ผู้ประกันตนที่เกษียณจากการทำงาน ควรจะวางแผนและดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ “สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ”คุ้มค่ามากที่สุด ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง การเกษียณอายุมีผลทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคมสิ้นสุดลงและเกิดสิทธิ 3 ประการ คือ
นับแต่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
2. สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อไป ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงความจำนงสมัครภายใน 6 เดือน นับแต่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตามมาตรา 39 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
3. รับเงินชราภาพซึ่งอาจเป็นเงินบำเหน็จชราภาพหากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ครบ 180 เดือน (นับตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2541) หรือเงินบำนาญชราภาพหากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือมากกว่า (นับตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2541) โดยจะต้องยื่น คำขอรับภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ แต่หากยื่นคำขอไม่ทันตามเวลาก็จะต้องแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถยื่นคำขอได้ทันตามเวลา
เนื่องจากมีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่จะได้รับในแต่ละเดือนหลังเกษียณจนตลอดชีวิต ซึ่งปัญหาหนึ่งอาจเกิดจากข้อกฎหมายที่ไม่มีความชัดเจนทำให้ผู้ประกันตนเข้าใจคลาดเคลื่อน บทความนี้ ผู้เขียนจึงขอเน้นย้ำอีกครั้ง สำหรับ “สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ” ว่าผู้ประกันตนควรจะใช้สิทธิอย่างไรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด คือ การได้เงินบำนาญชราภาพจำนวนมาก
กล่าวโดยสรุป สำหรับผู้เกษียณอายุที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ(1) ต้องยื่นคำขอรับเงินบำนาญชราภาพก่อนที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เพื่อให้ได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนจำนวนมากกว่าการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในทันที
(2) อัตราร้อยละที่นำมาคำนวณจะถูกปรับเพิ่มมากขึ้น 1.5% ของทุกๆ การจ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ด้วยเหตุนี้ หากระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบมากจำนวนเงินบำนาญชราภาพจะมากขึ้น และถ้าจ่ายไม่ครบ 12 เดือนจะไม่ได้ถูกปรับ
เพิ่ม 1.5%
(3) การตัดสินใจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะทำให้ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อไปโดยไม่จำกัดอายุจนกว่าความเป็นผู้ประกันตนจะสิ้นสุดลง แต่การตัดสินใจว่าต้องการได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อไปหรือไม่ภายหลังจากเกษียณอายุ ถือเป็นความจำเป็นของผู้ประกันตนแต่ละคน!