โดยจะลดจาก 3% เหลือ 1.5% วิธีการนี้ถือเป็นหนึ่งในมาตรการทางด้านภาษี ที่ออกมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการและบุคคลธรรมดา
กรอบระยะเวลา
มาตรการภาษีเพื่อลดดอกเบี้ยจ่ายให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เขาร่วมโครงการสินเชื่อพิเศษซอฟท์โลน และผู้ประกอบการที่ทำบัญชีเดียว ให้สามารถนำภาระดอกเบี้ยเงินกู้มาคำนวณเป็นรายจ่ายหักลดหย่อนภาษีได้ โดย SMEs ที่เข้าร่วมมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของรัฐบาล หักรายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม 1.5 เท่า
บริษัทที่เข้าเกณฑ์มีคุณสมบัติดังนี้
กรอบระยะเวลา : สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ตั้งแต่ เดือนเมษายน - เดือนธันวาคม 2563
มาตรการส่งเสริมการจ้างงาน ให้ผู้ประกอบการ SMEs นำรายจ่ายค่าจ้างลูกจ้าง มาหักลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า เพื่อดูแลพนักงานลูกจ้าง
บริษัทที่เข้าเกณฑ์มีคุณสมบัติดังนี้
กรอบระยะเวลา : สำหรับรายจ่ายค่าจ้าง ตั้งแต่เดือนเมษายน - เดือนกรกฎาคม 2563
ตามประกาศของ ครม. กระทรวงการคลังจะเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ส่งออกที่ดี (ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพการ) ให้เร็วขึ้น โดยการคืน VAT ให้เร็วขึ้นภายใน 15 วัน สำหรับช่องทางและระยะเวลาในการยื่นของบริษัท หรือ บริษัทมหาชน สามารถทำได้โดย 2 วิธีดังนี้
มาตรการสร้างความเชื่อมั่นช่วยเหลือตลาดทุน โดยการขยายวงเงินการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) วงเงินพิเศษ โดยให้มีการลงทุนในกองทุน SSF ลดหย่อนภาษีเพิ่มได้ถึง 2 แสนบาท
กองทุนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้นั้นมีเกณฑ์ดังนี้
กรอบระยะเวลาของการลงทุน : สามารถทำได้ตั้งแต่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2563
นอกเหนือจาก 5 มาตรการที่กล่าวมาข้างต้น ตามที่ ครม.ได้มีการประชุมออกมาตรการเยียวยาชุดแรกแล้ว ประชาชนยังสามารถร่วมบริจาคเงิน เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา COVID-19 ซึ่งการบริจาคตรงนี้จะสามารถลดหย่อนภาษีได้ หักรายจ่ายได้ และยกเว้น VAT ได้
ทั้งนี้สามารถบริจาคได้โดยผ่าน e-Donation (ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์) เข้าบัญชีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 เลขที่ 067-0-13829-0
อ้างอิงข้อมูลจาก Facebook กรมสรรพากร