เงินค่าคลอดบุตร จากประกันสังคมคืออะไร

เงินค่าคลอดบุตร จากประกันสังคมคืออะไร


เงินค่าคลอดบุตรจากประกันสังคม หรือ เงินค่าคลอดประกันสังคม คือเงินสำหรับเบิกค่าคลอด ซึ่งจะใช้ได้ทั้งแบบผ่าคลอดและแบบคลอดตามธรรมชาติ ไม่คุณจะเลือกวิธีการคลอดแพงหรือแบบถูกประกันสังคมก็จะให้เบิกเงินได้จำนวน 13,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้งเท่านั้น (หากคลอดลูกแฝดก็นับเป็น 1 ครั้ง แต่สำหรับเงินสงเคราะห์บุตรหากเป็นลูกแฝดจะได้ 2 เท่าค่ะ) และคุณจะได้เงินในส่วนนี้หลังจากคลอดบุตรไปแล้ว

ดังนั้นค่าใช้จ่ายระหว่างที่ฝากครรภ์ไปจนถึงการผ่าคลอดหรือทำคลอดนั้น คุณจะต้องเป็นคนจ่ายเองก่อนทั้งหมด และประกันสังคมจะจ่ายให้หลังจากนั้นที่เดียวแบบเต็มจำนวน 13,000 บาท และนี่ก็เป็นการรวมคำถามที่เจอบ่อย ๆ เกี่ยวกับเงินค่าคลอดจากประกันสังคม

1. เราสามารถเบิกเงินค่าคลอดประกันสังคมได้กี่ครั้ง  คุณสามารถเบิกได้กี่ครั้งก็ได้ ตามจำนวนครั้งที่คุณคลอด นั่นหมายความว่าการคลอดบุตร 1 ครั้ง จะเบิกเงินได้ 13,000 บาท/บุตร 1 คน
2. จำเป็นไหมที่ต้องคลอดตามโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ

ไม่จำเป็นค่ะ คุณสามารถเข้าใช้บริการที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิเสมอไป

3. ผู้ชายเบิกค่าคลอดประกันสังคมได้ไหม

หากเป็นคุณพ่อสามารถเบิกเงินค่าคลอดจากประกันสังคมได้ค่ะ แต่คุณไม่สามารถเบิกทั้งสองคนได้นะคะ (กรณีจะใช้สิทธิจากคุณแม่ด้วย) เพราะคุณสามรถเลือกใช้สิทธิได้เพียง 1 คนเท่านั้น ซึ่งเงื่อนไขนี้เป็นเช่นกันกับการรับเงินสงเคราะห์บุตร

แต่สิทธิที่จะขอรับเงินในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ระยะ 90 วันนั้น สำหรับหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ผู้ชายไม่สามารถเบิกเงินลาคลอดตรงนี้ได้ค่ะ มีไว้สำหรับผู้หญิงเท่านั้น

4. นอกจากเงินค่าคลอดและ ยังมีสิทธิประโยชน์อะไรอีกบ้าง

สิทธิการลาคลอด คุณแม่สามารถใช้สิทธิหยุดงานลาคลอดได้ 90 วัน โดยยังได้รับเงินในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท อาทิเช่นคุณมีเดือนเดือน 15,000 บาท ก็จะได้เงิน 7,500 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือรวมทั้งหมด 22,500 บาทนั่นเองค่ะ โดยคุณแม่จะสามารถใช้สิทธินี้ได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น หมายความว่าหากคุณคลอดบุตรคนที่ 3 ก็จะไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้อีก

นอกจากนี้ยังได้เงินสงเคราะห์บุตรเดือนละ 600 บาท ต่อบุตร 1 คน อีกด้วย โดยจะได้รับเงินตั้งแต่เด็กอายุแรกเกิดไปจนถึง 6 ปีบริบูรณ์

5. แท้งบุตร หรือแท้งลูก จะได้รับเงินค่าคลอดหรือไม่

หากคุณมีมีอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ หรือประมาณ 7 เดือน คุณจะยังได้รับสิทธิค่าคลอดและสิทธิการลาคลอดตามเดิมค่ะ แต่จะไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์บุตร

เงื่อนไขของผู้ใช้สิทธิเบิกเงินค่าคลอด

  1. ต้องเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม (อ่านวิธีเช็คสิทธิประโยชน์ของประกันสังคม แต่ละมาตรา ได้จากบทความนี้)
  2. ต้องมีการส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือน (ภายในระยะเวลา15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร)
  3. บุตร 1 คน จะเบิกเงินได้ 13,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง กรณีลูกแฝดก็ได้เพียง 13,000 บาท
  4. ถ้าสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ต้องเลือกให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิประโยชน์นี้

วิธี เบิกเงินค่าคลอดบุตร จากประกันสังคม

โดยคุณสามารถขอยื่นเรื่องเพื่อรับสิทธิประโยชน์ได้ที่ สำนักงานประกันสังคมประจำจังหวัดทุกเขตพื้นที่ทั่วประเทศ ในวันและเวลาราชการ สามารถไปยื่นเรื่องด้วยตนเอง หรือทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินเรื่องแทนก็ได้ค่ะ

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับขอเบิกเงินค่าคลอดบุตร

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
  2. สูติบัตรของบุตร  ทั้งต้นฉบับและสำเนา หากคลอดลูปแฝดก็ให้นำสำเนาของลูกแต่ละคนมาด้วยนะคะ
  3. ใบเสร็จค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการคลอดบุตร
  4. สำหรับกรณีที่ผู้ชายเป็นคนขอใช้สิทธิ ต้องใช้ สำเนาทะเบียนสมรส หรือจะเป็นหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสก็ได้ค่ะ
  5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากหน้าแรก (ประเภทออมทรัพย์) ที่เป็นชื่อของผู้ยื่นคำขอ ขอธนาคารใดธนาคารหนึ่งในนี้ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารธนชาต, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารอิสลาม, ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย, ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ประกันสังคม หรือโทร 1506

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ที่มา : ประกันสังคม

 168886
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การลงทะเบียนว่างงาน และรายงานตัวว่างงาน เป็นสิทธิพื้นฐานของคนไทยที่อยู่ในระบบแรงงานที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน และผู้ประกันตนต้องเป็นผู้ทำเรื่องลงทะเบียนว่างงาน และการรายงานตัวว่างงานด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจ เพื่อรับเงินชดเชยต่อเดือนตามฐานเงินเดือน และเงินสมทบที่จ่าย
เงินที่พนักงานเอกชน หรือผู้ประกันตนมาตรา 33 ถูกหักเข้าไปสมทบประกันสังคม จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ประกันว่างงาน และสุดท้ายคือ เงินชราภาพ ที่เราจะได้รับเมื่อยามเกษียณ ซึ่งมาจาก 3% ของฐานเงินเดือน หมายความว่า หากเราจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาทต่อเดือน ก็จะถูกหักเงินเข้ามาเป็นเงินออมชราภาพ จำนวน 450 บาท ทันที
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กำลังพิจารณาการกำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อัตราใหม่
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์