เงินเดือนและรายได้แต่ละเดือน ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง

เงินเดือนและรายได้แต่ละเดือน ลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง



มาทำความเข้าใจ เงินเดือนหรือรายได้สำหรับลดหย่อนภาษี นั้นมีอะไรบ้าง สำหรับเงินหรือรายได้ในแต่ละเดือนที่เรียกว่าเงินได้พึงประเมิน นั้นสามารถนำไปลดหย่อนหักลดภาษีได้อย่างไรบ้าง และสามารถแบ่งออกได้กี่ประเภทมีอะไรบ้าง

อันดับแรกเราจำเป็นต้องหาเงินได้พึงประเมินในแต่ละเดือนของเราก่อนโดย เงินได้พึงประเมิน นั้นคือ  เงินเดือนหรือรายได้แต่ละเดือนที่เราได้ ก็ต้องนำมาคิดคำนวณด้วยเช่นกัน โดย เงินได้พึงประเมิน แบ่งออกเป็น 8 ประเภทดังนี้

  • เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

  • เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้

  • เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

  • เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ

  • เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

  • เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

  • เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

  • เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

สมมติว่า นาย ออม พนักงานบริษัทเอกชน มีเงินเดือน 30,000 บาท เขาจะหักภาษีได้ ดังนี้

  • นายอดออม มีรายได้ทั้งปี 30,000 บาท x 12 เดือน = 360,000 บาท

  • เนื่องจาก “เงินเดือน” เป็นรายได้ตาม 40(1) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ดังนั้น นายอดออม ต้องนำรายได้ทั้งปีมาคูณ 50% จะได้ 360,000 x 50% = 180,000 บาท

  • ถึงแม้กฎหมายจะบอกว่า หักได้ 50% ก็จริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท หมายความว่า นายอดออม จะหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 100,000 บาทเท่านั้น

ค่าลดหย่อน ที่สามารถนำมาลดภาษีได้

เงินเดือนลดหย่อนภาษี

ค่าลดหย่อน เรียกแบบง่ายๆคือค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่เราเสียไปแต่จะต้องเป็นค่าลดหย่อนที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

1. ค่าลดหย่อนของผู้มีเงินได้

  • ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ นำมาใช้หักลดภาษี หากเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว

  • ค่าลดหย่อนในการเลี้ยงดูบิดามารดา

  • ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบูตรหรือดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน เป็นต้น

2. ค่าลดหย่อนจากการออมหรือการลงทุน

ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ เอาไปทำการลงทุน เอาไปฝากธนาคารเพื่อออมเงินในประกันชีวิตที่มีระยะเวลา 10 ขึ้นไปหรือกองทุนต่าง ๆ ตามที่ทางกฎหมายกำหนด เช่น

  • ประกันชีวิตระยะเวลาคุ้มครองเกิน 10 ปีขึ้นไป

  • กองทุน รวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

  • กองทุน ออมเงินในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

3. ค่าลดหย่อนกรณีพิเศษจากรัฐ

ค่าลดหย่อนประเภทนี้จะเกิดก็ต่อเมื่อรัฐบาลสมัยนั้น ๆ มีนโยบายพิเศษออกมา ซึ่งมีความไม่แน่นอนต้องรอข่างจากทางรัฐบาลเท่านั้น เช่น

  • ค่าลดหย่อนในการซื้อบ้านหลังแรก

  • ค่าลดหย่อนโครงการช็อปช่วยชาติ

  • ค่าลดหย่อนโครงเที่ยวเมืองรอง

4. ค่าลดหย่อนจากการบริจาค

ค่าลดหย่อนนี้ทางกฎหมายต้องการตอบแทนคนที่เสียสละ บริจาคเงินเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยผู้ที่บริจาคเงินให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรซึ่งอยู่ในรายชื่อที่กรมสรรพากรประกาศไว้ จะสามารถนำเงินบริจาคมาลด หย่อนภาษีได้ เช่น

  • บริจาคเงินให้วัด

  • บริจาคเงินให้โรงเรียน

  • บริจาคเงินให้โรงพยาบาล

  • บริจาคเงินให้สถานเลี้ยงเด็กเร่ร่อน หรือมูลนิธิต่างๆ

  • (โดยจะต้องมีรายชื่อตามที่ทางกรมสรรพากรประกาศไว้เท่านั้น)

ที่มา : www.moneyguru.co.th

 760
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์