การประเมินผลการปฎิบัติงานสำคัญกับองค์กรอย่างไร

การประเมินผลการปฎิบัติงานสำคัญกับองค์กรอย่างไร


การประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Appraisal : PA)
 ถือเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรที่ช่วยชี้วัดความสำเร็จได้ การประเมินนี้เป็นวิธีการวัดผลทางการปฎิบัติงานของพนักงานทั้งในเรื่องความสามารถในการทำงานไปจนถึงศักยภาพที่ช่วยให้บริษัทประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น แล้วการประเมินผลการปฎิบัติงานนี้ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของ การพัฒนาทางอาชีพ (Career Development) ที่สำคัญขององค์กรด้วย

ถึงแม้ว่าการประเมินผลนั้นจะไม่ได้มีส่วนช่วยพัฒนาทักษะใดๆ โดยตรง แต่สิ่งนี้จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานในแต่ละบุคคลได้ดีอีกด้วย นอกจากจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าองค์กรควรจะต้องปรับปรุงเรื่องใด พนักงานควรจะพัฒนาตัวอย่างไร หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรจะช่วยเสริมทักษะด้านไหนของพนักงานแต่ละคนแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างของการประเมินผลการปฎิบัติงานก็คือการเป็นดรรชนีชี้วัดความสำเร็จของการทำงาน ซึ่งมีผลต่อการเลื่อนตำแหน่ง, ขึ้นเงินเดือน, พิจารณาโบนัส, หรือแม้แต่เลิกจ้างพนักงานแต่ละคน และนี่คือสิ่งที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ (HR) จำเป็นที่จะต้องใส่ใจเป็นลำดับต้นๆ เลยทีเดียว

หลักการสำคัญในการประเมินผล
+ หลักเกณฑ์เป็นที่ยอมรับ :ก่อนการประเมิน พนักงานทุกระดับควรมีสิทธิ์ทราบในเรื่องหลักเกณฑ์ของการประเมินผล เพื่อเกิดการยอมรับร่วมกัน และเป็นมาตรฐานเดียวกัน หากหลักเกณฑ์แตกต่าง ไม่เท่าเทียม ไม่เป็นที่ยอมรับ ก็อาจส่งผลเสียต่อการประเมิน และทำให้พนักงานเกิดทัศนติลบกับองค์กรได้

+ กำหนดระยะเวลาชัดเจน :ทุกการประเมินควรมีการกำหนดระยะเวลาการประเมินที่ชัดเจน และทุกคนควรรู้ข้อกำหนดร่วมกัน ไม่ควรทำการประเมินที่ไปเรื่อยๆ ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด นอกจากจะเป็นการประเมินที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลงเรื่อยแล้ว ยังก่อให้เกิดความกดดันในระยะยาว และอาจสร้างความเบื่อหน่ายแทนที่แรงจูงใจได้ และการไม่มีกำหนดเวลาชัดเจนนั้นก็ย่อมไม่มีจุดวัดผลที่ชัดเจนด้วยเช่นกัน

+ สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร :แต่ละองค์กรมักมีเป้าหมายต่างกัน หลักในการสร้างเครื่องมือการประเมินผลที่ดีนั้นคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กรเป็นหลักด้วย เพื่อสะท้อนมาสู่รายละเอียดของบรรทัดฐานการประเมิน ตลอดจนดัชชีชีวัดที่สามารถประเมินผลลัพธ์ให้สอดคล้องกับทิศทางหรือเป้าหมายขององค์กรได้


จุดประสงค์ของการประเมินผลการปฎิบัติงาน
1.เพื่อวัดผลศักยภาพการทำงานของพนักงาน : การประเมินผลนี้จะอิงจากคำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) ของแต่ละตำแหน่งเป็นหลัก เพื่อทราบว่าพนักงานปฎิบัติงานได้หรือไม่ ดีกว่าหรือต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้ ทำได้เกิดหรือขาดจากลักษณะงานมาตรฐาน และอาจทำให้เห็นจุดเด่นของพนักงานแต่ละคนได้มากขึ้น รวมถึงจุดด้อยด้วยเช่นกัน

2.เพื่อเลื่อนตำแหน่งหรือโยกย้าย : หากพบว่าพนักงานมีศักยภาพสูง ฝ่าย HR อาจเลื่อนตำแหน่งให้เหมาะสมกับความสามารถ หรือท้าทายด้วยการให้ทำงานในตำแหน่งใหม่ๆ กระทั่งอาจจะโยกย้ายไปทำในแผนกอื่นที่จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทได้เช่นกัน

3.เพื่อปรับฐานเงินเดือนหรือพิจาณาโบนัส : ปฎิเสธไม่ได้ว่าเรื่องเงินเดือนเป็นเรื่องที่สำคัญต่อพนักงานทุกคน และความก้าวหน้าในอาชีพอย่างหนึ่งก็คือการได้รับพิจารณาขึ้นเงินเดือนนั่นเอง ผลประเมินการทำงานจะนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการขึ้นเงินได้อย่างสมเหตุสมผล รวมถึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการพิจารณาโบนัสประจำปีอีกด้วย ซึ่งมันสามารถช่วยกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน และเพิ่มประสิทธิผลของงานได้เช่นกัน

4.เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน : การประเมินผลการทำงานจะทำให้ทุกคนในบริษัทรู้ถึงศักยภาพของตัวเองและรู้ถึงประสิทธิภาพของบริษัทด้วย หากไม่มีการประเมิลผลการทำงานเราอาจไม่รู้ว่าความสามารถของแต่ละคนนั้นเป็นอย่างไร แต่เมื่อเห็นผลแล้วก็จะยิ่งช่วยกระตุ้นการพัฒาศักยภาพให้สูงยิ่งขึ้นต่อไปได้ด้วย

5.เพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง พัฒนาจุดเด่น : ประโยชน์หนึ่งของการประเมินผลการทำงานก็คือการที่ทำให้เราได้เห็นจุดด้อยในส่วนต่างๆ ตั้งแต่เรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน ไปจนถึงเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร ซึ่งเราสามารถนำปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขจุดบกพร่องให้ดีขึ้นได้ หรือหากพบจุดเด่นก็อาจช่วยส่งเสริมศักยภาพให้ดีขึ้นไปอีก อย่างเช่น การจัดอบรมพิเศษ, คอร์สเสริมทักษะ, หรือแม้แต่การส่งไปศึกษาต่อ เป็นต้น

ระบบการประเมินผลการปฎิบัติงาน
การประเมินส่วนข้อมูลบุคคล (Personal Data)
วิธีการประเมินผลพนักงานส่วนนี้เป็นส่วนข้อมูลปฎิบัติการส่วนบุคคล เช่น การขาด ลา มาสาย หรือแม้แต่การลงโทษใดๆ ข้อมูลในส่วนนี้อาจไม่เกี่ยวกับเรื่องการทำงาน หรือความสามารถ แต่เป็นส่วนสำคัญที่จะนำมาประเมินผลองค์รวม

การประเมินผลการปฎิบัติงาน (Performance Evaluation)
วิธีการประเมินผลพนักงานส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับการทำงานโดยตรง วัดจากผลงานเป็นหลัก ประเมินความสามารถตามหน้าที่การทำงานตามคำบรรยายงาน (Job Description) ที่กำหนดไว้ ประเมินตามทักษะงานของแต่ละคน ส่วนใหญ่เป็นการประเมินด้านปริมาณมากกว่าคุณภาพ


การประเมินสมรรถนะ (Competency Evaluation)
วิธีการประเมินผลพนักงานส่วนนี้จะเป็นลักษณะการประเมินศักยภาพของพนักงานที่ตรงตามความคาดหวังตามตำแหน่งนั้นๆ หรือบริษัทนั้นๆ หรือไม่ บางคนอาจมีความสามารถดี แต่ไม่มีศักยภาพในการทำงานในระดับที่สูงขึ้น ก็อาจส่งผลให้ไม่ได้รับการประเมินเลื่อนตำแหน่งได้ หรือบางคนแสดงศักยภาพในการทำงานได้โดดเด่น ก็อาจจะส่งผลต่อการเลื่อนตำแหน่งได้เช่นกัน

การประเมินผลทางเจตคติ (
Attitude Evaluation)
วิธีการประเมินผลพนักงานส่วนนี้จะอิงตามทรรศนะส่วนบุคคล เป็นการแสดงความคิดเห็น แสดงทัศนคติ ประเมินตามหลักจิตวิทยา ประเมินจากการปฎิบัติตน หรือประเมินตามความพึงพอใจ การประเมินแบบนี้จะเกิดจากความรู้สึกส่วนตัว ไม่มีการวัดค่าตัวเลขหรือผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจน มีความอ่อนไหวสูง แต่ก็มีความสำคัญในการประเมินมากเช่นกัน

อ่านบทความประโยชน์สำคัญของการประเมินผลปฎิบัติงาน คลิกที่นี่!!

ที่มา : th.hrnote.asia

 11585
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การประเมินผล (Evaluation) ถือเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งขององค์กรเลยก็ว่าได้ เพราะผลประเมินนั้นจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบตั้งแต่ใช้ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้น, ตรวจสอบมาตรฐานขององค์กร, ประเมินศักยภาพของพนักงาน, กระตุ้นการทำงานตลอดจนพัฒนาการของบุคลากร, ไปจนถึงประเมินอัตราจ้างและผลโบนัสประจำปีอีกด้วย อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้มีเครื่องมือที่นำมาใช้ประเมินผลมากมายหลายรูปแบบ ตลอดจนวิธีการประเมินผลที่เพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้ดีขึ้น หนึ่งในการประเมินผลที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากก็คือ “การประเมินผลรอบด้านแบบ 360 องศา (360-degree Feedback)” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และเป็นหนึ่งในเครื่องมือการประเมินผลที่ยอดเยี่ยมที่สุดเลยทีเดียว
การสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษ (Job Interview in English) นั้นกลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับบริษัทส่วนใหญ่ไปโดยปริยายแล้ว ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) มักจะเพิ่มการสัมภาษณ์งานช่วงนี้เข้ามาเพื่อทดสอบและประเมินศักยภาพของผู้สมัครงานแต่ละคนด้วย ถึงแม้ว่าบางบริษัทอาจจะไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการทำงานก็ตาม แต่ยุคปัจจุบันภาษาก็มีความสำคัญในทุกมิติของการทำงานด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่ผู้สมัครจะเตรียมตัวในการตอบคำถามในส่วนนี้มาเป็นอย่างดีแล้ว ผู้สัมภาษณ์งานเองก็ควรจะต้องเตรียมตัวในส่วนนี้ให้ดีด้วยเช่นกัน เบื้องต้นอาจเริ่มด้วยการวางแผนในเรื่องคำถามภาษาอังกฤษ ตลอดจนลำดับการสัมภาษณ์ที่เอื้อประโยชน์ต่อการสนทนาที่ลื่นไหล ไปจนถึงการเช็คความถูกต้องและวัตถุประสงค์ของคำถาม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพให้มากที่สุด
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์