ผู้ประกันตน “เกษียณ...ขอรับเงินบำนาญ” ก่อนสมัครมาตรา 39

ผู้ประกันตน “เกษียณ...ขอรับเงินบำนาญ” ก่อนสมัครมาตรา 39



ผู้ประกันตนที่เกษียณจากการทำงาน ควรจะวางแผนและดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ “สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ”
คุ้มค่ามากที่สุด ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้อง การเกษียณอายุมีผลทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคมสิ้นสุดลงและเกิดสิทธิ 3  ประการ คือ

1. ได้รับความคุ้มครองโดยผลของกฎหมายต่อไปอีก 6 เดือน 

นับแต่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 

2. สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 

เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อไป ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงความจำนงสมัครภายใน 6 เดือน นับแต่ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตามมาตรา 39  วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

3. รับเงินชราภาพ 

ซึ่งอาจเป็นเงินบำเหน็จชราภาพหากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่ครบ 180 เดือน (นับตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2541) หรือเงินบำนาญชราภาพหากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือมากกว่า (นับตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2541) โดยจะต้องยื่น คำขอรับภายใน 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ แต่หากยื่นคำขอไม่ทันตามเวลาก็จะต้องแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถยื่นคำขอได้ทันตามเวลา

เนื่องจากมีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่จะได้รับในแต่ละเดือนหลังเกษียณจนตลอดชีวิต ซึ่งปัญหาหนึ่งอาจเกิดจากข้อกฎหมายที่ไม่มีความชัดเจนทำให้ผู้ประกันตนเข้าใจคลาดเคลื่อน บทความนี้ ผู้เขียนจึงขอเน้นย้ำอีกครั้ง สำหรับ “สิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ” ว่าผู้ประกันตนควรจะใช้สิทธิอย่างไรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด คือ การได้เงินบำนาญชราภาพจำนวนมาก

กล่าวโดยสรุป สำหรับผู้เกษียณอายุที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ

(1) ต้องยื่นคำขอรับเงินบำนาญชราภาพก่อนที่จะสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เพื่อให้ได้รับเงินบำนาญชราภาพรายเดือนจำนวนมากกว่าการสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ในทันที

(2) อัตราร้อยละที่นำมาคำนวณจะถูกปรับเพิ่มมากขึ้น 1.5% ของทุกๆ การจ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือน ด้วยเหตุนี้ หากระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบมากจำนวนเงินบำนาญชราภาพจะมากขึ้น และถ้าจ่ายไม่ครบ 12 เดือนจะไม่ได้ถูกปรับ
เพิ่ม 1.5% 

(3) การตัดสินใจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะทำให้ได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อไปโดยไม่จำกัดอายุจนกว่าความเป็นผู้ประกันตนจะสิ้นสุดลง แต่การตัดสินใจว่าต้องการได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคมต่อไปหรือไม่ภายหลังจากเกษียณอายุ ถือเป็นความจำเป็นของผู้ประกันตนแต่ละคน! 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ที่มา : www.dst.co.th
 12857
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงินที่พนักงานเอกชน หรือผู้ประกันตนมาตรา 33 ถูกหักเข้าไปสมทบประกันสังคม จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ประกันว่างงาน และสุดท้ายคือ เงินชราภาพ ที่เราจะได้รับเมื่อยามเกษียณ ซึ่งมาจาก 3% ของฐานเงินเดือน หมายความว่า หากเราจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาทต่อเดือน ก็จะถูกหักเงินเข้ามาเป็นเงินออมชราภาพ จำนวน 450 บาท ทันที
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กำลังพิจารณาการกำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ของผู้ประกันตนมาตรา 33 อัตราใหม่
ผู้ประกันตนแต่ละมาตราที่ส่งเงินสมทบประกันสังคม สามารถคัดสำเนาการนำส่งเงินสมทบ เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีประจำปีได้ โดยแต่ละมาตราจะลดหย่อนได้สูงสุดเท่าไหร่ เช็คได้ที่นี่เลย
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์