การจะบริหารคลังสินค้าให้มีสภาพคล่องมากที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ถูกเวลา (Right Time) ถูกสถานที่ (Right Place) และ ต้นทุนที่เหมาะสม (Right Cost)
เพราะฉะนั้นการวางระบบโลจิสติกส์ที่ดีจึงเป็นตัวช่วยหลักในการสร้าง 3 ปัจจัยเหล่านี้ให้เกิดขึ้น เนื่องจากระบบโลจิสติกส์คือการขนส่งสินค้าจากคลังของเราไปสู่ผู้บริโภค ผ่านระบบกระจายสินค้า ทำให้เกิดต้นทุนการขนส่งไปจนถึงการจัดเก็บสินค้า กลายเป็นต้นทุนที่องค์กรของเราต้องแบกรับ
ดังนั้นองค์กรหรือบริษัทจึงต้องบริหารคลังสินค้าให้ดี มีระบบ เพื่อให้กิจกรรมการขนส่งหรือระบบโลจิสิกส์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุน และทำให้คลังของเราสามารถเก็บและกระจายสินค้าได้ตลอดเวลาโดยไม่ติดขัด และสามารถวางแผนการสั่งซื้อได้ดีอีกด้วย
พื้นที่เก็บสินค้า คือสิ่งแรกที่ต้องคำนึง
การมีพื้นที่ในคลังสินค้าเพียงพอต่อความต้องการในการเก็บสินค้าคือสิ่งสำคัญที่สุด เราต้องรู้ปริมาณสินค้าที่จะจัดเก็บ ปริมาณสินค้าที่ส่งออกต่อวัน ลักษณะของสินค้า เพื่อมองหาคลังสินค้าที่มีขนาดและรูปแบบเหมาะสมที่สุด นอกจากนี้อย่าลืมให้ความสำคัญกับอุปกรณ์ที่จะช่วยทำให้การจัดเก็บสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เช่น ชั้นวางสินค้าหรือ Rack เป็นต้น
นอกจากเรื่องของพื้นที่จัดเก็บและอุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงสินค้าแล้ว การวางระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เป็นส่วนที่มองข้ามไม่ได้ ต้องมีการฝึกอบรมและสื่อสารให้แต่ละคนเข้าใจถึงตำแหน่งและหน้าที่ของตัวเอง เพื่อให้พนักงานปรับตัวเข้ากับระบบการทำงานในคลังสินค้าให้ได้มากที่สุด
Warehouse Management System (WMS) คือโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยบริหารจัดการคลังสินค้าและระบบโลจิสติกส์ของคลังสินค้า ครอบคลุมระบบต่าง ๆ ในคลังสินค้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บ (Putaway) การจัดและการเติมสินค้า (Picking & Replenishment) เป็นต้น
แนวคิดบริหารคลังสินค้าแบบลีนคือการตัดอุปกรณ์ กระบวนการ หรือทรัพยากรที่ไม่จำเป็นออกเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการจัดการคลังสินค้ามากที่สุด อาจนำระบบ 5S เข้ามาปรับใช้ด้วย เช่น
ที่มา : www.proindsolutions.com