หจก. กับ บจก. ต่างกัน อย่างไร ?

หจก. กับ บจก. ต่างกัน อย่างไร ?


หลายคนอาจจะยินชื่อของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด  และ  บริษัทมหาชนจำกัด แต่ยังไม่แน่ใจถึงความแตกต่างของบริษัททั้งสองประเภทนี้ เรามาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันดีกว่าค่ะ 

จำนวนผู้เริ่มจดจัดตั้ง 

บจก. : 3 คนขึ้นไป

หจก. : อย่างน้อย 2 คนขึ้นไป (จำกัดและไม่จำกัด อย่างน้อยจำพวก ละ 1 คน)

เงื่อนไขความรับผิดชอบ  

บจก. : ทุกคนจำกัดความรับผิดชอบ 

หจก. :  มีหุ้นส่วน 2 จำพวก คือ จำกัดความรับผิดชอบ และไม่จำกัดความรับผิดชอบ 

ความรับผิดชอบในหนี้สิน 

บจก. : รับผิดชอบเฉพาะเงินลงทุนที่ยังไม่ได้ชำระ

หจก. : หุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบตามเงินลงทุน ส่วนหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมด (รวมถึงทรัพย์สินส่วนตัวด้วย)

การบริหารงาน :

บจก. : บริหารงานโดยคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง 

หจก. : การตัดสินใจต้องมีการเห็นขอบจากหุ้นส่วน

ผู้เซ็นต์รับรองงบการเงินประจำปี 

บจก. : CPA เป็นผู้เซ็นต์รับรองงบ 

หจก. : TA หรือ CPA เป็นผู้เซ็นต์รับรองงบ

การรับรองงบการเงินประจำปี

บจก. : ต้องมีการประกาศเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ปีละครั้ง

หจก. : ไม่ต้องมีการประกาศเชิญด้วยการลงโฆษณา

 ความแตกต่างของคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ  คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินของห้างทั้งหมดโดยไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้ และผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิที่จะจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้  ห้างหุ้นส่วนสามัญจำแนกเป็น 2 ประเภทคือ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน  และ  ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน 

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน ใช้คำคำนำหน้าชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” ห้างหุ้นส่วนนี้มีหุ้นส่วนประเภทเดียวคือ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด โดยหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน และผู้เป็นหุ้นส่วนจะตกลงให้มีผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนเป็นผู้จัดการขก็ได้

ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน เป็นบุคคลธรรมดา ใช้คำคำนำหน้าชื่อว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ถ้าไม่ได้ระบุลงในสัญญาห้าง ตามกฎหมายให้ถือว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิจัดการได้

ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญ

• จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้

• มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียงประเภทเดียว คือ ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สิน

• ทุนที่นำมาเป็นเงินสด สินทรัพย์ต่าง ๆ และแรงงานได้

• ผู้เป็นหุ้นส่วนมีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วนได้

• เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เป็นหุ้นส่วนใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวได้

• เมื่อหุ้นส่วนผู้ใดถึงแก่ความตายหรือลาออกจากห้างหุ้นส่วน หรือล้มละลาย สัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนเป็นอันสิ้นสุดต้องเลิกกิจการ

2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด  คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทที่มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 จำพวก ได้แก่ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และ หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด

หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน ต้องรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงโดยไม่จำกัดจำนวน และหุ้นส่วนประเภทนี้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างได้

หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้แก่ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคน รับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้นและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างไม่ได้

ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนจำกัด

• ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

• มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดชอบ และประเภทที่จำกัดความรับผิดชอบ

• ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบไม่มีสิทธิเข้าจัดการกับห้างหุ้นส่วน และไม่สามารถลงทุนเป็นแรงงานได้ รวมถึงเมื่อตาย ลาออก ล้มละลาย ไม่ต้องเลิกกิจการ

• เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ใช้หนี้จากสินทรัพย์ส่วนตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!



ที่มา : www.daa.co.th

 37538
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์