ท่ามกลางสถานการณ์ “COVID-19” เป็นภาวะที่หลายคนกำลังเผชิญกับวิกฤตที่ถาโถมเข้ามาชนิดไม่ทันตั้งตัว หรือมีเวลาเพียงน้อยนิดในการเตรียมการ!
หลายธุรกิจที่เคยขายดี มีลูกค้ามากมาย…วันนี้กลับเงียบเหงา ยอดขายลดอย่างไม่คาดคิดมาก่อน ในขณะที่ยังต้องแบกรับค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะที่เป็น fixed cost บางองค์กรใช้วิธีลดเงินเดือนทั้งผู้บริหาร และพนักงาน บางแห่งจำต้องใช้นโยบาย Leave without pay ไปจนถึง Lay off สร้างความเจ็บปวดให้กับทั้งบริษัท และพนักงาน
Marketing Oops! Podcast รายการ Brand Life ตอนนี้จึงเป็นตอนพิเศษ (Special Episode) ว่าด้วย “แนวคิดฝ่าวิกฤต ลูกค้าน้อย – ยอดขายลด ด้วยการกำหนดทิศธุรกิจให้ชัดด้วย..จุดยืนของแบรนด์” เพื่อเป็นกำลังใจให้กับคนที่กำลังเจอภาวะวิกฤต “ยอดขายน้อยลง” ซึ่งเป็นเกิดเหตการณ์ที่เราไม่คาดฝัน
1. ตั้งสติ (Be Calm) ไม่ปล่อยให้จิตใจ ตื่นตระหนกไปกับสถานการณ์ เพรามันจะยิ่งทำให้ทุกอย่างเลวร้าย ผู้บริหารต้องรวบรวมสมาธิและตั้งสติ ก่อนเริ่มต้นทำการแก้ปัญหา
2. แยกแยะวิกฤติ (Identify Crisis) แยกปัญหา ที่ทำให้เกิดวิกฤติออกมา ให้รู้โดยเร็วว่า ในวิกฤติขนาดใหญ่นี้ มันมีปัญหาเรื่องอะไรที่ซ่อนอยู่บ้าง ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ตามมามีอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง และแต่ละเรื่องนั้นมันซุกซ่อนเงื่อนไขอะไรไว้บ้าง เพราะในวิกฤตใหญ่ๆ มีปัญหาซ่อนอยู่หลายอย่าง ปัญหาไหน ต้องแก้ก่อนแก้หลัง และควรจัดลำดับอย่างไร?
3. รวบรวมข้อมูลและทรัพยากร (Collect Information & Resources) รวมข้อมูล ข้อเท็จจริง จากทุกด้านอย่างรวดเร็ว ต้องมองให้ออกว่าข้อมูลอันไหน มีประโยชน์ในการทำงาน และทรัพยากรอันไหนในบริษัทของเราที่มันมีความพร้อม และสามารถใช้ได้ พัฒนาได้ ทั้งทรัพยากรที่จับต้องได้ และทรัพยากรที่เป็นเครือข่าย สายสัมพันธ์ต่างๆ บนเงื่อนไขที่ว่า เวลาในการแก้ไขวิกฤติต่างๆ ที่เราแยกแยะไว้นั้น มันมีไม่เท่ากัน และในแต่ละช่วงเวลามันก็มีข้อจำกัดของมัน
4. วิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) ใช้เวลาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด โดยแยกการแก้ปัญหาเป็นส่วนๆ เพื่อเตรียมวางแผน
ในช่วงเวลานี้ นำข้อมูลทั้งหมดมาย่อยเพื่อที่จะทำให้เราได้รู้ว่า มีอะไรที่เราต้องหาเพิ่ม หรือมีเรื่องอะไร หรือความจำเป็นอะไรที่เราขาดอยู่ รวมทั้งวิเคราะห์เงื่อนไข ในการทำงานขององค์กรของเราด้วยว่ามีอะไรที่เป็นโอกาส อุปสรรค จุดแข็งจุดอ่อน ในสภาวะวิกฤตินั้นๆ
5. พัฒนาทางเลือก (Develop Alternatives) คิด วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูลทั้งหมด และพัฒนาทางเลือกในการตัดสินใจ เพราะในแต่ละเส้นทางมันมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ต่างกัน และก็ให้ผลลัพธ์แตกต่างกัน ต้องพยายามหาหลายๆ ทางเลือกในการตัดสินใจ บนเงื่อนไขเวลาที่เหมาะสม
6. ตัดสินใจ (Make Decision) การตัดสินใจต้องแหลมคม บนเงื่อนไขที่เราพัฒนาไว้แล้ว ผู้บริหารต้องประเมินทางเลือกต่างๆ ในการตัดสินใจ ที่เชื่อว่ามีโอกาสสำเร็จสูง ในเงื่อนเวลาที่เหมาะสม ไม่เร็วจนร้อนรน แต่ก็ไม่ช้าจนสายเกินไป เพื่อเยียวยาวิกฤติต่างๆ ข้างต้นที่เราได้แยกแยะไว้
กระบวนการทั้งหมดนี้ “B-I-C-A-D-M” คุณบรรยง ท่านบอกไว้ว่าจะต้องทำแบบเป็นพลวัต คือทำอย่างต่อเนื่อง และมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ ทำวนเวียนต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะผ่านช่วงเวลาวิกฤติในแต่ละช่วงไป
ท่านเน้นย้ำว่า แม้จะผ่านช่วงเวลาหนักที่สุดไปแล้ว เราก็ยังคงต้องตามตรวจสอบ เพียรหาข้อมูลเพิ่ม และนำมาวิเคราะห์ต่อ เพื่อปรับปรุงทางเลือกใหม่ๆ ในการตัดสินใจ และก็ปรับเปลี่ยนการตัดสินใจ เป็นการดำเนินไปตามสภาวะของวิกฤติ นั้นๆ ในแต่ละช่วงเวลา
Cr.https://www.marketingoops.com/