กรณี เช่าซื้อ และ ลิสซิ่ง กับการประหยัดภาษี คงเป็นประเด็นที่นักบัญชีและสรรพากร เองก็คงกุมขมับทุกครั้งที่พูดถึง และในมุมของผู้ประกอบการนั้น การที่จะเช่าซื้อ หรือลิสซิ่ง แล้วต้องการจะปรับหยัดภาษีแบบไหนจะมากกว่ากัน วันนี้เราลองมาดูตัวอย่างกันครับ
– สมมุตว่าซื้อรถยนต์ มูลค่า 4,799,000 บาท
– จ่ายเงินดาวน์ 2,251,264.48 บาท
– ผ่อน 60 งวด งวดที่ 1 – 59 ผ่อนงวดละ 36,000 บาท
– งวดที่ 60 ผ่อน 1,235,750 บาท
– ราคาซากหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า 3,471,324 บาท
เรามาทำความเข้าใจกับสัญญาการซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง การบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษีของรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ได้มาโดยสัญญา แต่ละประเภทกันก่อนดีกว่า พอจะสรุปได้ดังนี้
ลำดับ |
สัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อทรัพย์สิน |
คชจ.ทางบัญชี |
คชจ.ทางภาษี |
1 |
สัญญาเช่าซื้อ หรือ เงินสด |
ค่าเสื่อมราคาทั้งจำนวน |
ค่าเสื่อมราคาส่วนที่ไม่เกินล้าน(ที่เกินล้านบวกกลับ) |
2 |
สัญญาลิสซิ่ง (ทางการเงิน) |
ค่าเสื่อมราคาทั้งจำนวน |
ค่าเช่าไม่เกิน36,000.-/เดือน (บวกกลับค่าเสื่อม)
|
3 |
สัญญาลิสซิ่ง(ดำเนินงาน) |
ค่าเช่าตามจริง |
ค่าเช่าไม่เกิน 36,000.-/เดือน (บวกกลับค่าเช่าส่วนเกิน) |
จากข้อมูล การซื้อรถยนต์ BMW โดยสัญญาลิสซิ่ง(ทางการเงิน) จะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายทางบัญชี และ ค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนี้
ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี 1 ปี ( 4,799,000 * 20% *1 ) = 959,800.00 บาท
ค่าเสื่อมราคาทางภาษี 1 ปี ( 4,799,000 + 832,324 ) * 20% * 1 = 1,126,264.80 บาท
เทียบค่างวดที่ผ่อนชำระ 1 ปี ( 36,000 * 12 ) = 432,000.00 บาท
ประเภทสัญญา |
ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี |
ค่าเสื่อมราคาทางภาษี |
ค่าเสื่อมราคาบวกกลับทางภาษี |
สัญญาเช่าซื้อ |
959,800 |
200,000 |
759,800 |
สัญญาเช่าลิสซิ่ง(ทางการเงิน) |
1,126,264.80 |
432,000 |
694,268.80 |
จากข้อมูลสรุปข้างต้นการซื้อรถยนต์ตามสัญญาลิสซิ่ง ทางบัญชีจะบันทึกเป็นทรัพย์สิน และคำนวณหักค่าเสื่อมราคา แต่ทางภาษีถือว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นการเช่า เนื่องจากกรรมสิทธิ์ตามสัญญายังไม่เป็นของบริษัท จึงต้องบวกกลับค่าเสื่อมทางบัญชีในการคำนวณภาษี และนำค่าเช่าหรือค่างวดที่จ่ายชำระมาหักเป็นรายจ่าย แต่ไม่เกินเพดานที่กำหนด
จากข้อมูลสรุปได้ว่า การซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ด้วยสัญญาลิสซิ่ง จะสามารถประหยัดภาษีมากกว่า สัญญาเช่าซื้อ
โดยสามารถนำค่างวดที่ชำระไม่เกินเพดานที่กำหนด คูณ ด้วยระยะเวลาเช่า ซึ่งสามารถหักรายจ่ายได้เท่ากับ
432,000 X 5 = 2,160,000
เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาเช่าซื้อ จะสามารถหักค่าเสื่อมราคาฯ รถยนต์ได้เพียง 1.0 ล้านบาท นอกจากนี้เมื่อครบสัญญาลิสซิ่ง หากกิจการซื้อซากรถยนต์ มูลค่า 3,471,324 บาท สามารถนำมาบันทึกทรัพย์สิน และคำนวณหักค่าเสื่อมราคาฯ ทางภาษีสำหรับมูลค่าส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาทได้อีกด้วยจ้า
ที่ปรึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คำตอบข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน เพื่อทำความเข้าใจ สำหรับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในอนาคตต่อไป
อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เราคิดตามกรณี รถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ซึ่งถ้าเป็นกรณีรถทั่วไป เช่น รถกระบะ หรือรถตู้11ที่นั่ง ก็จะถือว่า
> การเช่าซื้อสามารถตัดค่าเสื่อมราคาได้ทั้งมูลค่ารถยนต์ (ไม่มีเกณฑ์ห้ามเกิน 1 ล้านมาคิด) และ
> ถ้าเป็นกรณีลิสซิ่งก็สามารถนำค่าเช่ามาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้เลยทั้งก้อน (ไม่จำกัดแค่ 36,000 บาท ต่อเดือน)
ที่มา : Link