กฎหมายแรงงานกำหนดว่าให้ลูกจ้างลาป่วยได้ "เท่าที่ป่วยจริง" หมายความว่าจะใช้ "สิทธิ" ลากี่วันก็ได้ ถ้าป่วยจริง ลูกจ้างมีสิทธิที่จะลาได้ แต่ถ้าลาป่วยตั้งแต่ ๓ วันต้องมีใบรับรองแพทย์
แม้กฎหมายให้ลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แต่การที่นายจ้างได้คนที่ป่วยมาทำงาน ศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ว่าลูกจ้างคนนั้นเป็นผู้ "หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน"
เมื่อหย่อนสมรรภาพในการทำงาน นายจ้างจึงสามารถหยิบเอาเหตุลาป่วยบ่อย แม้การป่วยจะน่าเห็นใจ แต่นายจ้างก็นำมาเป็นเหตุในการเลิกจ้างลูกจ้างได้
เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม(ม.๔๙ พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ)
แต่ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะเลิกจ้างด้วยเหตุที่ลูกจ้างป่วยไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย
ที่มา หนังสือกฎหมายคุ้มครองแรงงาน, รศ.ตรีเนตร สาระพงษ์, หน้า ๒๗๐-๒๗๑ (หนังสือไกล้หมดอินบอกสั่งได้ครับ)
โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่ผ่านการรองรับมาตรฐานกรมสรรพากร เพื่อการลงบัญชีที่ถูกต้องแม่นยำ เลือกโปรแกรมบัญชีจาก Prosoft