คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น
สัญญาจ้างทำของมุ่งทำสิ่งที่ตกลงกันนั้นให้สำเร็จเสร็จสิ้น แล้วจึงจะได้ค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ โดยผู้รับจ้างสามารถไปว่าจ้างผู้อื่นมาทำสิ่งนั้นแทนได้ (ยกเว้นระบุในสัญญาว่าต้องเป็นคนๆ นั้น เช่น จ้างดารามาเป็นพรีเซ็นเตอร์) โดยผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจในการบังคับสั่งการ และไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของผู้รับจ้างฉะนั้น ลักษณะการทำงานของฟรีแลนซ์ จึงเป็นการทำงานภายใต้ สัญญาจ้างทำของ ซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทน คือผู้ว่าจ้างจะให้ค่าจ้างเมื่อผู้รับจ้างทำงานสำเร็จตามตกลง เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบฟอร์ม คือสัญญาจ้างทำของเกิดขึ้นได้เมื่อมีการตกลงร่วมกัน แม้แต่สัญญาปากเปล่า หรือเขียนขึ้นบนกระดาษทิชชูก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
ปัญหาโลกแตกของฟรีแลนซ์
แม้ไม่ใช่นักออกแบบ บรรณาธิการอิสระก็ยังถูกโกงได้ ในกรณีนี้ แม้ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร ก็สามารถฟ้องร้องได้ เช่น การใช้หลักฐานการส่งงาน ก็เพียงพอต่อการฟ้องบังคับผู้จ้างให้ชำระเงิน แต่อาจไม่ตรงกับที่ตกลงไว้แต่แรก เนื่องจากไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเนื้องานต้องเป็นอย่างไร ค่าจ้างเท่าไหร่ ภายในระยะเวลาใด ฉะนั้น เพื่อป้องกันเหตุการณ์นี้ ก็ต้องทำสัญญา และระบุอย่างละเอียดทั้งเนื้องาน ปริมาณ ค่าตอบแทน ระยะเวลาการส่งงาน หรือการจ่ายค่าตอบแทนเช่นกัน
หรือการว่าจ้างปากเปล่า แล้วผู้ว่าจ้างจ่ายเป็นเช็คเด้ง เช็คที่เด้งนั้นก็คือหลักฐานของการว่าจ้าง ซึ่งนำไปฟ้องร้องได้เช่นกัน ฉะนั้น เพื่อความรัดกุม ควรจะทำสัญญาขึ้นมาเป็นลายลักษณ์อักษร และมีองค์ประกอบครบถ้วน
องค์ประกอบของสัญญาจ้างทำของ
Q: ผู้ว่าจ้างระบุไม่ให้ผู้รับจ้างทำของลักษณะใกล้เคียงกันให้แก่ผู้อื่นได้หรือไม่?
A: ทำได้ เพราะเสรีภาพในการทำสัญญาจะระบุข้อตกลงแบบไหนก็ได้ แต่ต้องมีระยะเวลากำหนด เช่น ข้อตกลงห้ามนำความรู้ไปขายให้คู้แข่ง รักษาความลับ เป็นต้น ในกรณีนี้ ผู้ถามเป็นนักวาดภาพประกอบ ซึ่งมีสไตล์ชัดเจน เมื่อสัญญาระบุมาว่าห้ามมิให้เธอใช้ภาพวาด สไตล์ เดียวกันนี้กับสำนักพิมพ์อื่น เธอจึงไม่เซ็นสัญญา เพราะสไตล์การวาดคือสิ่งที่เธอเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ว่าวาดรูปอื่นก็ยังคงมีสไตล์นี้อยู่ดี เธอคิดว่าสำนักพิมพ์ไม่มีสิทธิ์ห้ามเธอใช้ สไตล์ ของเธอกับงานอื่นๆ ซึ่งนี้คือข้อถกเถียงกันด้วย ภาษา ที่ใช้ในสัญญา ซึ่งสำหรับนักกฏหมายก็ต้องหาทางใช้คำที่เจาะจงกว่านี้ ซึ่งเป็นเรื่องยากไม่น้อย
Q: ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินช้าจะทำอย่างไร?
A: การบังคับให้จ่ายเร็วเป็นเรื่องยาก หากไม่ได้ทำสัญญาระบุงวดการจ่ายเงินให้ชัดเจน ซึ่งต้องทำตั้งแต่แรก
Q: ทำงานเสร็จ และส่งมอบเรียบร้อย แต่ลูกค้าไม่จ่ายเงิน จะทำอย่างไร?
A: มีสิทธิ์ยกเลิกสัญญา และขอให้เขาจ่ายเงิน กระบวนการนี้ยังไม่ต้องแจ้งความฟ้องร้อง แต่ให้ยื่นเป็นหนังสือเตือนก่อน ให้ลูกค้าตรวจรับงานและจ่ายเงินภายในเวลาเท่านั้นเท่านี้ หากไม่ทำตามถือว่าคุณผิดสัญญาและจะฟ้องร้องดำเนินคดีในลำดับต่อไป
Q: ทำสัญญากับต่างชาติต้องคำนึงถึงอะไร?
A: ต้องตกลงกันว่าจะใช้กฏหมายของประเทศใด เพราะแต่ละประเทศมีข้อกำหนดต่างกัน แต่ถ้าทำงานในไทยก็ควรใช้กฏหมายไทยเป็นหลัก
Q: บอกเลิกสัญญาปากเปล่าได้ไหม?
A: ได้ เพราะสัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ แต่การบอกปากเปล่าไม่รัดกุม ควรมีหลักฐาน ทำเป็นหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญา จะทำฝ่ายเดียว หรือเซ็นเป็นข้อตกลงก็ได้ ไม่ใช่แต่ผู้ว่าจ้างจะขอยกเลิกสัญญาได้ ผู้รับจ้างก็บอกเลิกได้เช่นกัน ตัวอย่างการเขียนหนังสือคือ เนื่องจากคุณ…(ไม่ปฏิบัติตามสัญญา) จึงขอยกเลิกการรับจ้างนี้ โดยขอให้คุณจ่ายค่าผลงานเป็นเงิน… แล้วทางเราจะส่งแบบหรือผลงานที่ทำให้… โดยต้องระบุให้ละเอียด
Q: ออกแบบสินค้าลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้ออกแบบจะได้ค่าตอบแทน 60% จากราคาขาย แต่ออกแบบไปให้นานแล้ว ผู้ว่าจ้างก็ไม่ผลิตสักที จะต้องทำอย่างไร?
A: การออกแบบสินค้าลิขสิทธิ์แบบนี้ต้องระบุว่าต้องวางขายเมื่อไหร่ ผลิตจำนวนเท่าไหร่ วางขายที่ไหน เป็นระยะเวลานานเท่าใด และผู้ว่าจ้างควรการันตีรายได้ต่อเดือนให้ผู้รับจ้างด้วย ไม่ว่าเขาจะขายได้เท่าไหร่ต้องจ่ายขั้นต่ำต่อเดือนเท่านี้ สูงสุดเท่านี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นผู้ผลิตให้เขาทำการขายด้วย
Q: การใช้ภาพหรือวิดีโอที่มีลิขสิทธิ์
A: ในเชิงลิขสิทธิ์นั้นนำมาใช้ไม่ได้ แต่หากใช้ไม่ใช่เพื่อการค้าและมีการขึ้นเครดิตให้ ก็มีกฏหมาย Fair Use รองรับอยู่ แต่อย่างไรก็ผิดลิขสิทธิ์ ต้องขออนุญาตเจ้าของผลงานก่อนและขึ้นเครดิตให้ ส่วนในกรณีของการเป็นนางแบบ จริงอยู่ลิขสิทธิ์ภาพถ่ายเป็นของช่างภาพ แต่นางแบบสามารถกำหนดได้ว่าภาพที่ถ่าย ช่างภาพสามารถนำไปใช้ในงานประเภทใดบ้าง ระยะเวลาเท่าไหร่ นี่เป็นกฏหมายที่คุ้มครองบุคคล แต่ถ้าเป็นสถานที่ เช่น รูปร้านอาหาร ช่างภาพมีลิขสิทธิ์ในภาพของตน หากเจ้าของร้านอาหารต้องการภาพนั้นมาใช้ ก็ต้องขออนุญาตช่างภาพก่อน
การทำสัญญามีรายละเอียดปลีกย่อยไปตามบริบท ซึ่งต้องพิจารณาเฉพาะลงไปอีกที แม้สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ สำเร็จได้โดยปากเปล่า แต่ก็ควรทำขึ้นมาเป็นลายลักษณ์ให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบของสัญญาย่อมดีที่สุด ในอดีต ฟรีแลนซ์อาจพลาดมามาก แต่ถ้าทำสัญญาเป็นแล้วก็จะลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ที่มา : web.tcdc.or.th