1. ต้องเสียภาษีแบบไหน
ทำความเข้าใจกันก่อนว่าการขายของออนไลน์นั้นหากไม่ได้มีการเปิดหรือจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท จะถือเป็นการเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการค้าขาย และช่วงเวลาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีจะมีอยู่ 2 ช่วงดังนี้
1.ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที
่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา(ตอนนี้ขยายระยะเวลาถึงสิ้น
เดือน ส.ค. เนื่องจ
ากเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด19)2.ยืนภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือน ก.ค. - ก.ย. เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่
ค่าลดหย่อน บางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย แต่สำหรับร้านค้าออนไลน์ คำนวนภาษีได้ 2 แบบ คือ
1.เสียภาษีแบบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา2.เสียภาษีแบบนิติบุคคล (กรณีนี้สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนเป็นบริษัท) แต่ส่วนใหญ่ร้านค้าออนไลน์ม
ักจะไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์
เลยขอพูดเฉพาะการคำนว
นภาษีแบบบุคคลธรรมดา สูตรคือ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย จุดสำคัญอยู่ที่ ค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน
2. วิธีคิดค่าใช้จ่ายมีกี่แบบ?
1.หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ซื้
อมา ขายไป ไม่ได้ผลิตเอง
2.หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้า
เอง
3.หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา คือ คิดภาษี 0.5% หากมีรายได้จากการขายของออน
ไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท (วิธีนี้คิดเป็นภาษีเลยคือ รายได้ x 0.5% = ภาษีที่ต้องเสีย)
ส่วนรายการลดหย่อนภาษี สามารถดูได้จากนี่เลย ปล.ตอนนี้รัฐบาลเพิ่มวงเงิน
หักลดหย่อนประกันสุขภาพจากเ
ดิมไม่เกิน15,000บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท >
3. อัตราภาษี
- คิดตามขั้นบันได
4. ตัวอย่างการคำนวนภาษี
ในตัวอย่างจะไม่มีค่าลดหย่อนอะไรเลยนอกจาก ลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท แต่ถ้าใครมีลดหย่อนอะไรก็ใส่ไปให้หมดเลย เพราะภาษี จะเสียมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่าย และ ค่าลดหย่อน
5. ยื่นภาษีที่ไหนได้บ้าง?
สามารถยื่นภาษีได้ที่
- กรมสรรพากร
- เว็บไซต์ https://www.rd.go.th/
- แอปพลิเคชั่น RD Smart Tax
ขยายเวลาให้ยื่นภ.ง.ด.90 ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 63 – 31 ส.ค. 63 โดยยื่นได้หลายช่องทาง ได้แก่
- ยื่นแบบแสดงภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร
- ยื่นออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร
- ยื่นผ่านแอปพลิเคชั่น RD Smart Tax แต่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรก่อน
6. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วนเรื่อง ภาษีมูลค่าเพิ่ม นั้นจะดูที่รายได้ของเรา ถ้าเรามีรายได้ (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) เกิน 1.8 ล้านบาท ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT แล้วนะ โดยเสีย 7% จากยอดรายได้นี่แหละ ซึ่งหลักการสำคัญ ก็คือ ถ้ายอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทเมื่อไรต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน หลังจากนั้นก็ไปศึกษาเพิ่มเติมกันต่อ
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : กรมสรรพากร และ www.page365.net