7 วิธี! รับมือ “การตกงาน” จากโควิด 19

7 วิธี! รับมือ “การตกงาน” จากโควิด 19



โควิด 19 ธุรกิจทุกอย่างหยุดชะงัก บริษัทมีการปรับแผนลดคน ลดเงินเดือน บางที่ถึงกับเลิกกิจการ ดังนั้นการ “ตกงาน” ในช่วงนี้ ถ้าบอกว่าไม่ให้ “ตกใจ” คงเป็นไปไม่ได้แน่ แต่หากสถานการณ์มันพาไปและบังคับให้เราต้อง “ตกงาน” คำถามคือเราจะ “อยู่รอดได้อย่างไร” ในเมื่อรายได้เราก็ไม่มี ในขณะที่รายจ่ายดันมีเท่าเดิมและมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นด้วย เรื่องนี้ทำให้คนเครียดไม่แพ้กลัวติดเชื้อโควิด 19 กันเลยทีเดียว ลองมาดู 7 วิธีต้องรอด รับมือหากต้องตกงาน เราจะใช้ชีวิตแบบไหน และต้องทำอะไรให้รอด

1.ติดต่อสำนักงานประกันสังคม
เป็นทางออกเบื้องต้นสำหรับนตกงานและว่างงานในช่วงนี้ ซึ่งเราต้องไปตรวจสอบสิทธิประโยชน์ทดแทน หากส่งสมทบมาแล้วกว่า 6 เดือน มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทน พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท จะสามารถเบิกค่าชดเชยว่างงานได้วันละ 150 บาท เดือนละไม่เกิน 4,500 บาท โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียมคือ สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารที่กำหนด แบบคำรองรับผลประโยชน์กรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7) โดยขอที่ประกันสังคม หนังสือรับรองการลาออกจากบริษัท หนังสือคำสั่งนายจ้างหากจ้างออก (ถ้ามี) ทั้งหมดนี้เมื่อกรอกเอกสารแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่ประกันสังคมแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้ใบเสร็จรับคำร้องมา ซึ่งใบนี้ห้ามทำหาย เพราะว่ามีคำร้องเข้าไปจำนวนมากในแต่ละวัน หลังจากนั้นเราต้องเข้าไปลงทะเบียนว่างงานที่เว็บไซต์ https://empui.doe.go.th อีกครั้ง เพื่อมากดรับเงินทุกๆเดือน

2.ฝากประวัติสมัครงานตามเว็บไซต์

แม้จะเป็นเรื่องยากในสถานการณ์แบบนี้ที่จะมีการจ้างงานแต่หากตกงานจริงๆ แล้วไม่ดิ้นรนทำอะไรเลยก็มีแต่อดตายสถานเดียว ถึงจะรู้ว่ายากแต่เราก็ต้อง “ฝากประวัติสมัครงานตามเว็บไซต์” และขอแนะนำว่าให้อัปเดตรีซูเม่ ทำประวัติย่อ รวบรวมผลงานที่เรามี จัดทำเป็น Portfolio ที่เข้าใจง่ายและแสดงความเป็นตัวตนของเราได้ชัดเจน ซึ่งหากเรามีผลงานดีจริง มีความสามารถจริงๆ จะต้องมีสักบริษัทที่เขาสนใจและอยากได้ตัวเราไปร่วมงาน เพราะไม่ใช่ทุกบริษัที่เค้าจะเลิกจ้างหรือปิดกิจการในช่วงนี้

3.ลดค่าครองชีพของตัวเองในช่วงตกงาน
คนตกงานก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จากเมื่อก่อนรายได้อาจจะ 20,000 -30,000 หรือบางทีมากกว่านี้ สามารถผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ช็อปปิ้ง ท่องเที่ยวได้แบบไม่เดือดร้อน แต่ในสถานการณ์ที่แตกต่าง หากสูญเสียรายได้ตรงจุดนั้น กว่าจะได้งานใหม่เข้ามาแทนเราก็ต้อง “รัดเข็มขัด” ด้วยการควบคุมรายจ่ายให้น้อยลง อะไรที่ไม่จำเป็นก็อย่าเพิ่งใช้เงินซื้อ อะไรที่ใช้ได้ก็ใช้ไปก่อน อะไรที่ยังไม่จำเป็นต้องทำ ต้องไปก็ให้ชะลอไว้ก่อน เราต้องคิดถึงวันพรุ่งนี้เสมอ ในขณะที่ทำงานเราจึงควรมีเงิน “สำรอง”ไว้ในยามฉุกเฉินแบบนี้ด้วย

4.หารายได้เสริมที่สามารถทำได้

นอกจากหวังพึ่งเงินประกันสังคม ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น สำคัญคือเราต้องพึ่งตัวเองด้วย ซึ่งการหารายได้เสริมเป็นวิธีที่ดีที่สุด ถ้าถามว่าจะหารายได้เสริมแบบไหนอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล มีหลายอย่างที่พอทำได้เช่นขายของออนไลน์ เป็นติวเตอร์ ทำขนมขาย ทำกับข้าวขาย รับจ้างทั่วไป ฯลฯ แน่นอนว่าอาชีพเสริมเหล่านี้ทำให้เราต้องเหนื่อยมากขึ้น แต่เราก็ต้องยอมทำเพราะหากไม่ทำ งานก็ไม่มี เงินก็ไม่มี ทีนี้แหละเราจะเหนื่อยใจยิ่งกว่าเดิม ดีไม่ดีหากเราหาอาชีพเสริมที่ถูกทางอาจจะกลายเป็นอาชีพหลักที่ไม่ต้องง้องานประจำอีกต่อไปก็ได้

5.เจรจาต่อรองกับเจ้าของบริษัทเพื่อไม่ให้ตกงาน

อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อนที่บริษัทจะประกาศเลิกจ้างเรา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้กับทุกที่ อยู่ที่ภาพรวมของแต่ละบริษัท เช่นบริษัทไปต่อไม่ไหวแล้ว เราใกล้โดนจ้างออกแน่นอน แต่มองภาพรวมแล้วอนาคตหากไวรัสโควิด-19 เลิกระบาด ตำแหน่งงานของเรายังเป็นที่ต้องการอยู่ เราอาจสามารถเจรจาต่อรองกับเจ้าของบริษัทเพื่อให้เขาเห็นศักยภาพที่เรามี ด้วยการพูดคุยเปิดใจแม้ว่าบริษัทจะยื่นข้อเสนออะไรมาให้ก็ควรรับไว้เช่นให้ลาพักร้อนแบบไม่รับเงินเดือน หรือรับเงินเดือนในอัตราที่น้อยลงจนกว่าสถานการณ์จะปกติ แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าการถูกเลิกจ้าง ส่วนที่เหลือก็คือไปหาทางออกเองว่ารายได้ที่หดหายจะหาอะไรมาเพิ่มเติม แต่ก็ยังดีว่าถูกเลิกจ้างแน่ๆ

6.ใช้บัตรเครดิตแบบชาญฉลาด

ในภาวะตกงาน เมื่อเงินสดขาดมือสิ่งที่ไม่อยากทำแต่ก็อาจจำเป็นต้องทำคือการใช้สินเชื่อจากเครดิต แม้ต้องแลกกับอัตราดอกเบี้ยก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่การเลือกใช้บัตรเครดิตก็อาจเป็นดาบสองคมถ้าไม่รู้จักใช้ให้เป็น เพราะภาระจ่ายหนี้ของเราก็จะเพิ่มพูนขึ้น ซึ่งขอแนะนำว่าให้ใช้กดเงินสดเอามาเพื่อใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดเช่น ผ่อนค่าบ้าน ค่ารถ และไม่ควรกดมาเต็มจำนวน เอาเฉพาะส่วนที่เราขาดและคิดว่าจะหาไม่ได้จริง ๆ เพื่อไม่ให้ยอดหนี้สะสมสูงจนเกินไป และต้องไม่ลืมที่จะชำระคืนทางที่ดีไม่ควรจ่ายในเรตอัตราขั้นต่ำแต่ควรจ่ายในยอดที่สูงเพื่อจะได้ตัดยอดให้หมดเร็วๆ และจะไม่กลายเป็นหนี้สะสมมากจนเกินไปด้วย

7.ตัดสินใจเลือกลงทุนสร้างอาชีพเป็นนายตัวเองไปเลย

บางคนที่ตกงานในช่วงนี้อาจไม่ใช่แค่เด็กรุ่นใหม่ บางคนอายุเยอะผ่านประสบการณ์มาเยอะ แต่เพราะพิษโควิด 19 ทำให้ต้องออกจากงานก่อนกำหนด ซึ่งการออกจากงานของแต่ละที่ก็จะแตกต่างกันไปบางคนได้เงินเป็นทุนจากนายจ้างเช่นค่าจ้างล่วงหน้า 3 เดือน ซึ่งหากเรามีประสบการณ์ มีเงินทุนเบื้องต้น การหาอาชีพให้ตัวเองแทนที่จะไปคิดหางานทำใหม่ดูเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แม้ภาวะเศรษฐกิจตอนนี้มองว่าเสี่ยงหากจะเริ่มลงทุน แต่สถานการณ์แบบนี้ก็ใช่จะอยู่ไปตลอดสักวันสถานการณ์ก็ต้องคลี่คลาย เราควรใช้ช่วงเวลานี้ในการเริ่มต้นธุรกิจอาจจะสร้างขึ้นเอง หรือไปลงทุนกับแฟรนไชส์ และเริ่มเรียนรู้ไปทีละเล็กน้อย อาศัยประสบการณ์จากที่เคยทำงานประจำมาประยุกต์ใช้ รอเวลาที่สถานการณ์ปกติดี ก็จะได้เริ่มเปิดตัวธุรกิจอย่างเป็นทางการ ซึ่งน่าจะเป็นทางออกที่คิดว่ายังไงก็รอดได้แน่

ที่มา LINK

 51667
ผู้เข้าชม
คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

คอร์สอบรมการใช้งานโปรแกรม

ลูกค้าโปรซอฟท์ อบรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ศูนย์ Prosoft Training Center
ติดต่อเรา

ติดต่อฝ่ายขาย

02-402-6117, 081-359-6920

sale@prosoft.co.th

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมบัญชี

02-096-4900 กด 2 (AUTO)

02-402-8107

support@prosoftwinspeed.com

ติดต่อฝ่ายบริการ โปรแกรมเงินเดือน

02-096-4900 กด 3 (AUTO)

02-402-8138

support@prosofthrmi.com

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์