง              xxx
เครดิต  สินค้าคงเหลือหรือค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง              xxx

ดังนั้น เมื่อบันทึก สินค้าคงเหลือด้วยราคาที่ต่ำกว่า ถือว่ากิจการได้รับรู้ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของความล้าสมัย ราคาที่ลดลงไปแล้ว  ดังนั้น ยอดเงินตามบัญชี “ผลขาดทุน..ลดลง” จึงต้องเป็นรายการบวกกลับในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ต้องระวังความซ้ำซ้อน)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ที่มา : www.beeaccountant.com

 17048
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในวงการวิชาชีพบัญชี ประเด็นที่ค่อนข้างสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านและเปลี่ยนแปลง เนื่องจากด้านเทคโนโลยีในวงการวิชาชีพบัญชียังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง นับวันยิ่งเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างเห็นได้ชัดอย่างใน ปี 2020 แนวโน้มจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง นักบัญชีจะต้องเตรียมความพร้อมและรับมืออย่างไร
ใบลดหนี้ คืออะไร เอกสารที่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไปแล้ว แต่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มใหม่เนื่องจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนลดลง
จัดลำดับการทำงานให้ดีมีแต่ความสำเร็จ แต่จงจำเอาไว้ว่าควรทำงานที่สำคัญที่สุดก่อนเป็นอันดับแรกสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำงานคือเรื่องของเวลา ที่จะเป็นสิ่งที่ช่วยบริหารระดับขั้นตอนการทำงานของเราได้เป็นอย่างดี อยู่ที่ว่าเราจะใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ต้องมองการณ์ไกลและวางแผนทุกครั้งในการเริ่มต้นทำงานเพื่อผลักดันให้ตัวเองมีเป้าหมายและไปสู่ในสิ่งที่ตั้งใจเอาไว้ 
Headhunter คือผู้เชี่ยวชาญด้านการสรรหาที่ติดต่อกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อที่จะช่วยพวกเขาจัดหา คัดกรอง และจบด้วยการจ้างผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดมาเป็นพนักงาน Headhunter ทำงานให้กับบริษัทที่กำลังมองหาพนักงาน ไม่ได้ทำงานให้กับตัวพนักงาน เพราะว่าพวกเขาได้รับเงินจ้างจากบริษัทผู้จ้างสำหรับการบริการเท่านั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ และในประเทศไทย รัฐบาลไทยก็ห้ามไม่ให้บริษัทจัดหางานคิดเงินกับตัวผู้สมัครโดยเด็ดขาด และยังต้องเป็นบริษัทจัดหางานที่ถูกกฎหมาย อย่างเช่นตอนนี้สมาร์ทเสิร์ชต้องมีใบอนุญาตในการเปิดบริษัทจัดหางานและทำการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์