หยุดกิจการชั่วคราวมีสิทธิได้รับเงินร้อยละ ๗๕ ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน
ปัญหาว่าหากหยุดกิจการแล้วต่อมานายจ้างเลิกจ้าง ค่าชดเชยจะคิดจากฐานใด
เรื่องนี้แอดมินเห็นว่ากรณีหยุดกิจการชั่วคราว เป็นการที่นายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ "เป็นการชั่วคราว" หากไม่มีการบัญญัติให้นายจ้างใช้สิทธิตามมาตรา ๗๕ ได้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพราะเป็นกรณีที่ลูกจ้างพร้อมที่จะทำงาน(ภาษากฎหมายคือพร้อมที่จะชำระหนี้ในรูปของ "แรงงาน") แต่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงาน เช่นนี้ นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้าง
ครั้นเมื่อมีมาตรา ๗๕ ที่กฎหมายอนุญาตให้จ่ายค่าจ้างน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้เป็นสภาพการจ้าง ก็เท่ากับว่าค่าจ้างซึ่งเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย จะต้องยึดจากค่าจ้างเดิมก่อนหยุดกิจการชั่วคราว
จากหลักการนี้ มีข้อน่าคิดต่อไปว่าค่าล่วงเวลา ๑.๕ เท่า ในวันธรรมดา หรือค่าล่วงเวลา ๓ เท่าในวันหยุด หรือค่าทำงานในวันหยุด ๑ เท่า หรือ ๒ เท่าแล้วแต่กรณี ก็น่าจะต้องคิดจากฐานค่าจ้างเดิม
ข้อสังเกต
๑) หลายท่านอาจจะคิดว่าหยุดกิจการชั่วคราว แล้วจะมีล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดได้อย่างไร ในเชิงข้อเท็จจริงมีครับ หลายคนยังต้องเข้าไปทำงานในบางวัน หรือต้องเข้าไปนอนเฝ้าสถานประกอบกิจการ
๒) Hr หรือนายจ้างที่หยุดกิจการ แต่ไม่แจ้งพนักงานตรวจแรงงานและลูกจ้างให้ถูกต้องตามกฎหมาย อาจต้องระวัง เพระาอาจตอ้งจ่ายค่าจ้างเต็ม เพราะการหยุดกิจการดังกล่าวไม่ใช่หยุดกิจการตามกฎหมาย ซึ่งศาลฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยทำนองว่าเมื่อลูกจ้างพร้อมจะทำงาน แต่นายจ้างไม่มีงานให้ทำ นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้าง
ที่มา หนังสือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน, รองศาสตราจารย์ตรีเนตร สาระพงษ์